อัยการสูงสุดแถลง ดำเนินคดี ทักษิณ ชินวัตร ไม่ต้องกระทำต่อหน้าจำเลย (คลิป)

จากกรณีที่นายเข็มชัย ชุติวงษ์ อัยการสูงสุด ได้เซ็นคำสั่งตั้งคณะทำงานพิจารณาคดีทุจริตปล่อยกู้ธนาคารกรุงไทย กับกลุ่มกฤษดามหานครเเละคดีทุจริตออกกฎหมายแก้ไขค่าสัมปทานโทรศัพท์มือถือและดาวเทียมเป็นภาษีสรรพสามิตในส่วน ของนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่ค้างอยู่ที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ที่ได้สั่งจำหน่ายคดีในส่วนของนายทักษิณ เนื่องจากไม่เดินทางมาศาลและถูกออกหมายจับ ไว้ ตามพ.ร.บ.ประกอบว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองฉบับใหม่ ที่มีผลบังคับใช้เมื่อ ก.ย.60 ที่สามารถพิจารณาคดีลับหลังโดยไม่มีตัวจำเลยได้

อัยการสูงสุดแถลง ดำเนินคดี ทักษิณ ชินวัตร ไม่ต้องกระทำต่อหน้าจำเลย (คลิป)

วันนี้ (21 พฤศจิกายน 2560 เวลา 09.45 น.) พนักงานอัยการสำนักงานคดีพิเศษและพนักงานอัยการสำนักงานคดีปราบปรามการทุจริตได้ดำเนินการยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ให้ดำเนินกระบวนการพิจารณาคดีต่อไปโดยไม่ต้องกระทำต่อหน้า นาย ทักษิณ ชินวัตร จำเลย ตามกฎหมายใหม่

ได้มีการตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ.2560 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแตาวันที่ 29 ก.ย.2560 โดยมาตรา 28 ของพระราชบัญญัติ ดังกล่าว ได้บัญญัติสาระสำคัญว่า "ในกรณีที่ศาลประทับรับฟ้องไว้ตาม มาตรา 27 ศาลได้ส่งหมายเรียกและสำเนาฟ้องให้จำเลยทราบโดยชอบแต่จำเลยไม่มาศาล ให้ศาลออกหมายจับจำเลยและผู้หน้าที่เกี่ยวข้องติดตามหรือจับกุมจำเลย รายงานผลการติดตามจับกุมเป็นระยะตามที่ศาลกำหนด แต่ถ้าไม่สามารถจับกุมจำเลยได้ภายใน 3 เดือน นับตั้งแต่ออกหมายจับ ให้ศาลมีอำนาจพิจารณาคดีโดยไม่ต้องกระทำต่อหน้าจำเลย แต่ไม่ตัดสิทธิจำเลยที่จะตั้งทนายความมาดำเนินการแทนตนได้ และไม่ตัดสิทธิจำเลยที่จะมาต่อสู้คดีเมื่อใดก็ได้ ก่อนศาลจะมีคำพิพากษา"
สืบเนื่องมาจากบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว อัยการสูงสุดได้มีคำสั่งที่ 1621/2560 ลงวันที่ 27 ต.ค.2560 แต่ตั้งคณะทำงานพิจารณาสำนวนคดีที่ดำเนินการโดยคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ สำนวนที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติดำเนินการต่อคำสั่งดังกล่าวมี นานพรศักดิ์ ศรีณรงค์ รองอัยการสูงสุด เป็นหัวหน้าคณะทำงาน โดยมีอำนาจหน้าที่พิจารณาสำนวนคดีมี่ดำเนินการโดยคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐและสำนวนคดีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติกระทำต่อเพื่อเสนอให้อัยการสูงสุดพิจารณา


ต่อมา วันที่ 7 พ.ย. 2560 คณะทำงานตามคำสั่งข้างต้น ได้ประชุมและดำเนินการตรวจสอบแล้วพบว่า มีคดีที่เกี่ยวข้องอันมีลักษณะที่ต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ.2560 มาตรา28 รวม2คดี ซึ่งทั้ง2คดีได้มีการยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งการเมือง ดังนี้
1.คดีหมายเลขดำ อม.9/2551/คดีหมายเลขแดงที่ อม.5/2551 คดีระกว่าง อัยการสูงสุด โจทย์ พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร จำเลย ข้อหา เจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทที่รับสัมปทานหรือเข้าเป็นคู่สัญญาในลักษณะดังกล่าว เป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่จัดการ หรือดูแลกิจการใดเข้าไปมีส่วนได้เสียเพื่อประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่น เนื่องด้วยกิจการนั้น เป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรืและเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต

 

 

 

 

อัยการสูงสุดแถลง ดำเนินคดี ทักษิณ ชินวัตร ไม่ต้องกระทำต่อหน้าจำเลย (คลิป)

คดีดังกล่าว อัยการสูงสุดได้ยื่นฟ้องนายทักษิณ ชินวัตร ต่อศาลผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือว เมื่อวันที่11 ก.ค.2551 เป็นการดำเนินตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการพิจารณาคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ.2542 เป็นกฎหมายที่บังคับใช้ขณะนั้น ศาลมีคำสั่งประทับรับฟ้องไว้พิจารณา เมื่อวันที่ 1 ก.ย.2551 และนัดพิจารณาคดีครั้งแรกในวันที่ 5 ต.ค.2551 ปรากฎว่าจำเลยได้รับหมายเรียกแล้วไม่มา พฤติการณ์มีเหตุควรสงสัยว่าจำเลยจะหลบหนีจึงออกหมายจับจำเลยและจำหน่ายคดีออกจากสาระบบความชั่วคราว
2. คดีหมายเลขดำที่ อม.3/2555 คดีหมายเลขแดงที่ อม.55/2558 คดีระหว่างอัยการสูงสุด โจทย์ พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร ที่1 กับพวกรวม27คน จำเลย ข้อหา เป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่จัดหรือดูแลกิจการใดเข้ามีส่วนได้เสียเพื่อประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่น ร่วมกันปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตหรือโดยมิชอบ เป็นกรรมการผู้จัดการหรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินการของธนาคารกรุงไทยจำกัด (มหาชน) ร่วมการกระทำความผิดหน้าที่ของตนโดยทุจริต จนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินของธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และประชาชน เเละเปฌนพนักงานในองค์กรหรือหน่วยงานของรัญมีหน้าที่จัดการทรัพย์ร่วมกันใช้อำนาจหน้าที่โดยทุจริตอันเป็นเสียหายต่อธนาคารกรุงไทย และปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด ร่วมกันสนับสนุนเจ้าพนักงาน พนักงานองค์กรของรัญกระทำความผิด ยักยอกทรัพย์ และเป็นผู้มีอาชีพหรือธุรกิจอันย่อมเป็นที่ไว้ใจของประชาชนรับมอบหมานให้จัดการทรัพย์สิน กระทำผิดหน้าที่ของตนโดยทุจริต เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินของผู้นั้น
คดีดังกล่าว พนักงานยื่นฟ้องไปเมื่อวันที่ 13 มิ.ย.2555 เป็นการดำเนินการพิจารณาตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. 2542 ซึ่งเป็นกฏหมายที่บังคับใช้ขณะนั้น ศาลได้พิจารณาแล้วตั้งแต่ 1 ก.ค.2555 นัดพิจารณาครั้งแรก 11 ตุลาคม 2555 แต่รายทักษิณ ชินวัตร จำเลยที่1 ไม่มาศาล ศาลจึงมีคำสั่งในวันเดียวกันว่า จำเลยที่1 ทราบนัดโดยชอบแล้วไม่มาศาล พฤติกรรมสงสัยว่าจำเลยที่1จะหลบหนีจึงออกหมายจับ จำเลยที่1และให้จำหน่ายคดีในส่วนจำเลยที่1ชั่วคราว
คณะทำงานร่วมกันประชุมพิจารณา มีความเห็นว่าทั้ง2คดีดังกล่าวมีลักษณะต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ.2560 มาตรา28 จึงเสนออัยการสูงสุดให้มีคำร้องขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มีคำสั่งยกเลิกคำสั่งจำหน่ายคดีชั่วคราวและมีคำสั่งให้มีการดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป โดยไม่ต้องกระทำต่อหน้าจำเลย ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาต่อไป โดยไม่ต้องกระทำต่อหน้าจำเลย ทั้งนี้ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ.2560 มาตรา 28 ประกอบบทเฉพาะกาล มาตรา 68 และ 70
อัยการสูงสุดได้พิจารณา เห็นพ้องตามที่คณะกรรมการเสนอ มอบอำนาจให้พนักงานอัยการสำนักงานคดีพิเศษและพนักงานอัยการสำนักงานคดีปราบปรามการทุจริต ยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาแผนคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองให้มีคำสั่งยกเลิกจำหน่ายคดีชั่วคราวและมีคำสั่งให้ดำเนินกระบวนการพิจารณาต่อไปโดยไม่ต้องกระทำต่อหน้าจำเลย ซึ่งพนักงานอัยการสำนักงานคดีพิเศษและพนักงานอัยการสำนักงานปราบปรามการทุจริตได้ดำเนิรการยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาแผนกึดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเรียบร้อนแล้วในวันนี้


สำนักงานอัยการสูงสุด ขอชี้แจงว่าการยื่นคำร้องต่อศาลทั้ง2คดีดังกล่าว สืบเนื่องจากประกาศใช้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญด้วยวิธีพิจารณาความอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ.2560 (กฎหมายปัจจุบัน)  โดยคดีทั้ง2อัยการสูงสุดได้ยื่นฟ้องนายทักษิณ ชินวัตรต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ไว้แล้วตั้งแต่ปี 2551และปี2555ตามลำดับ ศาลได้ประทัยรับฟ้องทั้ง2ไว้แล้วเพียงแต่ไม่อาจดำเนินกระบวนพิจารณาในส่วนของนายทักษิณ ชินวัตร ต่อไปได้ เนื่องจากจำเลยไม่ได้อยู่ต่อหน้าศาลเมื่อมีการตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพอจารณาความอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ.2560 มาตรา28 ประกอบบทเฉพาะกาล มาตรา 69และ70 ขึ้นมาให้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองดำเนินกระบวนพิจารณาคดีต่อไปโดยไม่ต้องกระทำต่อหน้าจำเลย สำนักงานอัยการสูงสุดซึ่งเป็นหน่วยบังคับใช้กฎหมายจึงจำต้องยื่นคำร้องในครั้งนี้ อันเป็นการปฎิบัติตามบทบัญญัติกฏหมายที่ตรงขึ้น