ติดตามเรื่องราวดีๆอีกมากมาย ได้ที่ http://www.tnews.co.th

สีวลีปริตร

คาถาเรียกลาภ นำความสำเร็จของชาวลังกา

ที่ประเทศศรีลังกานิยมสวดพระปริตรกันมาก มีการแตกแขนงแต่งคาถาขึ้นมาเพื่อสรรเสริญคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ขอบารมีพระไตรรัตน์เพื่อปกป้องคุ้มครอง นอกจากมหาราชปริตรและจุลปริตร คือ ๑๒ ตำนาน กับ๗ ตำนานแล้ว ยังมีคาถา หรือปริตรปลีกย่อยอีกจำนวนหนึ่ง เช่น สีวลีปริตร หรือคาถาพระสีวลี ซึ่งต่างจากคาถาพระสีวลีที่เมืองไทยมาก เพราะมีความยาว และแต่งเป็นฉันท์อย่างไพเราะงดงาม สรรเสริญคุณพระสีวลี และขอบารมีท่านเป็นที่พึ่ง ชาวลังกานิยมสวดคู่กับชัยมงคลปริตร เพื่อความสำเร็จสมดั่งปรารถนา และมั่งคั่งด้วยโภคทรัพย์ ซึ่งในจุดนี้เหมือนกับธรรมเนียมของไทย ซึ่งสวดคาถาพระสีวลีเพื่อโชคลาภ แต่คาถาไทยมีขนาดสั้นมาก เพียงแต่ บท บางตำรับ เช่น ของหลวงพ่อกวย ชุตินันธโร วัดโฆสิตาราม เมืองสรรคบุรี เกจิอาจารย์แห่งภาคกลาง มีความยาวหลายบาทหน่อย แต่ก็ยังเทียบไม่ได้กับของลังกาที่มีถึง๒๑ ๒๔ บท

อนึ่ง พระสีวลีเถระ ท่านเป็นเอตทัคคะผู้เลิศกว่าพวกภิกษุผู้มีลาภ ไปแห่งหนใดก็มีผู้คนมาถวายข้าวของ แม้แต่คณะสงฆ์หรือพระพุทธองค์ก็พลอยได้รับลาภสักการะ เพราะบารมีของพระสีวลี

ชาวลังกานั้นบูชาพระสีวลีกันมาก นอกจากจะสวดสีวลีปริตรกันเป็นปกติแล้ว ยังมักบูชาภาพเขียนของพระเถระไว้ตามบ้านเรือน เพื่อเรียกโภคทรัพย์ความรุ่งเรืองมาสู่ชีวิตตนอีกด้วย ดังที่นำภาพมาประกอบกับพระปริตร เพื่อให้ผู้อ่านได้สักการะบูชาเป็นสิริมงคล

ส่วนทำนองสวดสีวลีปริตร รับฟังได้ตามลิ้งก์นี้

https://www.youtube.com/watch?v=dBxy0dh81Fc

สีวลีปริตร

๑. ปูเรนตา ปาระมิ สัพเพ – สัพเพ ปัจเจกะ นายะกัง

สีวะลี คุณะ เตเชนะ – ปะริตตัง ตัง ภะณามะเห

นะชาลีตี’ติ ชาลิตัง – อา อี อู อามะ อิสวาหา, พุทธะสามิ พุทธะ สัตยาม

๒. ปะทุมุตตะโร นามะ ชิโน – สัพพะ ธัมเมสุ จักขุมา

อิโต สะตะ สะหัสสัมหิ – กัปเป อุปปัชชิ นายะโก

๓. สีวะลี จะ มะหา เถโร – โส’ระโห ปัจจะยาทินัง

ปิโย เทวะมะนุสสานัง – ปิโย พรหมาณะมุตตะโม

ปิโย นาคะ สุปัณณานัง - ปีณินทริยัง นะมามะ’หัง

๔. นาสัง สีโม จะ เม สีสัง – นานาชาลีติ สัญชะลิง

สะเทวะ มะนุสสะ ปูชิตัง – สัพพะ ฬาภา ภะวันตุ เต

๕. สัตตาหัง ทวาระ มูลโห’หัง – มะหาทุกขะ สะมัปปิโต

มาตา เม ฉันทะ ทาเนนะ – เอวะมาสิ สุทุกขิตา

๖. เกเสสุ ฉิชชะมาเนสุ – อะระหัตตะ มะปาปุนิง

เทวา นาคา มะนุสสา จะ – ปัจจะยานุ’ปะเนนติ มัง

๗. ปะทุมุตตะระ นามัญจะ – วิปัสสิง จะ วินายะกัง

สังปูชะยิง ปะมุทิโต – ปัจจะเยหิ วิเสสะโต

"สีวลีปริตร" คาถาเรียกลาภ ชาวลังกานิยมสวดเพื่อความสำเร็จสมดั่งปรารถนา และมั่งคั่งด้วยโภคทรัพย์ นับถือพระสีวลีเช่นเดียวกับคนไทย

๘. ตะโต เตสัง วิเสเสนะ – กัมมานัง วิปุลุตตะมัง

ลาภัง ละภามิ สัพพัตถะ – วะเน คาเม ชะเล ถะเล

๙. ตะทา เทโว ปะนีเตหิ – มะมัตถายะ มะหามะติ

ปัจจะเยหิ มะหาวีโร – สะสังโฆ โลกะ นายะโก

๑๐. อุปัฏฐิโต มะยา พุทโธ – คันตวา เรวะตะ มัททัสสะ

ตะโต เชตะวะนัง คันตวา – เอตะทัคเค ฐะเปสิ มัง

๑๑. เรวะตัง ทัสสะนัตถายะ – ยะทา ยาติ วินายะโก

ติงสะ ภิกขุ สะหัสเสหิ – สะหะ โลกัคคะ นายะโก

๑๒. ลาพพีนัง สีวะลี อัคโค – มะมะ สิสเสสุ ภิกขะโว

สัพพะ โลกะ หิโต สัตถา– กิตตะยิ ปะริสาสุ มัง

๑๓. กิเลสา ฌาปิตา มัยหัง - ภะวา สัพเพ สะมูหะตา

นาโควะ พันธะนัง เฉตวา – วิหะรามิ อะนาสะโว

๑๔. สวาคะตัง วะตะ เม อาสิ – พุทธะ เสฏฐัสสะ สันติกัง

ติสโส วิชชา อะนุปปัตตา – กะตัง พุทธัสสะ สาสะนัง

๑๕. ปะฏิสัมภิทา จะตัสโส โจ – วิโมกขาปิ จะ อัฏฐะ’โม

ฉะฬะภิญญา สัจฉิกะตา – กะตัง พุทธัสสะ สาสะนัง

๑๖. พุทธะ ปุตโต มะหาเถโร – สีวะลี ชินะสาวะโก

อุคคะเตโช มะหาวิโร – เตชะสา ชินะสาสะเน

๑๗. รักขันโต สีละ เตเชนะ – ธะนะวันเต ยะสัสสิโน

เอวัง เตชานุภาเวนะ – สะทา รักขันตุ สีวะลี

๑๘. กัปปัฏฐายีติ พุทธัสสะ – โพธิมูเล นิสีทะยิ

มาระเสนัปปะมัททันโต – สะทารักขันตุ สีวะลี

๑๙. ทะสะปาระมิตัปปะโต – ปัพพะชี ชินะสาสะเน

โคตะมะ สักยะ ปุตโตสิ – เถเรนะ มะมะ สีวะลี

๒๐. มะหาสาวะกา อะสีติงสุ – ปุณณัตเถโร ยะสัสสิโน

ภะวะโภเค อัคคะลาภีสุ – อุตตะโม เตนะ สีวะลี

๒๑. เอวัง อะจินติยา พุทธา – พุทธะธัมมา อะจินติยา

อะจินติเยสุ ปะสันนานัง – วิปาโก โหติ อะจินติโย

๒๒. เตสัง สัจเจนะ สีเลนะ – ขันติ เมตตะ พะเลนะ จะ

เตปิ ตวัง อะนุรักขันตุ - สัพพะ ทุกขะ วินาสะนัง

๒๓. เตสัง สัจเจนะ สีเลนะ – ขันติ เมตตะ พะเลนะ จะ

เตปิ ตวัง อะนุรักขันตุ – สัพพะ ภะยะ วินาสะนัง

๒๔. เตสัง สัจเจนะ สีเลนะ – ขันติ เมตตะ พะเลนะ จะ

เตปิ ตวัง อะนุรักขันตุ – สัพเพ โรคะ วินาสะนัง

"สีวลีปริตร" คาถาเรียกลาภ ชาวลังกานิยมสวดเพื่อความสำเร็จสมดั่งปรารถนา และมั่งคั่งด้วยโภคทรัพย์ นับถือพระสีวลีเช่นเดียวกับคนไทย

พระสีวลีเถระ หรือ พระสีวลี เป็นพระภิกษุสาวกเอตทัคคะของพระพุทธเจ้า นับเนื่องในพระอสีติมหาสาวก ๘๐องค์สำคัญในพระพุทธศาสนาในสมัยพุทธกาล

พระสีวลีเถระเป็นเจ้าชายในโกลิยวงศ์ ออกบวชในสำนักพระสารีบุตร บรรลุพระอรหันต์ในขณะที่ปลงเกศานั่นเอง และหลังจากผนวช ท่านเป็นผู้มีลาภสักการะมากด้วยกุศลกรรมที่ทำมาแต่อดีต ด้วยเหตุนี้ท่านจึงได้รับยกย่องจากพระพุทธองค์ให้เป็นเอตทัคคะผู้เลิศในทาง ผู้มีลาภมาก

ชาติภูมิ

พระสีวลีเถระ เป็นพระโอรสของพระนางสุปปวาส ผู้เป็นพระราชธิดาของพระมหากษัตริย์แห่งกรุงโกลิยะ อยู่ในพระครรภ์ถึง ๗ ปี ๗ เดือน ๗ วัน เมื่อทรงพระครรภ์ทำให้พระมารดาสมบูรณ์ด้วยลาภสักการะมาก เมื่อประสูติก็ประสูติง่าย ด้ายพุทธานุภาพที่ทรงพระราชทานพรว่า "ขอพระนางสุปปวาสาจงมีความสุข ปราศจากโรคาพยาธิ ประสูติพระราชบุตรผู้ไม่มีโรคเถิด"

เมื่อประสูติและพระประยูรญาติขนานถวายพระนามว่า สีวลีกุมาร ในวันที่นิมนต์พระพุทธเจ้ามาเสวยภัตตาหารตลอด ๗ วัน สีวลีกุมารก็ได้ถือธมกรกรองน้ำถวายพระพุทธเจ้าและพระสงฆ์ตลอด ๗ วัน

เมื่อเจริญวัย ท่านได้ออกผนวชในสำนักพระสารีบุตร ได้บรรลุอรหันตผลในเวลาปลงเกศาเสร็จ จากนั้นมาท่านสมบูรณ์ด้วยลาภสักการะไม่ขาดด้วยปัจจัย ๔ ทั้งปวง ด้วยเหตุนี้จึงได้รับการยกย่องจากพระพุทธองค์ให้เป็นเอตทัคคะผู้เลิศในทาง ผู้มีลาภมาก

บั้นปลายชีวิต

ในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาไม่ระบุว่าท่านดับขันธปรินิพพานที่ใด แต่ท่านคงดำรงขันธ์อยู่พอสมควรแก่กาลจึงปรินิพพาน

พระสีวลีเถระในความเชื่อของคนไทย

เนื่องจากพระสีวลีเถระเป็นพระอรหันต์ที่ได้รับการเป็นเอตทัคคะผู้เลิศในทางผู้มีลาภมาก คนไทยเชื่อว่าผู้ใดได้บูชาพระสีวลีเถระแล้ว จะได้รับโชคลาภเงินทองไหลมาเทมา ซึ่งคนไทยก็เชื่ออีกว่าเคยมีผู้หนึ่งเคยได้รับมาแล้วในสมัยพุทธกาลก็คือ มีหญิงสาวคนหนึ่งซึ่งเกิดในตระกูลพ่อค้ามีนามว่า สุภาวดี นางได้เลื่อมใสศรัทธาพระพุทธศาสนา และนับถือพระสีวลีเถระเป็นอย่างยิ่ง

เมื่อแม่นางได้ฟังธรรมจนลึกซึ้ง พระสีวลีก็ให้ศีลและให้พรว่า"จงเจริญรุ่งเรืองด้วยทรัพย์สิน เงินทองจากการค้าขาย เงินทองไหลมาเทมาสมความมุ่งมาดปรารถนาด้วยเถิด"

หลังจากที่นางสุภาวดีได้รับพรจากพระสีวลีเถระแล้ว ไม่ว่านางและผู้เป็นบิดามารดาจะไปค้าขายที่ใด ก็จะขายดีเป็นเทน้ำเทท่า มีแต่กำไรหลั่งไหลเข้ามาทุกครั้งไป ซึ่งนางสุภาวดีนั้นได้เป็นที่รู้จักของคนไทยเป็นอย่างดี ซึ่งก็คือนางกวักนั่นเอง

"สีวลีปริตร" คาถาเรียกลาภ ชาวลังกานิยมสวดเพื่อความสำเร็จสมดั่งปรารถนา และมั่งคั่งด้วยโภคทรัพย์ นับถือพระสีวลีเช่นเดียวกับคนไทย

ขอขอบพระคุณท่านเจ้าของภาพและท่านเจ้าของบทความ ที่มาเนื้อหาข้อมูลมา ณ ที่นี้

คลังพระพุทธศาสนา

คาถาครูพักลักจำ

https://th.wikipedia.org/

เพื่อเผยแผ่เป็นธรรมทาน