อดีตกัปตันการบินไทย แฉ ทำไมการบินไทยถึงขาดทุนเท่าฟ้า แนะเปลี่ยนคณะกรรมการบริษัท

กัปตันการบินไทยวันที่ 18 พ.ย.นายโยธิน ภมรมนตรี อดีตกัปตันบริษัท การบินไทย และอดีตกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัวความว่า ทำไมการบินไทยจึงขาดทุนเท่าฟ้า? ประชาชนผู้เสียภาษี และ ผู้ถือหุ้น คงต้องอาจรู้ว่า ทำไม การบินไทย ในช่วง10ปีมีแต่ปัญหาขาดทุน และก็คงอยากทราบจะมีทางแก้ไขสถานการณ์นี้ไม่อย่างไร
จะแก้ไขอะไรต้องศึกษาเสียก่อนว่าปัญหาคืออะไร เมื่อทราบแล้วการแก้ไขปัญหาจะง่ายขึ้น

 

อดีตกัปตันการบินไทย แฉ ทำไมการบินไทยถึงขาดทุนเท่าฟ้า แนะเปลี่ยนคณะกรรมการบริษัท

1.การบินไทยซื้อเครื่องบินแบบA340-500จำนวน4ลำแม้ทางสภาพัฒน์ขอให้ทบทวน นี้คือจุดเริ่มต้นของการขาดทุน ผู้รับผิดชอบคือคณะกรรมการบริษัทในช่วงรัฐบาลทักษิณ
2.ในปี47 รัฐบาลทักษิณเปลี่ยนแปลง โครงสร้างการลงทุนในสายการบิน จาก 70/30 มาเป็น 51/49 โดยให้แอร์เอเชียถือหุ้น49% Shincorp 49% กุหลาบแก้ว 2% nominee ผู้รับผิดชอบ รัฐบาล
3.หลังจัดตั้ง ไทยแอร์เอเชีย คณะกรรมการบินไทยมีนโยบายมิให้ฝ่ายการพาณิชย์การบินไทยทำการแข่งขันกับไทยแอร์เอเชีย ผู้รับผิดชอบคณะกรรมการ
4.หลังจัดตั้งสายการบินนกแอร์ ฝ่ายบริหารนกแอร์ไม่ดำเนินการตามนโยบายคณะกรรมการบริษัทการบินไทยๆ ก็มิได้เข้าไปควบคุมนโยบาย แม้จะมีเสียงข้างมาก5 ต่อ4 ผู้รับผิดชอบ คณะกรรมการ
5.แทนที่จะเขาไปควบคุมสถานการณ์ในนกแอร์ คณะกรรมการกลับไปลงนามในMOU เพื่อร่วมทุนกับ สายการบิน ไทเกอร์ ที่สิงคโปร์แอร์ไลน์ถือหุ้นในช่วงนั้น49% โดยไม่ได้ศึกษาว่า สายการบิน ไท เกอร์ ขาดทุนติดกันหลายปี และถูกระงับการบินไปช่วงหนึ่ง เนื่องจากด้อยความปลอดภัย ลงเงินไปแล้ว 100ล้านบาท โครงการต้องล้มไปเพราะมีการต่อต้านว่า ชักศึกเข้าบ้าน ผู้รับผิดชอบคือ คณะกรรมการ
6.เพียง5 เดือนหลัง โครงการไทย ไทเกอร์ต้องล้มไป คณะกรรมการ จัดตั้งสายการบินไทยสมายล์ ผลการศึกษา ปี57,58,และ59 จะทำกำไร+5,056ล้านบาท ผลประกอบการจริง ขาดทุน-4,485ล้านบาท ผู้รับผิดชอบ คณะกรรมการ
7.ในช่วงจัดตั้ง ไทยสมายล์ คณะกรรมการบริษัทการบินไทย สนับสนุนให้นกแอร์(การบินไทยถือหุ้น39%)ไปร่วมทุนกับสายการบิน สกู๊ต ซึ่งสิงคโปร์แอร์ไลน์ถือหุ้น100% ผลการลงมติ 99.392% แม้ในปี 58 การบินไทยขาดทุน-13,047ล้านบาท ยังอนุมัติเงิน983ล้านบาทเพื่อลงทุนในนกสกู๊ต ผู้รับผิดชอบ คณะกรรมการ

 

8.ปี57 สายการบินไทยสมายล์ขาดทุน-577ล้านบาท และตามสัญญาเช่าเครื่องบินแบบA320-200 จำนวน12ลำ บริษัทผู้ให้เช่าและบริษัทผู้เช่ามีสิทธิ์ยกเลิกสัญญาโดยแจ้งล่วงหน้า6เดือน ต้นปี58 ICAO ให้ธงแดงประเทศ ซึ่งแน่นอนจะต้องกระทบผลดำเนินการของไทยสมายล์ ในปีเดียวกัน คณะกรรมการซุปเปอร์บอร์ดซึ่งมี ท่านนายกเป็นประธานมีมติ ให้การบินไทยชะลอการจัดหาเครื่องบิน และในปี58 ไทยสมายล์ ขาดทุน -1,843ล้านบาท ควรทบทวนแผนการบินไทยสมายล์ ที่สามารถจะทำการยกเลิกจำนวนเครื่องบินที่เช่าลงแต่กลับไปเพิ่มจำนวนเครื่องบินอีก8ลำ และผมประการปี 59 ที่ว่า จะกำไร+1,910ล้านบาท มาเป็นขาดทุน-2,060ล้านบาท ผู้รับผิดชอบ คณะกรรมการ
9.อนุม้ติ การจัดซื้อระบบสำรองที่นั่งNavitaire จากบริษัทที่โดนศาลสหรัฐปรับเป็นเงินกว่า2พันล้านบาท ฐานรับสินบน ระบบดังกล่าวไม่สามารถเชื่อมต่อกับระบบของการบินไทยได้ เป็นการทำลายNet work ของการบินไทย ในที่สุดต้องเลิกใช้ เสียหายไป 500ล้านบาท ผู้รับผิดชอบ คณะกรรมการ
10 ตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนผู้ถือหุ้นการลงทุนในสายการบิน มีรัฐบาลจากการรัฐประหาร 2รัฐบาล รัฐบาลมาจากการเลือกตั้ง 3รัฐบาล คณะกรรมการบริษัทมิได้เสนอทางแก้ไขนโยบายดังกล่าวแม้แต่ครั้งเดียว เพื่อปกป้องผลประโยชน์บริษัท และสิทธิการบินซึ่งเป็นสมบัติของชาติ ผู้รับผิดชอบ คือคณะกรรมการ

อดีตกัปตันการบินไทย แฉ ทำไมการบินไทยถึงขาดทุนเท่าฟ้า แนะเปลี่ยนคณะกรรมการบริษัท


ยังมีอีกหลายโครงการที่จมอยู่ใต้ภูเขาน้ำแข็ง ซึ่งคณะกรรมการเป็นผู้ต้องรับผิดชอบความเสียหาย การที่จะแก้ไขให้บริษัทการบินไทยพ้นจากการขาดทุน ต้องเปลี่ยนคณะกรรมการ ถ้าตราบใดที่คณะกรรมการชุดนี้ยังเป็นกรรมการบริษัท การบินไทยก็จะอยู่ในสภาพนี้ เศร้า