ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

ผู้สื่อข่าวรายงานจากจังหวัดตรังว่า นายสถาพร เพ่งพิศ ครูแกนนำหมวดวิชาวิทยาศาสตร์ โรงเรียนวิเชียรมาตุ กล่าวว่า  คณะครูได้ร่วมกับคณะนักเรียน ซึ่งนำโดย นายธีรพนธ์ จริงจิตร รุ่นพี่ชั้น ม.6 ร่วมกันคิดค้นเพื่อสร้างเอกลักษณ์หรือจุดเด่นให้กับหุ่นยนต์  ด้วยการนำมโนราห์ หรือโนรา ศิลปะการแสดงชื่อดังของภาคใต้ มาประยุกต์เข้าด้วยกัน ทั้งในส่วนของท่ารำ และเครื่องแต่งกาย  ขณะเดียวกัน ยังนำนักเรียนที่มีความสามารถด้านการรำมโนราห์ มาแสดงคู่กับหุ่นยนต์ด้วย  ซึ่งได้ทำให้คนรุ่นใหม่เกิดความสนใจในเรื่องหุ่นยนต์ และรักวัฒนธรรมถิ่นใต้มากขึ้น

หุ่นยนต์มโนราห์..!! การผสมผสานที่ลงตัวของเทคโนโลยีและวัฒนธรรม จากความคิดสร้างสรรค์ของครู-นร. ร.ร.วิเชียรมาตุ

            สำหรับการผลิตหุ่นยนต์มโนราห์นั้น ในช่วงแรกมีต้นทุนสูงถึงตัวละ 16,000-17,000 บาท โดยเฉพาะตัวสมองกลที่มีราคาถึงชุดละ 4,000 กว่าบาท  ดังนั้น คณะครูและนักเรียนจึงได้นำเศษวัสดุมาใช้ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง เช่น หลอดกาแฟ กระป๋องนม เศษยาง  ปรากฎว่า ทำให้ต้นทุนของหุ่นยนต์เหลือแค่ตัวละ 2,000 บาทเท่านั้น เนื่องจากในช่วงหลังต้วสมองกลเองก็มีราคาลดลงเหลือแค่ชุดละ 1,000 กว่าบาท  ซึ่งในอนาคตจะมีการนำอุปกรณ์ในของเล่นเด็กมาพัฒนาใช้แทนสมองกล โดยไม่ต้องไปซื้อหาอีกแล้วด้วย

หุ่นยนต์มโนราห์..!! การผสมผสานที่ลงตัวของเทคโนโลยีและวัฒนธรรม จากความคิดสร้างสรรค์ของครู-นร. ร.ร.วิเชียรมาตุ

                        ส่วนเครื่องแต่งกายมโนราห์ ก็เป็นการประยุกต์โดยนักเรียนในชมรมหุ่นยนต์ ที่มีความสามารถในการร้อยลูกปัด หรือร่ายรำอยู่แล้ว  เนื่องจากบางคนมีเชื้อสายของมโนราห์ชื่อดัง อาทิ โนราเติม เมืองตรัง พร้อมทั้งยังมีความสามารถในการเขียนโปรแกรม 12 ท่ารำแบบโบราณด้วย  โดยใช้การควบคุมหุ่นยนต์ใน 2 ระบบ คือ ระบบอัตโนมัติ เพื่อให้รำด้วยตนเอง และระบบควบคุมด้วยมือ ผ่านบลูทูธในโทรศัพท์มือถือ  เพื่อให้หุ่นยนต์รำมโนราห์ใกล้เคียงกับมนุษย์ให้มากที่สุด จนนับเป็นความผสมสนานของเทคโนโลยีและวัฒนธรรมอย่างลงตัว

 

หุ่นยนต์มโนราห์..!! การผสมผสานที่ลงตัวของเทคโนโลยีและวัฒนธรรม จากความคิดสร้างสรรค์ของครู-นร. ร.ร.วิเชียรมาตุ

ภาพ/ข่าว ถนอมศักดิ์ หนูนุ่ม ผู้สื่อข่าวภูมิภาค สำนักข่าวทีนิวส์ จังหวัดตรัง