รัฐบาลขับเคลื่อน เกษตรอินทรีย์ หวังสร้างผลิตภัณฑ์ออร์แกนิค เพิ่มรายได้ให้เกษตรกรอย่างยั่งยืน

รัฐบาลขับเคลื่อน เกษตรอินทรีย์ หวังสร้างผลิตภัณฑ์ออร์แกนิค เพิ่มรายได้ให้เกษตรกรอย่างยั่งยืน

ปัจจุบันผู้บริโภคได้ใส่ใจในเรื่องสุขภาพและให้ความสำคัญกับการรักษาสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ทำให้สินค้าเกษตรอินทรีย์หรือผลิตภัณฑ์ออร์แกนิค ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นและขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในตลาดต่างประเทศ 

ดังนั้น จึงเป็นช่องทางสำคัญในเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรไทยอย่างยั่งยืน ขณะที่รัฐบาลให้การสนับสนุนเกษตรกร หันมาทำเกษตรอินทรีย์ พร้อมจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ พ.ศ. 2560-2564 ภายใต้งบประมาณ 1 หมื่นล้านบาท เพื่อใช้เป็นแนวทางขับเคลื่อนและพัฒนาเกษตรอินทรีย์ในระยะ 5 ปี 

โดยมีกระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนส่งเสริมให้เกษตรกรเข้าสู่ระบบการเพาะปลูกแบบอินทรีย์มาอย่างต่อเนื่อง จนเกิดกลุ่มเกษตรกรที่เพาะปลูกสินค้าเกษตรอินทรีย์เพิ่มขึ้น
 

 

 

มีเป้าหมาย ปี 2564 จะเพิ่มพื้นที่เกษตรอินทรีย์ไม่น้อยกว่า 600,000 ไร่ และมีจำนวนเกษตรกรที่ทำเกษตรอินทรีย์เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 30,000 ราย โดยสินค้าเกษตรอินทรีย์จะจำหน่ายในประเทศ 40% และจำหน่ายตลาดต่างประเทศ 60% 

พร้อมหวังการเดินหน้ายุทธศาตร์เกษตรอินทรีย์ 1,333,860 ไร่ ตั้งเป้า 5 ปีไทยสามารถผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ได้อันดับ 5 ของเอเชีย จากปัจจุบันอันดับ 8 

โดยในปี 2559 ที่ผ่านมา ไทยมีการส่งออกสินค้าเกษตรอินทรีย์ประมาณ 4,000 ล้านบาท ซึ่งในจำนวนนี้เป็นข้าวอินทรีย์ประมาณ 23-30% โดยกระทรวงฯ จะผลักดันให้มีการส่งออกสินค้าเกษตรอินทรีย์รายการอื่นๆ ให้ได้เพิ่มขึ้น และตั้งเป้าที่จะผลักดันมูลค่าส่งออกให้ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดิมอีก 10% ในปี 2560

ล่าสุดคณะกรรมการพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ ที่มีพลอากาศเอก ประจิน  จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน
ได้จัดประชุมติดตามความก้าวหน้าการขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  และมี พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ โครงการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวม ๓ ฉบับ ได้แก่ ความร่วมมือเรื่องการปลูกมันสำปะหลังอินทรีย์ ความร่วมมือการปลูกแตงโมอินทรีย์ และความร่วมมือเรื่องการปลูกพืชสมุนไพรอินทรีย์ 

พร้อมวางแผนการขับเคลื่อนนโยบายเกษตรอินทรีย์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือในปี 2561 เกี่ยวกับการประสานงานระหว่างภาคกับจังหวัดเพื่อกำหนดพื้นที่ ชนิดสินค้า โครงการที่โดดเด่น เพิ่มการประชาสัมพันธ์เกษตรอินทรีย์ สร้างการรับรู้ ทบทวนมาตรฐานและหลักเกณฑ์การรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ เน้นการขับเคลื่อนในพื้นที่เกษตรกร ให้มีการ บูรณาการในพื้นที่เกษตรอินทรีย์แปลงใหญ่เพิ่มขึ้น มีการบูรณาการในพื้นที่เดียวกัน โดยมีจังหวัดนำร่อง ได้แก่ ยโสธร มหาสารคาม และศรีสะเกษ ทั้งนี้จะขับเคลื่อนโดยเน้นการผลิตชนิดสินค้าพืชเป็นหลัก ได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง อ้อย และถั่วเหลือง รวมทั้งการเชื่อมโยงตลาดเพื่อการจำหน่าย 
 

รัฐบาลขับเคลื่อน เกษตรอินทรีย์ หวังสร้างผลิตภัณฑ์ออร์แกนิค เพิ่มรายได้ให้เกษตรกรอย่างยั่งยืน

 

รัฐบาลขับเคลื่อน เกษตรอินทรีย์ หวังสร้างผลิตภัณฑ์ออร์แกนิค เพิ่มรายได้ให้เกษตรกรอย่างยั่งยืน

 

 

ขณะเดียวกันกระทรวงพาณิชย์ได้ดำเนินการร่วมกับสำนักงานพาณิชย์จังหวัดในพื้นที่ ทำการสำรวจและติดตามการทำเกษตรอินทรีย์ของหมู่บ้านต่างๆ มาอย่างต่อเนื่อง เพื่อผลักดันให้เป็นหมู่บ้านเกษตรอินทรีย์ หรือ Organic Village ซึ่งในปี 2560 นี้ มีเป้าหมายที่จะผลักดันให้มีหมู่บ้านเกษตรอินทรีย์เพื่อส่งเสริมและเพิ่มช่องทางการจำหน่ายและขยายตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ให้กับเกษตรกร อึกด้วย