ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

     ที่ห้องประชุมโรงเรียนมัธยมสิริวัณวลี 3 ฉะเชิงเทรา  ตำบลคลองตะเกรา อ.ท่าตะเกียบ   นายสุวิทย์  คำดี  ผวจ.ฉะเชิงเทรา  เป็นประธานการประชุม เพื่อติดตามการแก้ไขปัญหาช้างจากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน  ออกมาหากินนอกพื้นที่จนสร้างผลกระทบและความเดือดร้อนกับประชาชนในอำเภอท่าตะเกียบ และอำเภอสนามชัยเขต โดยมี นายกิตติพันธ์   โรจนชีวะ รอง ผวจ.ฉะเชิงเทรา  นายอยู่  เสนาธรรม  ผอ.สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่  2 ศรีราชา  นายเดชา   นิลวิเชียร หน.เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน   นางอาภรณ์  ใหม่มงคล นายอำเภอสนามชัยเขต  นางสาวกมลชญา  ประเสริฐสิน นายอำเภอท่าตะเกียบ ร.ท.เดชสิทธิ์  ดำดง รอง ผบ.ร้อย ทพ. 1306 (หนองคอก)  ร.ท. มรกต  แก้วกล้า หน.ชุดรักษาความสงบเรียบร้อยอำเภอท่าตะเกียบ  นายสนั่น  คูคำ นายก อบต.คลองตะเกรา  นายสาโรจน์  ลายสุวรรณ กำนันตำบลคลองตะเกรา กำนันสมจิตร  สาธุชาติ กำนันตำบลท่าตะเกียบ  พร้อมด้วย ผู้ใหญ่บ้าน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม  โดยใช้เวลาประชุมราว 2 ชม.  
   จากนั้น นายสุวิทย์  คำดี และคณะผู้เข้าร่วมประชุม  ลงพื้นที่แนวคูกันช้าง  บ้านอ่างเสือดำ  ม. 7  ต. ท่าตะเกียบ  เพื่อตรวจติดตามการดำเนินการก่อสร้างรั้วเสาไฟฟ้ากั้นช้างแบบกึ่งถาวร   โดยมีนายธวัชชัย  วิจิตรวงษ์ ผอ.สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่  9 สาขาปราจีนบุรี และนายทศพร  ธนะโสภณ   ผู้จัดการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคฉะเชิงเทราคอยให้การต้อนรับ และอธิบายการดำเนินการก่อสร้างรั้วกันช้าง

  ปิดช่องทางเข้า-ออก!! ผวจ.แปดริ้ว ลงพื้นที่แก้ปัญหาช้างป่า ระยะยาวปิดช่องว่างระหว่างคูกั้นช้างด้วยรั้วไฟฟ้า..!? (ชมคลิป)

ปิดช่องทางเข้า-ออก!! ผวจ.แปดริ้ว ลงพื้นที่แก้ปัญหาช้างป่า ระยะยาวปิดช่องว่างระหว่างคูกั้นช้างด้วยรั้วไฟฟ้า..!? (ชมคลิป)

ปิดช่องทางเข้า-ออก!! ผวจ.แปดริ้ว ลงพื้นที่แก้ปัญหาช้างป่า ระยะยาวปิดช่องว่างระหว่างคูกั้นช้างด้วยรั้วไฟฟ้า..!? (ชมคลิป)

    นายสุวิทย์  คำดี  ผวจ.ฉะเชิงเทรา  เปิดเผยว่า   ที่ผ่านมาได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งส่วนของอำเภอสนามชัยเขต อำเภอท่าตะเกียบ    เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน เจ้าหน้าที่ป่าไม้  กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำท้องถิ่น ตลอดจนจิตอาสาอาสา  ตั้งชุดเฝ้าระวังติดตามผลัดดัน  โดยเฉพาะมุ่งเน้นการป้องกันช้างป่าไม่ให้เข้าไปทำลายพืชผลทางการเกษตรโดยเฉพาะนาข้าว หรือเข้าไปใกล้ชุมชน ซึ่งก็ได้ผลในระดับที่น่าพอใจ  แต่เนื่องจากช้างป่าซึ่งเดิมมีจำนวนมากอยู่แล้ว เกิดเรียนรู้พฤติกรรมของคน  จึงกระจายออกเป็นกลุ่มเล็ก กลุ่มละ 10 – 30 ตัว แยกกันออกหากิน ซึ่งเจ้าหน้าที่ก็ต้องปรับแผนการทำงาน ซึ่งต้องเพิ่มจำนวนชุดเฝ้าระวังติดตามมากขึ้น ด้วย จึงสั่งการให้อำเภอทั้งสองอำเภอ ได้ฝึกทักษะและวิธีการผลักดันหรือไล่ต้อนช้าง แก่เจ้าหน้าที่ในแต่ละชุด  เพื่อเพิ่มความเข้มและเน้นความปลอดภัยทั้งฝ่ายของเจ้าหน้าที่และช้างป่า ที่อาจจะประจันหน้ากัน   นอกจากนี้ยังสั่งการให้ปศุสัตว์จังหวัด  จัดทำโครงการ การเลี้ยง โค กระบือให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ ที่สนใจ โดยจัดตั้งเป็นกลุ่มขึ้นมา  ซึ่งนอกจากจะสร้างรายได้มากขึ้นมากกว่าการเกษตรแล้ว ยังเป็นการเปลี่ยนพื้นที่การเกษตร ที่มีผลผลิตที่เป็นอาหารช้างป่า  เป็นการเลี้ยงสัตว์แทน 

  ปิดช่องทางเข้า-ออก!! ผวจ.แปดริ้ว ลงพื้นที่แก้ปัญหาช้างป่า ระยะยาวปิดช่องว่างระหว่างคูกั้นช้างด้วยรั้วไฟฟ้า..!? (ชมคลิป)

ปิดช่องทางเข้า-ออก!! ผวจ.แปดริ้ว ลงพื้นที่แก้ปัญหาช้างป่า ระยะยาวปิดช่องว่างระหว่างคูกั้นช้างด้วยรั้วไฟฟ้า..!? (ชมคลิป)

ปิดช่องทางเข้า-ออก!! ผวจ.แปดริ้ว ลงพื้นที่แก้ปัญหาช้างป่า ระยะยาวปิดช่องว่างระหว่างคูกั้นช้างด้วยรั้วไฟฟ้า..!? (ชมคลิป)

         นายสุวิทย์  คำดี ผวจ.ฉะเชิงเทรา กล่าวด้วยว่า   ส่วนการแก้ปัญหาระยะยาวเนื่องจากคูกันช้างในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา มีระยะทางถึง 163  กม.และมีจุดเข้าออกของช้างป่าจำนวนมาก หากนำมาประติดประต่อกันจะรวมเป็นระยะทางถึง 17 กม.  ก็จะดำเนินการ สร้างรั้วกันช้างในจุดที่เป็นทางเข้าออกของช้างป่าเป็นประจำ  เป็นเสาไฟฟ้าคอนกรีตอัดแรง ขนาดความหนา  1 ฟุต สูง 6 เมตร   ขุดฝังดิน 2.5 เมตร สูงจากพื้นที่ดิน 3.5 เมตร แต่ละช่วงมีความห่างกัน 3.5 เมตร  แล้วนำเหล็กข้ออ้อย มาร้อยเชื่อมติดกับเสา ห่างกันช่วงละประมาณ 80 ซม. ขณะนี้การไฟฟ้าฉะเชิงเทราได้สนับสนุนเสาไฟฟ้า จำนวน 40 ต้น มาดำเนินการก่อสร้างในจุดที่สุ่มเสี่ยงเสร็จเรียบร้อยแล้ว และในอนาคตจะจัดหาเสาไฟฟ้ามาสนับสนุนอีกจำนวน 100 ต้น โดยจัดไปให้อำเภอสนามชัยเขตและอำเภอท่าตะเกียบอำเภอละ 50 ต้น ส่วนเหล็กข้ออ้อยและการดำเนินการก่อสร้าง ได้สั่งการให้ อบต.ในพื้นที่ของแต่ละอำเภอ รับไปดำเนินการ   และในปี 2562 กรมอุทยานแห่งขาติสัตว์ป่าและพันธ์พืช ได้ตั้งงบประมาณดำเนินการไว้แล้วและเพื่อให้การก่อสร้างรั้วกันช้างแบบกึ่งถาวร ครอบคลุมไปตามแนวคูกั้นช้างทั้ง 163 กม.ได้รวดเร็วและเพียงพอ จะดำเนินการประชาสัมพันธ์เชิญชวนพี่น้องประชาชน  ตลอดจนห้างหุ้นส่วน ผู้ประกอบการต่างๆ ร่วมกันรับเป็นเจ้าภาพ ในการดำเนินการสร้างรั้วก้นช้างโดยใช้เสาไฟฟ้าคอนกรีตอัดแรงด้วย ส่วนในเรื่องของการสร้างแหล่งน้ำแหล่งอาหารเพิ่มเติมให้ช้างในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไนนั้น ส่วนหนึ่งกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ได้เตรียมพันธุ์พืชที่เหมาะสมไว้แล้วบางส่วน ซึ่งจังหวัดจะจัดหาสนับสนุนเพิ่มเติมให้อีก รวมทั้งการสร้างฝายมีชีวิต ขณะนี้มีผู้บริจาคกระสอบไว้แล้วจำนวน 80,000  กระสอบ  รวมทั้งการจัดสร้างโป่งเทียม ก็ต้องทำควบคู่กันไปด้วย  ซึ่งต้องเร่งดำเนินการอย่างรวดเร็ว ส่วนการผลักดันช้างให้กลับคืนสู่ผืนป่านั้น ขณะนี้ผลผลิตทางการเกษตร โดยเฉพาะนาข้าว เกษตรกรเริ่มเก็บเกี่ยวใกล้จะหมดแล้ว ซึ่งได้ร่วมกันกำหนดทำแผนผลักดันช้างให้กลับเข้าป่าเขาอ่างฤาไน ให้แล้วเสร็จภายใน วันที่ 15  มกราคม นี้

  ปิดช่องทางเข้า-ออก!! ผวจ.แปดริ้ว ลงพื้นที่แก้ปัญหาช้างป่า ระยะยาวปิดช่องว่างระหว่างคูกั้นช้างด้วยรั้วไฟฟ้า..!? (ชมคลิป)

ปิดช่องทางเข้า-ออก!! ผวจ.แปดริ้ว ลงพื้นที่แก้ปัญหาช้างป่า ระยะยาวปิดช่องว่างระหว่างคูกั้นช้างด้วยรั้วไฟฟ้า..!? (ชมคลิป)

ปิดช่องทางเข้า-ออก!! ผวจ.แปดริ้ว ลงพื้นที่แก้ปัญหาช้างป่า ระยะยาวปิดช่องว่างระหว่างคูกั้นช้างด้วยรั้วไฟฟ้า..!? (ชมคลิป)

ข่าว /ภาพ  สุทัสน์  บุญช่วยเหลือ -  ธนพัฒน์ เจียรสถิต  ทีมข่าวเฉพาะกิจ ศูนย์ข่าวทีนิวส์ภาคตะวันออก