ติดตามรายละเอียด : FB. Deeps News

คลิกเพื่อชมคลิป...

จากกรณีเหตุการณ์ที่ช็อกความรู้สึกบรรดาแฟนคลับ เมื่อ นายธนัท ฉิมท้วม หรือ โจ บอย สเก๊าท์ ได้เสียชีวิต ขณะไปร้องเพลงที่ คัลเลอร์บาร์ ย่านทาวน์อินทาวน์ โดยจู่ๆ โจ ก็ล้มลงไปที่พื้นและพบว่าตาเหลือก กัดกราม น้ำลายฟูมปาก และหายใจเบาและตัวเย็น ก่อนที่แพทย์จะช่วยปั๊มหัวใจนานกว่า 30นาที แต่ก็ไม่เป็นผล โดยแพทย์ตรวจเลือดพบว่าน้ำตาลสูงถึง 300 ระบุสาเหตุการเสียชีวิตคือกล้ามเนื้อหัวใจไม่ทำงาน

ได้โปรดแชร์ต่อๆกันไป!!! จากเคส "โจ บอยสเก๊าท์" ช็อกดับ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินโพสต์ 3 ขั้นตอนช่วยชีวิต ทำตามนี้มีโอกาสกู้ชีพ #วินาทีเป็นตาย?

 

โดยในเวลาต่อมา เฟซบุ๊ก "สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ -สพฉ.1669" ได้โพสต์ภาพพร้อมข้อความระบุว่า...เช้านี้ตื่นมาด้วยข่าวร้าย ของพี่โจ บอยสเก๊าท์ ที่เสียชีวิตขณะร้องเพลง ซึ่งแอดมินได้ยินจากในคลิปมีคนพูดว่า "ยังหายใจ" วันนี้แอดเลยขอพูดถึงอาการ #หายใจเฮือก ซึ่งเกิดขึ้นในคนหัวใจหยุดเต้น แต่มักจะทำให้เกิดการเข้าใจผิดจนการช่วยเหลือนั้นล่าช้าค่ะ ในผู้ที่หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันบางราย แม้ว่าหัวใจจะหยุดเต้นไปแล้ว แต่สมองยังคงสั่งการให้ร่างกายพยายามหายใจ ที่เรียกว่า agonal breathing (Gasping) หรือการหายใจเฮือก ผู้ป่วยจะหายใจแบบอ้าปากพะงาบ ทำให้คนรอบข้างเข้าใจผิดว่ายังหายใจเป็นปกติ และทำให้การตัดสินใจช่วยเหลือด้วยการกดหน้าอก CPR นั้นช้าลง ซึ่งจากการวิจัยทางการแพทย์นั้นผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการกดหน้าอกช่วยภายในเวลา 4 นาทีหลังจากที่หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน

ได้โปรดแชร์ต่อๆกันไป!!! จากเคส "โจ บอยสเก๊าท์" ช็อกดับ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินโพสต์ 3 ขั้นตอนช่วยชีวิต ทำตามนี้มีโอกาสกู้ชีพ #วินาทีเป็นตาย?

ได้โปรดแชร์ต่อๆกันไป!!! จากเคส "โจ บอยสเก๊าท์" ช็อกดับ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินโพสต์ 3 ขั้นตอนช่วยชีวิต ทำตามนี้มีโอกาสกู้ชีพ #วินาทีเป็นตาย?

แนะนำว่าขั้นตอนของการช่วยชีวิตสำหรับประชาชนทั่วไป เมื่อพบผู้หมดสติให้ปลุกเรียก ถ้าไม่ตอบสนอง ให้สังเกตการหายใจ หากไม่หายใจ หรือหายใจเป็นเฮือก หรือสงสัยว่าไม่หายใจ

1.ให้โทร 1669 เพื่อเรียกหน่วยกู้ชีพ

2.จากนั้นให้เริ่มทำการกดหน้าอก CPR โดยประสานมือตรงกี่งกลางหน้าอกระหว่างหัวนมสองข้าง กดลึก 5-6 เซนติเมตร กดต่อเนื่องด้วยจังหวะ 100-120 ครั้งต่อหน้าที จนกว่าหน่วยกู้ชีพมาถึง หรือจนกว่าผู้ป่วยจะมีการตอบสนอง

3.หากสถานที่นั้นมีเครื่องฟื้นคืนคลื่นหัวใจด้วยไฟฟ้าอัตโนมัติหรือ AED ให้ร้องขอเพื่อนำมาใช้โดยทำตามคำแนะนำของเครื่อง AED

**** คลิปแสดงตัวอย่างอาการหายใจเฮือกในผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน***

 

ขณะเดียวกัน ทางด้าน ร.อ.นพ.อัจฉริยะ แพงมา เลขาธิการสพฉ. ยังได้แสดงความเสียใจต่อครอบครัวและเพื่อนๆ ของโจ บอยสเก๊าท์  ต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น พร้อมย้ำกว่าความผิดปกติของหลอดเลือดหัวใจถือเป็นภัยเงียบที่อาจนำมาสู่อาการภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา "ทั้งนี้ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการกดหน้าอกช่วยภายในเวลา 4 นาที หลังจากที่หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน จึงจะสามารถเพิ่มโอกาสรอดชีวิต"

 

 

 

ขอบคุณที่มา : สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ -สพฉ.1669