เมืองไทยลิสซิ่ง ชื่อเหมือน เมืองไทยประกันชีวิต บังเอิญ หรือ ตั้งใจ?

กลายเป็นที่พูดถึงกันเป็นอย่างมาก เมื่อชื่อของเมืองไทยลิสซิ่งทำไมบังเอิญไปชื่อเหมือนเมืองไทยประกันชีวิต

 

ตลาดหลักทรัพย์

 MTLS  หุ้นขวัญใจนักลงทุน  ตั้งแต่เข้ามาซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2557
ราคาหุ้นไม่ทำให้ผู้ถือหุ้นผิดหวังเลย  จากราคาไอพีโอที่  5. 50     บาท ถึง ณ ขณะนี้ ราคาวิ่งอยู่ระดับ 39-40 บาท  จนทำให้ชูชาติ เพ็ชรอำไพ และดาวนภา เพชรอำไพ สองสามีภรรยาทำงานเก็บเงินได้ 100 ล้าน ตั้งแต่อายุไม่ถึง 40 ทั้งคู่เดิมพันชีวิตสร้างธุรกิจด้วย “เงินต่อเงิน” ปล่อยเงินกู้ในนาม เมืองไทย ลิสซิ่ง จนเป็นมหาเศรษฐีหมื่นล้าน
ข้อมูลจาก Forbes Thailand ระบุว่า ชูชาติ ติดทำเนียบมหาเศรษฐีของไทย ที่จัดอันดับโดย Forbes ปีนี้ โดยรั้งอันดับที่ 29 ครอบครองมูลค่าทรัพย์สินราว 3.01 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นจากอันดับที่ 31 ในปี 2558 ที่ครอบครองมูลค่าทรัพย์สิน 2.7 หมื่นล้านบาท ปัจจุบันครอบครัวของเขาถือหุ้นรวมใน MTLS อยู่ที่ 71% ของบริษัทซื้อขายอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดอยู่ที่ 4.02 หมื่นล้านบาท (19 กรกฎาคม 2559) โดยมี ชูชาติ อายุ 64 ปี นั่งเป็นประธานกรรมการบริหาร ส่วนดาวนภา อายุ 63 ปี นั่งอยู่ในตำแหน่งกรรมการ

แต่ทำไมชื่อของ เมืองไทยลิสซิ่ง ถึง เหมือนกับ กลุ่ม เมืองไทยประกันชีวิต ของตระกูล ลำซ่ำ ทั้งที่ดูนามสกุลแล้วไม่น่ามีส่วน หรือ ดีเอ็นเอ ที่เกี่ยวข้องกันเลย 
เคยมีนักลงทุนและลูกค้าหลายคนตั้งคำถาม  เพราะคิดว่า เมืองไทยลิสซิ่ง เป็น บริษัทในเครือ ของ เมืองไทยประกันชีวิต  บริษัท จึงดูน่าเชื่อถือ  คู่ค้ามั่นใจกล้าเข้ามาทำธุรกิจด้วย
หรือ  นี่คือ  กลยุทธการตลาดที่สำคัญ ทำให้ เมืองไทยลิสซิ่ง ประสบความสำเร็จ
Richman can do ก็เป็น 1 ในกลุ่มคนขี้สงสัย ตั้งคำถาม  และ ไปหาคำตอบ มาให้ผู้อ่านรับทราบว่า

เมืองไทย ลิสซิ่ง

เมืองไทยลิสซิ่ง ไม่มีอะไร เกี่ยวข้องกับ เมืองไทยประกันชีวิต เลย ทั้งผู้ถือหุ้น และ การทำธุรกิจ
ทั้ง เมืองไทยประกันชีวิต ของ ตระกูล ลำซ่ำ ก็ก่อตั้งมาก่อน MTLS แล้วทำไม  ชื่อถึงมาเหมือนกัน
บังเอิญ หรือ ตั้งใจ .....
เราจึงได้คำตอบมาว่า  บังเอิญ  บังเอิญ   เพราะเมืองไทยลิสซิ่ง  แม้มาทีหลัง  แต่ก็ใช่ชื่อมาตั้งแต่ปี 2544.........
ย้อนเวลากลับไปหาอดีต เมื่อปี 2531 ทั้งชูชาติและดาวนภา ทิ้งลูกชายทั้ง 2 ไว้กับแม่ของชูชาติ เพื่อบินไปศึกษาต่อปริญญาโทที่ประเทศสหรัฐฯ ตามความฝันของตัวเอง เพื่อหาความรู้เพิ่มเติม
หลังจบปี 2533 ก็เข้ามาลุยธุรกิจนี้ โดยตั้ง บริษัท ดี.เอส. ลิสซิ่ง จำกัด ในปี 2535 ทำธุรกิจปล่อยสินเชื่อรถมอเตอร์ไซค์ โดยมีทะเบียนรถเป็นหลักประกัน ขณะที่แหล่งเงินที่ใช้หล่อเลี้ยงธุรกิจเป็นหลักมาจากการกู้จากธนาคาร ต่อมาในปี 2544 เปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น เมืองไทย ลิสซิ่ง 
ทั้งคู่ก็ทำธุรกิจเรื่อยมา จนกระทั่งบริษัทต้ องใช้เงินทุนเพื่อขยายกิจการ จึงตัดสินใจเข้ามาระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์  ชื่อ เมืองไทยลิสซิ่ง จึงเป็นที่รู้จักของสาธารณชน มากมาย พร้อมกับงวยงง ว่า เป็นเครือญาติกับ เมืองไทยประกันชีวิต
สรุปก็คือว่า เพราะ MTLS เข้าตลาดหุ้น ผู้คนถึงได้รู้จักชื่อนี้กันแพร่หลาย จึงเหมือนชื่อไปพ้องกับ ธุรกิจใหญ่ดังกล่าว จนถึงขนาด ผู้ใหญ่ในตระกูล ลำซ่ำ เคยมีความคิดจะเข้าไปเจรจากับ ชูชาติ เพื่อขอให้เปลี่ยนชื่อบริษัท ใหม่ เพื่อไม่ให้สาธารณชนเข้าใจผิด .... แต่สุดท้ายก็ ล้มความตั้งใจ

ธุรกิจลิสซิ่ง

ฝ่าย MTLS ก็เดินหน้าทำธุรกิจลิสซิ่งเรื่อยมา และ ไม่เคยคิดจะเปลี่ยนชื่อบริษัท ด้วย
จากการออกข่าวล่าสุด ....โดยมี ชูชาติ เพ็ชรอำไพ ประธานกรรมการบริหาร เป็นผู้ให้ข้อมูล เตรียมออกหุ้นกู้ไม่เกิน 1 หมื่นล้านบาท หวังขยายสินเชื่อ และร่วมกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โรด์โชว์ที่สิงคโปร์ 21-22 พ.ย. นี้ หวังดึงต่างชาติถือหุ้นเพิ่ม
เนื่อจากบริษัทวางแผนระยะยาว 3 ปี (61-63) บริษัทยังตั้งเป้าเติบโตสินเชื่อ และ กำไรเติบโตปีละ 40% ส่วนปีนี้คาดเติบโต 50% ตามแผน ในขณะที่ปี 63 จะเติบโต 30% เนื่องจากฐานที่ใหญ่ขึ้นทำให้การเติบโตลดลง ปัจจุบันบริษัทปล่อยสินเชื่อรถมอเตอร์ไซด์ 38.86% รถยนต์ 32.64% ที่ดิน 13.87% สินเชื่อส่วนบุคคล 6.91% รถแท็กเตอร์ 5.10% และ นาโนไฟแนนซ์ 2.62% พร้อมขยายสาขาทั่วประเทศ 600 สาขา/ปี ซึ่งปัจจุบันบริษัทมีสาขาทั้งสิ้น 2,350 สาขา โดยบริษัทตั้งเป้าปี 63 จะมีสาขารวม 4,300 สาขา
โดยจะคุมหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(NPL) ปี 61 เพราะตั้งเป้าไม่ให้เกิน 1.5% จากสิ้นปีนี้คาดจะอยู่ในระดับ 1.1% และคุมต้นทุนการการเงินไม่ให้เกิน 3.50% เพราะไม่รู้ว่าปีหน้าจะมีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นจนกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ ต้องเตรียมเงินทุนให้เพียงพอ ปัจจุบันมีหนี้สินต่อทุน หรือ D/E อยู่ที่ 3.04 เท่า ซึ่งตั้งเป้าไม่ให้เกิน 4 เท่า
หุ้น

นอกจากนั้นปีหน้าจะไปโรดโชว์ที่ฮ่องกง 2 ครั้ง สิงค์โปร์ 2 ครั้ง และ ยุโรป 1 ครั้ง  หวังดึงต่างชาติถือหุ้นบริษัทเพิ่ม ปัจจุบันถือหุ้นอยู่ 4% และ กองทุน 8% MTLS ทำธุรกิจให้บริการสินเชื่อทะเบียนรถและสินเชื่อส่วนบุคคล
ดังนั้นถ้ามองในเรื่อง กลยุทธการตลาด ก็ถือว่า ประสบความสำเร็จมาก ไม่ต้องสร้างเสียเวลาสร้างแบรนด์เนม ยิงปืนนัดเดียวได้นกหลายตัว Richman can do จะนำเสนอเรื่องราวของ MTLS ต่อไป
ขอบคุณข้อมูลจาก Forbes Thailand 
 

(อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง เมืองไทยลิสซิ่ง ชื่อเหมือน เมืองไทยประกันชีวิต บังเอิญ หรือ ตั้งใจ?)

 

(อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง เอไอเอเดินหน้ายกระดับตัวแทนประกันชีวิตสู่การเป็นที่ปรึกษาด้านการประกันชีวิตและการเงินพร้อมเปิดศูนย์ที่ปรึกษาการเงินFA Center (ชมคลิป))