ข่าวดี มาเป็นระลอก ลุ้นส่งออกทั้งปีโต 9-10%

10 เดือนแรกโต 9.7% ติดตามเพจ Richman can do

10 เดือนแรกโต 9.7% ติดตามเพจ Richman can do

ข่าวดี มาเป็นระลอก ลุ้นส่งออกทั้งปีโต 9-10%

พาณิชย์ เผยส่งออก ต.ค. 60 โต 13.1% ส่วน 10 เดือนโต 9.7%  มั่นใจทั้งปีโตเกิน 8% แย้มมีลุ้นโตถึงระดับ 9-10% ส่วนปีหน้าคาดโตอย่างต่ำ 5% พร้อมจับตาดบ.สหรัฐฯเป็นตัวแปรสำคัญ เหตุมีผลต่อค่าเงินบาท  ฟากนำเข้าต.ค. 60 โต 13.5% -  10 เดือนโต 14.6%  หนุนดุลการค้า ต.ค.เกินดุล 214.4 ล้านดอลล์ ส่วน 10 เดือนเกินดุล 12,445.8 ล้านดอลลาร์  ชี้บาทแข็งค่าช่วงนี้แค่ผันผวนระยะสั้น  ยันไม่กระทบส่งออกปีนี้ มั่นใจไม่หลุด 32 บ./ดอลล์  

สำนักข่าว อีไฟแนนซ์ ระบุว่า พิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า การส่งออกในเดือนตุลาคม 2560 มีมูลค่า 20.1 พันล้านดอลลาร์ ขยายตัว 13.1% ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8 ขณะที่ 10 เดือน (มกราคม-ตุลาคม) ส่งออกมีมูลค่า 195,518 ล้านดอลลาร์ ขยายตัว 9.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นอัตราสูงสุดในรอบ 6 ปี ทั้งนี้ ยืนยันว่า ในปี 2560 การส่งออกจะเติบโตมากกว่า 8% อย่างแน่นอน และจะเดินหน้ากระตุ้นให้ให้การส่งออกปีนี้โตได้ถึง 9-10%  

ข่าวดี มาเป็นระลอก ลุ้นส่งออกทั้งปีโต 9-10%

 การส่งออกในเดือนต.ค.60 ขยายตัวได้ดีในทุกตลาดสำคัญ โดยเฉพาะตลาดเอเชียใต้ สหภาพยุโรป และจีน ในขณะที่การส่งออกรายสินค้ามีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยกลุ่มสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมขยายตัวในระดับสูงต่อเนื่อง โดยเฉพาะยางพาราและผลิตภัณฑ์, ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง, อาหารทะเลแช่แข็งและแปรรูป, ผักผลไม้สดแช่แข็ง กระป๋อง และแปรรูป, ไก่สดแช่แข็งและแปรรูป  
สำหรับตัวเลขนำเข้าในเดือนตุลาคมที่ผ่านมามีมูลค่า 19,869 ล้านดอลลาร์ ขยายตัว 13.5% และ 10 เดือน นำเข้ามีมูลค่า 183,073 ล้านดอลลาร์ ขยายตัว 14.6% ส่งผลให้ดุลการค้าตุลาคมเกินดุล 214 ล้านดอลลาร์ ด้าน 10 เดือน ดุลการค้าเกินดุล 12,445 ล้านดอลลาร์  
 “ตอนนี้เรามั่นใจว่าทั้งปีจะเกิน 8% อย่างแน่นอน ก็พยายามลุ้นให้ได้ 9-10% ในปีนี้ โดยมองว่า การส่งออกในช่วงที่เหลือของปีนี้ จะขยายตัวดีต่อเนื่อง โดยเฉพาะการส่งออกยางพาราและผลิตภัณฑ์ น้ำมัน อาหารทะเลแช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป โดยมีปัจจัยสำคัญจากการฟื้นตัวของปริมาณการค้าโลก และราคาน้ำมันดิบ แต่ทั้งนี้ ยังมีปัจจัยกดดันจากการแข็งค่าของเงินบาท ที่คาดว่าจะผ่อนคลายบ้างในช่วงที่เหลือของปีนี้ และมองว่า ค่าเงินบาทแข็งค่าจะเป็นความผันผวนระยะสั้นเท่านั้น โดยยืนยันว่า ปัจจัยดังกล่าวจะไม่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกปีนี้แน่นอน และขอให้ผู้ประกอบการยังต้องทำประกันความเสี่ยงเพื่อรองรับความผันผวนที่จะเกิดขึ้นด้วย”พิมพ์ชนก กล่าว  

ข่าวดี มาเป็นระลอก ลุ้นส่งออกทั้งปีโต 9-10% \

 แม้ว่าการส่งออกในช่วงที่เหลือของปีนี้จะขยายตัวดี แต่ยังมีปัจจัยที่ต้องจับตามอง ทั้งแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ หรือ เฟด ความไม่แน่นอนของนโยบายการค้าของประเทศคู่ค้าหลัก รวมถึงนโยบายการค้าของสหรัฐ ปัญหาความตึงเครียดภูมิรัฐศาสตร์เป็นต้น  
อย่างไรก็ตาม มองว่า การส่งออกของไทยในปีนี้ต่อเนื่องถึงปี 2561 จะเติบโตได้อย่างแข็งแกร่ง สะท้อนได้จากตัวเลขปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าสำคัญ นำโดยเศรษฐกิจสหรัฐ ที่ขยายตัวต่อเนื่องและแข็งแกร่งจากตลาดแรงงาน เศรษฐกิจจีนที่ยังคงเติบโตได้ดีอย่างมีเสถียรภาพ และเศรษฐกิจญี่ปุ่นที่ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องจากการส่งออก ประกอบกับการฟื้นตัวของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ รวมถึงสถานการณ์ราคาน้ำมันที่เริ่มอยู่ในระดับที่มีเสถียรภาพจากการปรับตัวเข้าสู่สมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทานน้ำมัน  
“เราอย่าไปยึดติดตัวเลข เพราะเราดูแลเราพอใจ เรามองว่า สินค้าบางกลุ่มเรากลับมาเทิร์นอะราวด์ได้ โดยอยากให้มองมูลค่ามากกว่า ซึ่งหากปีหน้าเรายังส่งออกได้ 19,000-20,000 ล้านดอลลาร์ต่อเดือนก็ถือว่าพอใจแล้ว และสำหรับปีหน้านั้นก็จะมีฐานสูงจากปีนี้ก็มองว่าเป็นเรื่องธรรมดา และปีนี้เราเชื่อว่า หาก 2 เดือนที่เหลือ ส่งออกมีมูลค่าต่อเดือนถึง 20,000 ล้านดอลลาร์ ก็มีโอกาสจะทำให้ทั้งปีส่งออกเติบโตถึง 10% ได้”พิมพ์ชนก กล่าว  

ข่าวดี มาเป็นระลอก ลุ้นส่งออกทั้งปีโต 9-10%

 ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ ยืนยันว่า ขณะนี้ได้วางแผนการส่งออกและเป้าหมายการส่งออกปี 2561 เรียบร้อยแล้ว แต่ยังไม่สามารถเปิดเผยได้ เนื่องจากต้องขอติดตามอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐในเดือนธันวาคมนี้ว่าจะเป็นแรงกดดันค่าเงินบาทหรือไม่ อย่างไรก็ตาม มองว่า ค่าเงินบาทมีโอกาสแข็งค่าขึ้น เพราะมีกระแสเงินทุนต่างชาติไหลเข้ามาต่อเนื่อง ประกอบกับดุลบัญชีเดินสะพัดยังเกินดุลในระดับสูง อย่างไรก็ตาม มองว่า ความไม่แน่นอนของนโยบายทางการค้าของประเทศคู่ค้าหลัก  
 “เบื้องต้นเราประเมินว่า ส่งออกปี 2561 โตอย่างน้อยคือเกิน 5% อย่างแน่นอน แต่ว่าจะเติบโตเท่าไหร่นั้น ขอติดตามตัวเลขอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐก่อนว่าจะออกมาเป็นอย่างไร เนื่องจากอาจจะมีผลต่อการส่งออก อัตราแลกเปลี่ยน และราคาสินค้าโภคภัณฑ์ได้ ขณะที่บาทในช่วงนี้ที่มีกระแสข่าวว่า ผู้ประกอบการกังวลกับค่าเงินบาทนั้น มองว่า ค่าเงินบาทจะไม่หลุดเกินกว่า 32 บาทต่อดอลลาร์อย่างแน่นอน”พิมพ์ชนก กล่าว