หนึ่งเดียวในไทย หอระฆังเสาอโศก สถาปัตยกรรมที่ยากจะหาชมได้ กุฏิเก่าแก่ของหลวงปู่หมุน สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่ วัดป่าหนองหล่ม 

รู้จริง... รู้แจ้ง... ทุกเรื่องราวพระอริยสงฆ์   http://www.tnews.co.th

หนึ่งเดียวในไทย หอระฆังเสาอโศก สถาปัตยกรรมที่ยากจะหาชมได้ กุฏิเก่าแก่ของหลวงปู่หมุน สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่ วัดป่าหนองหล่ม 

หนึ่งเดียวในไทย หอระฆังเสาอโศก สถาปัตยกรรมที่ยากจะหาชมได้ กุฏิเก่าแก่ของหลวงปู่หมุน สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่ วัดป่าหนองหล่ม 

พระอาจารย์ขวัญเมือง สุธัมโม วัดป่าหนองหล่ม จ.สระแก้ว หลานของหลวงปู่หมุน ท่านเป็นทั้งเกจิอาจารย์ที่สืบทอดวิชาจากหลวงปู่หมุน เถรจารย์ ๕ แผ่นดิน สายสมเด็จลุน และพระนักพัฒนา ได้มีการจัดสร้างหอระฆังของวัดเป็นแบบ หอระฆังเสาอโศกที่ยังไม่เคยมีใครสามารถทำรูปแบบนี้มาก่อน โดยมี แนวคิดของสถาปัตยกรรม และปริศนาธรรมที่ไว้ในหอระฆังเสาอโศก
เสาอโศก ตั้งอยู่บนหอระฆังซึ่งมีรูปร่างเป็นปูรณฆฏะ ที่มีดอกบัวรองรับ และมีพญานาค ๔ ตระกูลอภิบาลทางขึ้นบันไดทั้ง ๔ ทิศ  ผนังภายในมีภาพจิตรกรรมแสดงสังเวชนียสถาน ๔ ตำบล พร้อมภาพปริศนาธรรม เพดานในห้องแขวนระฆัง แขวนกระดิ่งทองเหลือที่มีใบด้านล่างจารึกคาถาย่อพระไตรปิฏกประจำทั้ง ๘ ทิศ กระดิ่งนี้ติดตั้งโดยรอบระฆังสัมฤทธิ์น้ำหนัก ๘๐ กิโลกรัม ที่พื้นห้องแขวนระฆังเป็นการเรียงหินจากแม่น้ำโขงเป็นลายประจำยาม มีอ่างรูปดอกบัวที่บรรจุบัวแปดกลีบสีทอง บนบัวแปดกลีบประดับลูกแก้วใหญ่มีพญานาคภายในตั้งอยู่ตรงกลาง ๑ ลูก เกสรมีลูกแก้วขาว ๑๖ ลูก กลีบมีลูกแก้วเขียว ๘ ลูก  
 

หนึ่งเดียวในไทย หอระฆังเสาอโศก สถาปัตยกรรมที่ยากจะหาชมได้ กุฏิเก่าแก่ของหลวงปู่หมุน สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่ วัดป่าหนองหล่ม 

๑ เสาอโศก    เรียกในภาษาฮินดี ว่า  “อโศก สฺตํภ”  (Pillars of Ashoka;) เป็นเสาหินโบราณที่สร้างโดยพระเจ้าอโศกมหาราช พระมหาจักรพรรดิแห่งราชวงศ์เมารยะ ที่ปกครองอนุทวีปอินเดียในช่วงยุคพุทธศตวรรษที่ ๔ พระเจ้าอโศกมหาราชทรงสร้างเสาหินทราย (ซึ่งต่อมาเรียกกันว่า "เสาอโศก") ขึ้นเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเพื่อระบุสถานที่ตั้งของสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา

เสาหินเหล่านี้สร้างโดยหินทรายจากเมืองจุณนา เมืองทางตอนเหนือของอินเดีย ซึ่งถือได้ว่าเป็นหินที่มีคุณภาพดีที่สุดในสมัยนั้น โดยเสาทุกเสาจะมีหัวสิงห์แกะสลักประดิษฐานอยู่ เป็นสัญลักษณ์ถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่องอาจดุจราชสีห์ และแผ่ไปไกลดุจเสียงแห่งราชสีห์ โดยตัวเสาจะมีคำจารึกถึงความสำคัญของสถานที่ตั้งเสาหรือประกาศพระบรมราชโองการของพระเจ้าอโศกมหาราช
เสาอโศกที่สมบูรณ์ที่สุดอยู่ที่อารามหลวงแห่งเจ้ามัลละในเมืองเวสาลี เมืองสำคัญในสมัยพุทธกาล แต่เสาอโศกต้นที่ที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดคือ เสาอโศกที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี สถานที่พระพุทธเจ้าแสดงปฐมเทศนา เป็นเสาที่หักเป็นสี่ท่อน แต่ว่ารูปสลักรูปสิงห์สี่ทิศบนเสายังคงมีสภาพสมบูรณ์ ปัจจุบันรัฐบาลอินเดียได้นำรูปสลักที่เสานี้มาเป็นสัญลักษณ์ของประเทศ รูปพระธรรมจักร ๒๔ ซี่ได้นำไปประดิษฐานในธงชาติอินเดีย และข้อความที่จารึกไว้โดยพระเจ้าอโศกว่า "สตฺยเมว ชยเต" (คำแปล: ความจริงชนะทุกสิ่ง) ได้กลายมาเป็นคำขวัญประจำชาติอินเดียในปัจจุบัน
เดิมนั้น เสาอโศกมีอยู่ทั่วพระราชอาณาจักรของพระเจ้าอโศกมหาราช แต่ต่อมาได้ถูกทำลายลงทั้งจากมนุษย์และภัยธรรมชาติ คงเหลือเพียงไม่กี่ต้นเท่านั้นที่ยังคงมีสภาพสมบูรณ์ในปัจจุบัน
หัวเสาพระเจ้าอโศกมหาราช ที่เมืองเวสาลี-สิงห์ตัวเดียวนอนหมอบ 
หัวเสาพระเจ้าอโศกมหาราชที่สารนาถ-สิงห์สามด้าน
รูปเสาอโศกซึ่งใช้เป็นตราแผ่นดินของอินเดีย-สิงห์ ๔ ด้าน พบที่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี สถานที่พระพุทธเจ้าแสดงปฐมเทศนา เป็นเสาที่หักเป็นสี่ท่อน แต่ว่ารูปสลักรูปสิงห์สี่ทิศบนเสายังคงมีสภาพสมบูรณ์ ปัจจุบันรัฐบาลอินเดียได้นำรูปสลักที่เสานี้มาเป็นสัญลักษณ์ของประเทศ รูปพระธรรมจักร ๒๔ ซี่ได้นำไปประดิษฐานในธงชาติอินเดีย และข้อความที่จารึกไว้โดยพระเจ้าอโศกว่า "สตฺยเมว ชยเต" (คำแปล: ความจริงชนะทุกสิ่ง) ได้กลายมาเป็นคำขวัญประจำชาติอินเดียในปัจจุบัน

ปูรณฆฏะ ที่มีดอกบัวรองรับ
ปูรณฆฏะ (หรือเรียก ปูรณกลศ ในสมัยทวารวดี) "ปูรณฆฏะ" หมายถึงหม้อน้ำแห่งความอุดมสมบูรณ์ ตรงตัวตามรากศัพท์ที่ผูกขึ้นจากภาษาสันสกฤตสองคำ คือคำว่า "ปูรณะ" ที่หมายถึงความบริบูรณ์ และ "ฆฏะ" ที่แปลว่าหม้อน้ำ ภาพปูรณฆฏะ ที่นิยมเขียนประดับตามวัดและสถูปเจดีย์ของล้านนามักปรากฎเป็นรูปดอกบัวผุดจากหม้อน้ำ 
ตามความคิดใน “คัมภีร์มีตริ” ของอินเดียมีข้อความเปรียบเปรยว่า โลกผุดขึ้นมาเหนือน้ำเหมือนกับดอกบัว แกนของดอกบัวหลวงที่โผล่พ้นเหนือน้ำที่อยู่ในหม้อปูรณฆฏะ จึงเปรียบเสมือนเขาพระสุเมรุ แกนของโลก แกนของจักรวาล
ปูรณฆฏะนี้นิยมในศิลปะอินเดียมาตั้งแต่เมื่อ พ.ศ.๖๐๐ เป็นอย่างน้อย บางครั้งก็นิยมสลักเป็นลวดลายประดับอยู่ที่ฐานเสา ประหนึ่งว่าเสาทั้งต้นงอกเงยออกมาจากหม้อน้ำ ค้ำจุนจักรวาลจำลองคือ อาคารศาสนสถานที่ประกอบขึ้นจากหมื่นโลกธาตุ
ในกลุ่มงานช่างของอินเดียเหนือ มักปรากฏรูปหม้อปูรณฆฏะ ร่วมอยู่กับลวดลายมงคลประเภทอื่นๆ คือ ลายตรีรัตน์ สังข์ จักร ศรีวัตสะ ปลาคู่ สวัสดิกะ และดอกบัว รวมเป็นชุดลวดลายมงคลแปดประการ เรียกว่า อัษฏมงคล บางทีลายหม้อ ปูรณฆฏะร่วมอยู่กับลายมงคลชนิดอื่นๆ ครบจำนวนแปดอย่างก็เรียกว่าเป็นชุด อัษฏมงคลด้วยเหมือนกัน ลวดลายชุดนี้ประดับอยู่ทั้งในงานช่างเนื่องในศาสนา และข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ ซึ่งเป็นนิยมอยู่มากทั้งในเขตพื้นที่เอเชียกลาง เรื่อยไปจนกระทั่งถึงในเขตพื้นที่ประเทศจีน
ปูรณฆฏะในประเทศไทย พบบนใบเสมาบางแผ่นในวัฒนธรรมทวารวดีภาคอีสาน ก็สลักรูปหม้อน้ำ มีกรวยแหลมสูงต่อยอดพอกพูนออกมาจากหม้อ และในภาคเหนือ ได้ปรากฎเป็น ลายคำที่ผนังวิหารน้ำแต้ม วัดพระธาตุลำปางหลวง จังหวัดลำปาง เขียนรูปหม้อทรงสูงคล้ายแจกัน ประดับไว้ด้วยดอกบัวหลวง เรียงรายอยู่เป็นแถวเหนือพื้นที่ทาสีแดง คล้ายข้าวของที่ถวายเป็นพุทธบูชา คงจะมีอายุไม่เก่าไปกว่า พ.ศ.๒๒๐๐ ที่มีร่องรอยของการปฏิสังขรณ์วิหารครั้งใหญ่
๒ บัว ๘ กลีบ ที่หันตามทิศ ๘ ทิศ และลูกแก้วทั้งหมดในดอกบัว
บัว ๘ กลีบ ที่หันตามทิศ ๘ ทิศ
มีความหมายแทน "มงคลจักรวาลแปดทิศ" ตามนัยแห่ง คาถามงคลจักรวาลแปดทิศ (กำแพงมนต์) ซึ่งจะป้องกันอันตรายจากสัตว์ร้าย และภูตผีปีศาจทั้งหลาย ทำให้อยู่เย็นเป็นสุข ไม่มีโรคภัยเบียดเบียน รอดพ้นจากภยันตรายทั้งปวง เป็นสิริมงคลแก่ตัวเอง มีโชคลาภ
ลูกแก้วทั้งหมดในดอกบัว
ความหมายของลูกแก้วในดอกบัวด้านล่างที่รองรับระฆัง
ลูกแก้วใหญ่มีพญานาคภายในตั้งอยู่ตรงกลาง ๑ ลูก หมายถึง ความบริสุทธิ์ของพระธรรมที่มีพญานาครักษาไว้ พระธรรมในความหมายนี้ มุ่งให้เห็น อนัตตา อันเป็นแนวทางไปสู่ นิพพาน
อนัตตา คือ ไม่ใช่อัตตา, ไม่ใช่ตัวใช่ตน, หรือไม่มีตัวตน อย่างเป็นแก่นแกนหรือแก่นสาระแท้จริง  ตัวตนเป็นเพียงกลุ่มก้อนคือมวลรวมจนเป็นมายาของเหล่าเหตุที่มาเป็นปัจจัยประชุมปรุงแต่งกัน  จึงล้วนไม่ใช่ตัวตนแท้จริง  ตัวตนนั้นๆจึงเป็นเพียงสมมติสัจจะ   จึงล้วนไม่ใช่เป็นของตัวของตน หรือของใครๆได้อย่างแท้จริง
เกสรมีลูกแก้วขาว ๑๖ ลูก วงใน ๘ ลูก วงนอก ๘ ลูก
วงใน ๘ ลูก หมายถึง มรรค คือ หนทางสู่ความดับทุกข์ เป็นหนึ่งในอริยสัจ ๔ จึงเรียกอีกอย่างว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา หรือการลงมือปฏิบัติเพื่อให้พ้นจากทุกข์ ประกอบด้วยองค์ประกอบ ๘ ประการ ในธัมมจักกัปปวัตตนสูตร พระพุทธเจ้าตรัสว่าอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เป็นทางสายกลาง คือเป็นข้อปฏิบัติอันพอดีที่จะนำไปสู่ความหลุดพ้น ตามวิภังคสูตร พระพุทธเจ้าทรงอธิบายรายละเอียดไว้ดังนี้
๑.สัมมาทิฐิ (ความเห็นที่ถูกต้อง) หมายถึง ความรู้ในอริยสัจ ๔
๒.สัมมาสังกัปปะ (ความคิดที่ถูกต้อง) หมายถึง ความคิดในการออกจากกาม ความไม่พยาบาท และการไม่เบียดเบียน
๓.สัมมาวาจา (วาจาที่ถูกต้อง) หมายถึง การเว้นจากการพูดเท็จ หยาบคาย ส่อเสียด และเพ้อเจ้อ
๔.สัมมากัมมันตะ (การปฏิบัติที่ถูกต้อง) หมายถึง เจตนาละเว้นจากการฆ่า โจรกรรม และการประพฤติผิดในกาม
๕.สัมมาอาชีวะ (การหาเลี้ยงชีพที่ถูกต้อง) หมายถึง การเว้นจากมิจฉาชีพ ประกอบสัมมาชีพ
๖.สัมมาวายามะ (ความเพียรที่ถูกต้อง) หมายถึง ความพยายามป้องกันอกุศลที่ยังไม่เกิด ละอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว ทำกุศลที่ยังไม่เกิด และดำรงรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้ว
๗.สัมมาสติ (การมีสติที่ถูกต้อง) หมายถึง สติปัฏฐาน ๔
๘.สัมมาสมาธิ (การมีสมาธิที่ถูกต้อง) หมายถึง การบรรลุฌาน ๔
วงนอก ๘ ลูก หมายถึง อาชีวัฏฐมกศีล แปลว่า ศีลมีอาชีวะเป็นอันดับที่ ๘ ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคเรียกไว้อีกชื่อหนึ่งว่า อาทิพรหมจริยกะศีลโดยอธิบายว่าเพราะเป็นเบื้องต้นของมรรคพรหมจรรย์ซึ่งผู้ปฏิบัติพึงรักษาให้บริสุทธิ์ในเบื้องต้น สมด้วยพุทธดำรัสว่า "ปุพฺเพ ว โข ปนสฺส กายกมฺมํ วจีกมฺมํ อาชีโว สุปริสุทฺโธ โหติ" แปลว่า ด้วยว่า กายกรรม (๓) วจีกรรม (๔) อาชีวะ (๑) ของเขาผู้นั้น บริสุทธิด้วยดี ตั้งแต่เริ่มต้น 
อาชีวัฏฐมกศีล  คือ
๑.เว้นจากการฆ่าสัตว์
๒.เว้นจากการลักทรัพย์
๓.เว้นจากการประพฤติผิดในกาม
๔.เว้นจากการพูดเท็จ
๕.เว้นจากการพูดคำหยาบ
๖.เว้นจากการพูดส่อเสียด
๗.เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ
๘.เว้นจากอาชีพที่ผิด

กลีบมีลูกแก้วเขียว ๘ ลูก หมายถึง โลกธรรม ๘ หมายถึง ธรรมดาของโลก เรื่องของโลก ธรรมชาติของโลกที่ครอบงำสัตว์โลกและสัตว์โลกต้องเป็นไปตามธรรมดานี้ ๘ ประการอันประกอบด้วย 
โลกธรรมฝ่ายอิฏฐารมณ์ คือ พอใจของมนุษย์ เป็นที่รักเป็นที่ปรารถนา ๔ ประการ
๑.ลาภ หมายความว่า ได้ผลประโยชน์ ได้มาซึ่งทรัพย์
๒.ยศ หมายความว่า ได้รับฐานันดรสูงขึ้น ได้อำนาจเป็นใหญ่เป็นโต
๓.สรรเสริญ คือ ได้ยิน ได้ฟัง คำสรรเสริญคำชมเชย คำยกย่อง เป็นที่น่าพอใจ
๔.สุข คือ ได้ความสบายกาย สบายใจ ความเบิกบาน บันเทิงใจเริงใจ

โลกธรรมฝ่ายอนิฏฐารมณ์ คือ ความไม่พอใจของมนุษย์ ไม่เป็นที่ปรารถนา ๔ ประการ
๑.เสื่อมลาภ หมายความว่า เสียลาภไป ไม่อาจดำรงอยู่ได้
๒.เสื่อมยศ หมายถึง ถูกลดอำนาจความเป็นใหญ่
๓.นินทาว่าร้าย หมายถึง ถูกตำหนิติเตียนว่าไม่ดี ถูกติฉินนินทา หรือถูกกล่าวร้ายให้เสียหาย
๔.ทุกข์ คือ ได้รับความทุกขเวทนา ทรมานกาย ทรมานใจ
สีพญานาค ที่อยู้รอบหอระฆังเสาอโศก  ตามเทวตำนาน ตระกูลหลักจะมี ๔ ตระกูล ได้แก่
๑.วิรูปักขะ สีทอง 
๒.เอราปถะ สีเขียว
๓.ฉัพพยาปุตตะ สีรุ้ง (และสีอื่น ๆ) 
๔.กัณหาโคตมกะ สีดำ
 

หนึ่งเดียวในไทย หอระฆังเสาอโศก สถาปัตยกรรมที่ยากจะหาชมได้ กุฏิเก่าแก่ของหลวงปู่หมุน สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่ วัดป่าหนองหล่ม 

ความหมายของภาพเขียน ในหอระฆัง
๑.ทิศตะวันออกเป็นรูป สถานที่เนื่องด้วยการประสูติ ลุมพินีวัน หรือที่ชาวอินเดียเรียกว่า รุมมินเด ในภาพเขียนเป็นรูปเสาอโศกที่ลุมพินีวัน ซึ่งปัจจุบันรูปปั้นที่ยอดเสาได้หักลง พร้อมกันนั้นได้เขียนรูปช้างถือดอกบัว เนื่องจาก ตามพระพุทธประวัติ เมื่อพระนางสิริมหามายาทรงพระครรภ์ ก็ทรงพระสุบินเห็นช้างเผือกนำดอกบัวมาถวาย อันเป็นนิมิตว่าผู้มีบุญญาธิการเพียบพร้อมด้วยบารมี ได้มาอุบัติเป็นมนุษย์สู่พระครรภ์มารดาทางพระนาภีเบื้องขวาในรูปของช้างเผือก ช้างเผือกจึงเป็นที่นับถือว่าเป็นสัตว์มงคลที่สำคัญประเภทหนึ่ง ในพระพุทธศาสนา ในกรอบล่างของภาพเป็นรูปลิง ๓ ตัว ปิดหู ปิดตา ปิดปาก

๒.ทิศเหนือ เป็นรูป สารนาถ เป็นสถานที่ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา เริ่มต้นประกาศพระพุทธศาสนาเพื่อเป็นที่พึ่งแก่มหาชนทั้งหลาย มาจากศัพท์ว่า สารงฺค + นารถ = ที่อยู่ของสัตว์จำพวกกวาง สารนาถยังรู้จักกันดีในชื่อ "อิสิปตนมฤคทายวัน" หรือ "ฤๅษีปัตนมฤคทายวัน" แปลว่า ป่าอันยกให้แก่หมู่กวาง และเป็นที่ชุมนุมฤๅษี 
ภายในอาณาบริเวณสารนาถมี ธรรมเมกขสถูป เป็นพุทธสถานขนาดใหญ่ที่สุดและสำคัญที่สุด สันนิษฐานว่าบริเวณที่ตั้งของธรรมเมกขสถูป เป็นสถานที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาประกาศพระสัจจธรรมเป็นครั้งแรกที่นี่ พร้อมกันนั้นได้ขียนรูปธรรมจักร และกวาง อันเป็นสัญลักษณ์ของการเผยแพร่พระธรรม ในกรอบล่างของภาพเป็นรูปสุวรรณสาม

๓.ทิศตะวันตกเป็นรูป พุทธคยา รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย ที่ตั้งของสถานที่ตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ปัจจุบัน มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วัดมหาโพธิ พร้อมกันนั้นได้เขียนรูปต้นโพธิ์ทอง อันหมายถึงทรงตรัสรู้ใต้ต้นศรีมหาโพธิ์ ในกรอบล่างของภาพเป็นรูปบัวสี่เหล่า

๔.ทิศใต้ เป็นรูป "สถูปปรินิพพาน" ที่กุสินารา เป็นสถูปแบบทรงโอคว่ำที่เป็นทรงพระราชนิยมในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช สร้างโดยพระเจ้าอโศกมหาราช บนสถูปมียอดมน มีฉัตรสามชั้น "มหาปรินิพพานวิหาร"ตั้งอยู่ด้านหน้าในฐานเดียวกันกับสถูปปรินิพพาน ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปางเสด็จดับขันธปรินิพพาน (คือพระพุทธรูปนอนบรรทมตะแคงเบื้องขวา)  ตรงกลางของภาพเขียนเป็นรูปพระพุทธบาทบรรจุมงคล 108 ตามตำราโบราณ ในกรอบล่างของภาพเป็นรูปมหาชนก
 

หนึ่งเดียวในไทย หอระฆังเสาอโศก สถาปัตยกรรมที่ยากจะหาชมได้ กุฏิเก่าแก่ของหลวงปู่หมุน สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่ วัดป่าหนองหล่ม 


ภายในบริเวณวัดนอกจากหอระฆังเสาอโศก แล้วยังมีกุฏิเก่าที่หลวงปู่หมุนใช้จำวัด เมื่อสมัยที่ท่านหลวงปู่หมุนยังมีชีวิตอยู่ เดิมกุฏิหลังนี้อยู่ที่ วัดป่าสามัคคีธรรม (ดอนอะราง) จ.บุรีรัมย์ ที่นายทองสุภลักษ์ สร้างถวายเมื่อ ๑๕ พ.ค. ๒๕๑๕ ซึ่งหลังจากหลวงปู่หมุน มรณภาพ พระอธิการ สวัสดิ์ สุทธจิตโต ท่านเจ้าอาวาสวัป่าสามัคคีธรรม ได้อนุญาตให้ย้ายกุฏิมาไว้ที่วัดเทพเศรฐี อรัญญาวาส (วัดป่าหนองหล่ม) แห่งนี้เมื่อ ๑๖ ก.ค. ๒๕๕๖ เพื่อจัดทำเป็นอนุสรณ์สถานให้แก่คนรุ่นหลัง คู่กับกุฏิของหลวงปู่หมุนที่อยู่ในวัดนี้ 
และรถยนต์คู่ใจที่หลวงปู่สรวง เทวดาเดินดินใช้เป็นพาหนะเดินไปในภาคอีสาน มาเก็บรักษาไว้ในวัดนี้ด้วย