หยุดเรียกว่าวัชพืชได้แล้ว! เพราะมีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างมาก สรรพคุณไม่ธรรมดา ใครว่าเป็นแค่วัชพืช

ติดตามความเคลื่อนไหวได้ที่เพจความจริง และ www.tnews.co.th

หยุดเรียกว่าวัชพืชได้แล้ว! เพราะมีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างมาก สรรพคุณไม่ธรรมดา ใครว่าเป็นแค่วัชพืช

 

ผักเบี้ยใหญ่ มีชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Portulaca oleracea L. มีถิ่นกำเนิดจากประเทศอินเดีย ในโซนเขตร้อน แต่มีฤทธิ์สรรพคุณเป็นธาตุเย็น ตามบ้านเราจะเห็นได้ตามท้องถนนทั่วไป คล้ายวัชพืชที่ขึ้นตามซอกกำแพง คนจึงไม่ค่อยสนใจเท่าไหร่ แต่สรรพคุณมากมายเลยทีเดียว

ผักเบี้ยใหญ่  มีโอเมก้า 3 สูงมากกว่าน้ำมันปลาเสียอีก ซึ่งกรดไขมันชนิดนี้ขึ้นชื่อในเรื่องการบำรุงสมอง เสริมสร้างความจำ บำรุงไขข้อ ทำให้ตาไม่แห้ง เป็นอาหารเสริมสุขภาพที่ดี อีกทั้ง อุดมไปด้วยสารเบต้าแคโรทีน นอกจากนี้ ยังมีวิตามินซี ที่ช่วยแก้อาการโรคลักปิดลักเปิด แก้หวัด แก้ไอ ปกป้องผิวจากแสงแดด รักษาโรคผิวหนัง ต้านมะเร็ง ปกป้องหัวใจและสมอง และสามารถใช้ใบหรือยอดสดๆ พอกห้ามเลือด ทาแก้แมลงสัตว์กัดต่อย ช่วยรักษาโรคสะเก็ดเงินหรือ โรคเรื้อนกวางได้ 

งานวิจัยพบว่า สารกลุ่มแอลคาลอยด์จากผักเบี้ยใหญ่ สามารถยับยั้งฤทธิ์ของเอนไซม์อะซิทิลโคลีนเอสเทอเรส(acetylcholinesterase) ได้สูงมาก จึงช่วยดูแลภาวะสมองเสื่อมได้ดี ใบผักเบี้ยใหญ่มีโอเมก้า 3 สูงมาก กรดไขมันชนิดนี้ช่วยลดไขมันตัวร้ายอย่างคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ ช่วยเพิ่มไขมันดีอย่าง HDL จึงมีบทบาทสำคัญในการป้องกันหลอดเลือดตีบแข็ง ป้องกันหัวใจวาย และทำให้ระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรง ใบผักเบี้ยใหญ่ยังมีข้อดีกว่าน้ำมันปลา เนื่องจากมีเส้นใยอาหาร ให้แคลอรีและไขมันต่ำ นอกจากนี้ฤทธิ์ปกป้องสมองและหัวใจของผักเบี้ยใหญ่ยังมาจากการมีวิตามินและแร่ธาตุที่มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระอยู่หลายชนิด เช่น วิตามินเอ เบต้าแคโรทีน วิตามินบี วิตามินซี วิตามินอี แคลเซียม แมกนีเซียม โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก ลิเทียม โฟเลท และเป็นแหล่งของกลูตาไธโอน(glutathione) กรดอัลฟาไลโนเลนิก(alpha-linolenic acid (ALA) ของกรดไขมันโอเมก้า 3 ชนิดหนึ่ง) เมลาโทนิน(melatonin)
 

หยุดเรียกว่าวัชพืชได้แล้ว! เพราะมีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างมาก สรรพคุณไม่ธรรมดา ใครว่าเป็นแค่วัชพืช

 

หยุดเรียกว่าวัชพืชได้แล้ว! เพราะมีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างมาก สรรพคุณไม่ธรรมดา ใครว่าเป็นแค่วัชพืช

 

หยุดเรียกว่าวัชพืชได้แล้ว! เพราะมีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างมาก สรรพคุณไม่ธรรมดา ใครว่าเป็นแค่วัชพืช

 

สรรพคุณผักเบี้ยใหญ่
1.ชาวยุโรปได้เข้าใจกันว่าผักเบี้ยใหญ่นี้มีรสเย็นและช่วยทำให้เจริญอาหาร (ใบ)
2.ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด (ใบ)
3.น้ำคั้นของต้นมีสรรพคุณเป็นยาฟอกโลหิต (น้ำคั้นของต้น)
4.ใช้แก้เด็กหัวล้าน ด้วยการใช้ยานี้นำมาเคี่ยวให้ข้น ใช้เป็นยาทาหรือเอาไปผิงกับไฟให้แห้ง บดให้เป็นผงผสมกับไขหมูทาบริเวณที่เป็น (ต้น)
5.ทั้งต้นใช้กินเป็นผักสด มีประโยชน์ต่อฟันมาก โดยน้ำคั้นที่ได้จากต้นเมื่อนำมาผสมกับน้ำมันกุหลาบ จะใช้อมเป็นยาแก้เจ็บคอ แก้เหงือกบวม และช่วยทำให้ฟันทนได้ (ทั้งต้น)
6.ช่วยแก้อาการปวดหู ปวดฟัน (น้ำคั้นของต้น)
7.ช่วยแก้เลือดออกตามไรฟัน (ทั้งต้น)
8.สมุนไพรชนิดนี้มีรสเปรี้ยวเย็น ใช้เป็นยาแก้ร้อน ดับพิษ (ทั้งต้น)
9.ใช้แก้เด็กเป็นไข้สูง ด้วยการใช้ต้นสดตำพอกวันละ 2 ครั้ง (เข้าใจว่าตำพอกบริเวณศีรษะ) (ต้น)
10.ใช้แก้เด็กไอกรน ด้วยการใช้ยานี้ปรุง 50% โดยใช้ยานี้สด 250 กรัม ใส่น้ำ 1.5 ลิตร แล้วต้มให้เหลือ 100 ซี.ซี. แล้วแบ่งกิน 3 วัน วันละ 4 ครั้ง โดยทั่วไปแล้วหลังจาก 3 วันจะเห็นผล เด็กจะมีอาการไอลดลงและมีอาการดีขึ้น (ต้น)
11.น้ำคั้นจากใบสดใช้ผสมกับน้ำผึ้งและน้ำตาล ใช้ปรุงเป็นยาแก้อาการกระหายน้ำ แก้ไอแห้ง (ใบ) ส่วนอีกตำราระบุให้ใช้เมล็ดเป็นยาแก้กระหายน้ำและแก้อาการไอ (เมล็ด)
12.ช่วยกระตุ้นให้กระเพาะหลั่งน้ำย่อยออกมามาก (น้ำคั้นของต้น)
13.ใช้เป็นยาแก้บิดถ่ายเป็นเลือด ให้ใช้ต้นสด 550 กรัม ล้างน้ำให้สะอาด แล้วเอาไปนึ่งประมาณ 3-4 นาที ตำคั้นเอาน้ำมาประมาณ 150 ซี.ซี. ใช้รับประทานครั้งละ 50 ซี.ซี. วันละ 3 ครั้ง หรือจะใช้ยานี้สด 1 กำมือ ผสมปลายข้าว 3 ถ้วย นำมาต้มเป็นข้าวต้มเละ ๆ รับประทานแบบจืด ๆ ตอนท้องว่างก็ได้ (ต้น)
14.ใช้ป้องกันบิด ด้วยการใช้ต้นสดประมาณ 550 กรัม นำมาต้มกับน้ำกิน 1 เวลา ในระยะที่มีโรคบิดระบาดติดต่อกัน 10 วัน (ต้น)
15.ใช้แก้เด็กท้องร่วง ด้วยการใช้ยานี้สด 250-500 กรัม นำมาต้มกับน้ำใส่น้ำตาลพอประมาณ แล้วนำมาให้เด็กกินเรื่อย ๆ จนหมดใน 1 วัน โดยให้กินติดต่อกัน 2-3 วัน หรืออาจจะใช้ต้นสดนำมาล้างให้สะอาดผิงไฟให้แห้ง แล้วบดให้เป็นผงกินครั้งละ 3 กรัม กับน้ำอุ่นก็ได้ วันละ 3 ครั้ง (ต้น)
16.ช่วยหล่อลื่นลำไส้ (ทั้งต้น)
17.เมล็ดใช้เป็นยาระบายอ่อน ๆ (เมล็ด)
18.เมล็ดมีสรรพคุณเป็นยาถ่ายพยาธิ บางท้องถิ่นจะนำเมล็ดมาตำแล้วต้มกับเหล้าไวน์ ให้เด็กรับประทานเป็นยาถ่ายพยาธิ (เมล็ด)
19.น้ำคั้นจากใบสดผสมกับน้ำผึ้งและน้ำตาล ใช้ปรุงเป็นยารับประทานแก้ขัดเบา (ใบ) ส่วนอีกตำราระบุให้ใช้เมล็ดเป็นยาขับปัสสาวะ แก้ขัดเบา (เมล็ด)
20.ใช้เป็นยาแก้หนองใน ปัสสาวะขัด ด้วยการรับประทานน้ำคั้นที่ได้จากต้น (ต้น)
21.ช่วยรักษาริดสีดวงทวารแตกเลือดออก (ทั้งต้น) แก้ริดสีดวงทวารปวดบวม ด้วยการใช้ใบสดผสมกับส้มกบ (Oxalis Thunb.) อย่างละเท่ากัน ต้มเอาไอร้อน พอน้ำอุ่นก็ใช้ชะล้างวันละ 2 ครั้ง (ใบ)
22.ใช้แก้ไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลัน ด้วยการใช้ต้นนี้ 1 กำมือ ล้างน้ำให้สะอาด เอาน้ำประมาณ 30 ซี.ซี. ผสมกับน้ำเย็นจนเป็น 100 ซี.ซี. ใส่น้ำตาลพอประมาณ ใช้รับประทานครั้งละ 100 ซี.ซี. วันละ 3 ครั้ง (ต้น)
23.ใบใช้ตำพอกทาแก้ถูกไฟไหม้ น้ำร้อนลวก อักเสบบวม ไฟลามทุ่ง (ใบ)
24.ช่วยแก้บวมและรักษาแผลเน่าเปื่อยเป็นหนองเรื้อรัง ด้วยการใช้ต้นสดนำมาตำคั้นเอาน้ำมาต้ม เมื่อเย็นแล้วนำมาใช้ทาหรือใช้ยานี้นำมานึ่งแล้วตำพอกบริเวณที่เป็น (ต้น)
25.ใช้รักษาฝีประคำร้อย ด้วยการใช้ยานี้ผึ่งให้แห้งในที่ร่ม เผาให้เป็นถ่าน บดให้เป็นผงผสมกับไขหมู แล้วชะล้างบาดแผลให้สะอาดและเช็ดให้แห้ง แล้วเอายานี้มาพอกวันละ 3 ครั้ง (ต้น)
26.ใช้รักษาแผลจากแมลงกัดต่อย ด้วยการใช้น้ำคั้นจากต้นนำมาทาบริเวณที่ถูกกัด (ต้น)
27.ใช้แก้แผลกลาย มีก้อนเนื้องอก เลือดออกเรื่อย ๆ และแผลลามไปเรื่อย ๆ ด้วยการใช้ต้นนี้ประมาณ 500 กรัม นำมาเผาให้เป็นถ่าน บดเป็นผงผสมกับไขหมูทาบริเวณที่เป็น (ต้น)
28.เนื่องจากพืชชนิดนี้จะมีสารที่เป็นเมือกอยู่ภายในต้น ใช้ทาภายนอกเป็นยาแก้อาการอักเสบและแผลต่าง ๆ ได้ (ใบ)
 

การเก็บมาใช้ : ให้เก็บในระยะที่ใบและต้นเจริญงอกงามดีและกำลังออกดอก เช่น ในช่วงฤดูฝน ฤดูหนาว และให้เก็บในวันที่ไม่มีฝน โดยตัดมาทั้งต้น ล้างน้ำให้สะอาด ลวกน้ำร้อนแล้วรีบเอาขึ้นมาแช่ในน้ำเย็น เอาขึ้นมาผึ่งให้สะเด็ดน้ำ แล้วนำไปตากแห้งบนเสื่อเก็บเอาไว้ใช้ หรือนำมานึ่งแล้วใช้ได้เลย หรือจะใช้สดเลยก็ได้

ขนาดและวิธีใช้ : การใช้ตาม ให้นำใบผักเบี้ยใหญ่ตากแห้ง 1 กำมือ นำมาชงกับน้ำร้อนดื่มก่อนอาหารเช้าและเย็น ส่วนการใช้ตาม ให้ใช้ต้นแห้งประมาณ 10-15 กรัม ถ้าสดให้ใช้ 60-120 กรัม นำมาต้มเอาน้ำหรือคั้นเอาน้ำกิน ส่วนการนำมาใช้ภายนอก ให้นำมาผิงไฟให้แห้งแล้วบดให้เป็นผงผสมกับน้ำทา หรือจะต้มเอาน้ำใช้ชะล้างบริเวณที่เป็นก็ได้


ข้อควรระวัง

1.สตรีมีครรภ์ไม่ควรใช้ เนื่องจากพบว่า มีฤทธิ์ทำให้กล้ามเนื้อเรียบหดตัว
2.ผู้ป่วยที่เป็นนิ่วในไตจึงควรระวังการใช้ นอกจากนี้ ผักเบี้ยใหญ่ยังมีปริมาณโพแทสเซียมสูง จึงควรระวังการใช้ในผู้ป่วยที่ต้องจำกัดปริมาณโพแทสเซียม เช่น ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่มีภาวะโพแทสเซียมสูง
3.คนธาตุอ่อนท้องเสียง่าย ไม่ควรรับประทาน

 

 

 

 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : ไทยเกษตรศาสตร์ , ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์ , กรมส่งเสริมการเกษตร , อภัยภูเบศร , medthai