" 9 กาฝากมหาเสน่ห์" ...มหาเมตตา มหานิยมแรง หนุนดวง คุ้มกันภยันตราย..เสริมบารมี ค้าขายดี ให้โชคลาภ

บทความความนี้ผู้เขียนขอนำเอาเรื่อง “กาฝากไม้มงคล 9 ชนิด”มาเสนอให้ท่านผู้ชมได้อ่านๆทำความรู้จักกับ กาฝากไม้มงคล 9 ชนิดนี้ไปพร้อมๆกันค่ะ  กาฝากเป็นไม้เลื้อย เนื้อแข็งชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าประหลาดที่ผู้คนต่างก็สงสัยกันว่าเพราะเหตุใดกาฝากจึงเจริญเติบโตงอกงามได้อีกทั้งๆที่นกกาต่างๆได้กินเมล็ดพืชแล้วถ่ายออกมา แต่เมล็ดของกาฝาก ก็ยังสามารถที่จะฝังรากเจริญเติบโตขึ้นเป็นชื่อต้นไม้แต่ละชนิดตามที่กาฝากเกาะติดอยู่ที่นั่น ซึ่งเป็นที่น่าแปลกประหลาดมหัศจรรย์เป็นอย่างมาก

และวันนี้ผู้เขียนก็ได้นำความรู้ทั้งหมดที่ได้จากการสืบค้นหาข้อมูลมาฝากท่านผู้ชมดังนี้ค่ะ

กาฝากมีความหมายตามพจนานุกรมดังนี้
กาฝาก น. ชื่อพรรณไม้หลายชนิดหลายวงศ์ที่อาศัยเกาะดูดน้ำและแร่ธาตุ หรือสารอาหารที่สังเคราะห์แล้วจากพรรณไม้อื่น ส่วนใหญ่มักใช้เรียก ไม้พุ่มที่อาศัยเกาะเบียนไม้ต้นชนิดต่าง ๆ ในวงศ์ Loranthaceae, Santalaceae และ Viscaceae

กาฝาก (parasites) 
กาฝาก (parasites) เป็นพืชที่อาศัยเกาะขึ้นกับพืชอื่น และแย่งอาหารจากพืชที่เกาะอยู่และ บางชนิดก็แย่งอาหารจากพวกกาฝากด้วยกันพืช พวกกาฝากจะมีรากชนิดหนึ่ง เรียกว่า รากเบียน (haustoria) ที่แทงทะลุเปลือกไม้เข้าไปถึงขั้นเยื่อสร้างความเจริญเติบโต (Cambium) ของพืชที่เกาะอาศัยอยู่ พืชกาฝากแบ่งออกเป็น 2 พวก คือ

1.. พวกเบียนลำต้นเป็นพืชในวงศ์ลอแรนทาซิอี (Loranthaceae) ซึ่งมีหลายสกุล และมากมายหลายชนิด พบขึ้นทั่วไปตามต้นไม้ต่างๆ และมักเรียกชื่อตามต้นไม้ที่เกาะเบียนอยู่ เช่น กาฝาก มะม่วง กาฝากก่อตาหมู เป็นต้น 

2.. พวกเบียนราก มีหลายวงศ์ เช่นวงศ์ขนุนดิน (Balanophoraceae) อาศัยเกาะกินรากต้นไม้ป่าชนิดต่างๆ ตัวอย่างเช่น ขนุนดินลำต้นแยกแขนงสั้นๆ ชิดกันเป็นกระปุกใหญ่สีน้ำตาล ผิวขรุขระ ส่วน โหราเท้าสุนัข ซึ่งใช้เป็นสมุนไพรชนิดหนึ่งนั้น ลำต้นแยกแขนงค่อนข้างห่างกัน

วงศ์ดอกดิน (Orobanchaceae) อาศัยเกาะกินอาหารจากรากไผ่

วงศ์บัวผุดRafflesiaceae) ได้แก่ กระโถฤาษี ดอกตูม เป็นก้อนกลมๆ สีขาว เวลาบานจะเห็นภายในสีน้ำหมากประเหลือง กลิ่นไม่ชวนดม

กาฝาก 
กาฝาก (อังกฤษ: parasites) เป็นพืชใบเลี้ยงคู่ในวงศ์ Loranthaceae อันดับ Santalales สกุล Loranthaceae ชื่อไทยว่า "กาฝากของส้มโอ" ชื่อท้องถิ่น เดี้ยงแปงซ่าง(เมี่ยน)มักอาศัยเกาะขึ้นกับพืชอื่น และแย่งอาหารจากพืชที่เกาะอยู่และ บางชนิดก็แย่งอาหารจากพวกกาฝากด้วยกันพืช กาฝากต้องพึ่งพาต้นไม้อื่นในการดำรงชีวิต เพราะมันไม่สามารถเกาะอยู่บนต้นไม้อื่นเฉยๆแบบกล้วยไม้ ว่านไก่แดง หรือนมตำเรีย ซึ่งเป็นพืชอิงอาศัย (epiphyte) แต่มันจะต้องแทงรากเข้าไปในท่อลำเลียงน้ำและแร่ธาตุของต้นไม้อื่นนั้น เพื่อแย่งเอามาเป็นอาหารของมัน เพราะกาฝากเป็นพืชเบียน (parasite) บนคาคบไม้ จึงแตกต่างจากกล้วยไม้และพืชอิงอาศัยอื่น ๆ

กาฝาก


ลักษณะต้น
กาฝากเป็นพืชที่มีเนื้อไม้แข็ง มีใบเขียวชอุ่ม และผลัดใบตามฤดูกาล จากลักษณะของลำต้น กาฝากเป็นไม้พุ่มที่มีกิ่งก้านสาขามากมาย มีใบเป็นใบเดี่ยวที่ติดเรียงแบบตรงกันข้าม (opposite)ขอบใบเรียบ เนื้อใบเหนียวหนา บางชนิดมีใบกว้าง แต่บางชนิดมีใบแคบ พวกกาฝากจะมีรากชนิดหนึ่ง เรียกว่า รากเบียน (haustoria) ที่แทงทะลุเปลือกไม้เข้าไปถึงขั้นเยื่อสร้างความเจริญเติบโต (Cambium) ของพืชที่เกาะอาศัยอยู่ พืชกาฝากแบ่งออกเป็น
กาฝากเป็นพืชในวงศ์ลอแรนทาซิอี (Loranthaceae) ซึ่งมีหลายสกุล และมากมายหลายชนิด พบขึ้นทั่วไปตามต้นไม้ต่างๆ และมักเรียกชื่อตามต้นไม้ที่เกาะเบียนอยู่ เช่น กาฝาก มะม่วง กาฝากก่อตาหมู เป็นต้น

กาฝาก

ลักษณะดอก
ดอกกาฝากมีทั้งที่เป็นดอกเดี่ยวและดอกช่อที่ติดกันเป็นกลุ่ม(dichasium) ขึ้นอยู่กับชนิดของกาฝาก เมื่อนำดอกกาฝากมาพิจารณาดู จะเห็นว่า ดอกกาฝากมีกลีบเรียงเป็น 2 วงชั้น กลีบใน (petal) มี 2-3 กลีบ กลีบนอก (sepal) มี 2-3 กลีบเช่นกัน


ลักษณะผล
ผลของกาฝากมักมีสีขาว มีเปลือกเหนียว หรือแข็ง ภายในมีเมล็ดเพียงเมล็ดเดียว ซึ่งมีเมือกเหนียวๆห่อหุ้มไว้ เมือกเหนียวๆ นี้เองที่ทำให้เมล็ดกาฝากเกาะติดอยู่บนกิ่งไม้ได้นานๆและเหนียวแน่น จนกว่าจะงอกเป็นต้นกาฝากเล็กๆ มีรากเจาะดูด (haustoria) แทงเข้าไปในท่อลำเลียงน้ำและแร่ธาตุของต้นไม้ได้

กาฝาก


การแพร่พันธุ์
เมล็ดกาฝากไม่สามารถแพร่พันธุ์ได้เอง ถ้าหากผลสุกจนแก่จัด จะร่วงหล่นลงสู่พื้นดิน ถึงจะร่วงหล่นลงบนกิ่งไม้บ้าง แต่ผลนั้นยังมีเนื้อผลไม้หุ้มเมล็ดอยู่ จึงไม่มีวันที่เมล็ดกาฝากจะไปติดอยู่ตามกิ่งไม้ต่างๆได้เลย นอกจากจะอาศัยนกเท่านั้น เพราะนกจะกินผลกาฝากเข้าไปเป็นอาหาร แล้วถ่ายเมล็ดกาฝากออกมาพร้อมกับมูลของมัน นกที่ช่วยแพร่พันธุ์ให้กับต้นกาฝาก คือ นกกาฝาก (Flowerpeckers) เนื่องจากเมล็ดกาฝากมียางเหนียวๆหุ้มอยู่ จึงติดอยู่ที่ปากของนก ทำให้นกเกิดความรำคาญ ต้องเอาปากไปเช็ดกับกิ่งไม้ที่มันเกาะ จนเมล็ดกาฝากติดอยู่กับกิ่งไม้ แล้วงอกงามเป็นต้นกาฝากเกาะกินต้นไม้นั้นในเวลาต่อมา ในขณะที่นกเหล่านี้สอดจะงอยปากเข้าไปดูดกินน้ำหวานในกรวยดอกกาฝาก ละอองเกสรตัวผู้จะติดตามปากและขนบริเวณหน้าผากของนก เมื่อนกเหล่านี้สอดจะงอยปากเข้าไปดูดกินน้ำหวานในดอกกาฝากดอกอื่น ละอองเกสรตัวผู้จึงร่วงหล่นและผสมกับเกสรตัวเมียในดอกกาฝากดอกนั้น ทำให้กาฝากต้นนั้นติดผลได้ ในทางชีววิทยาถือว่าเป็นการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันระหว่างนกกับต้นกาฝากแบบชั่วคราวค่ะ

แต่ทั้งนี้กาฝากที่เกิดขึ้นอยู่บนต้นไม้ทั่วไปนั้นถือว่าเป็นสิ่งที่หาได้ง่าย หากแต่ว่ากาฝากที่เกิดขึ้นบนไม้มงคลนั้นถือ่าเป็นเรื่องที่ยากยิ่ง ซึ่งที่ต้องออกปากว่ายากกว่านั้น ก็คือการเสาะหารวบรวมเอากาฝากที่เกิดกับไม้มงคลถึง ๙ ชนิด มาไว้ด้วยกันนั่นเองค่ะท่านผู้ชม

สรุปโดยรวมกาฝากไม้มงคลตามตำราโบราณ 9 ชนิดมีดังนี้ค่ะ

1.กาฝากรักซ้อน

กาฝาก

2.กาฝากมะรุม

กาฝาก

3.กาฝากมะยม

กาฝาก

4.กาฝากมะขาม

กาฝาก

5.กาฝากกาหลง

กาฝาก

6.กาฝากขนุน

กาฝาก

7.กาฝากยอ

กาฝาก

8.กาฝากพยุง

กาฝาก

9.กาฝากคูณ

กาฝาก

**อิทธิคุณของกาฝากไม้มงคล 9 ชนิด** โบราณว่าไม้มงคลที่เกิดกาฝากเกาะนั้นจะมีนางไม้หรือรุกขเทวดาอยู่ จึงเป็นที่เชื่อถือกันหนักหนาในหมู่พ่อค้าวาณิชและคหบดีเศรษฐีแต่โบราณถึงอิทธิคุณของกาฝากไม้มงคล ที่ช่วยนำพาโชคลาภนานัปการ ค้าง่ายขายดีกำไรงามนัก เป็นที่นิยมแก่บุคคลทั้งหลายหลั่งไหลมาหาเรา จะเข้าหาผู้ใดเขาก็เกิดความใหลหลงสงสารเกื้อหนุนเรามิได้ขาด มิได้สิ้นหนทางจนตกต่ำเลย เป็นเสน่ห์เมตตาแก่เราอีกทั้ง เป็นที่คร้ามเกรงแก่บริวารแลผู้ใต้บังคับบัญชา และเป็นที่ยกย่องสง่างาม ยิ่งรวมกันได้ถึง 9 ชนิดก็จะยิ่งทวีความศักดิ์สิทธิ์ โบราณยังนิยมนำไปเป็นมวลสารในการสร้างพระอีกด้วยค่ะ

-จะใช้ติดตัวก็จะบังเกิดสง่าราศีมีเมตตามหาเสน่ห์ เป็นที่รักใครใหลหลง หากค้าขายก็ขายง่ายกำไรงาม เจริญรุ่งเรือง

-จะใช้ติดร้านรวงหรือใส่ในสุ่มไซแขวนประตูร้านก็จะเกิดเป็นที่น่าเข้าน่าซื้อ เกิดความใหลหลง มีโชคลาภในการค้าการขาย ค้าง่ายขายดีมีกำไรงามค่ะ

ขอขอบคุณท่านผู้เป็นเจ้าของเครดิตภาพที่ผู้เขียนได้นำมาจาก (อินเตอร์เน็ต)เพื่อใช้ในการแสดงประกอบเนื้อหาสาระข้อมูลนี้ค่ะ..และขอขอบคุณแหล่งที่มาของภาพและข้อมูลจาก:วิกิพีเดีย, สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 5 ,พลอยพโยม
,พลังจิต,และข้อมูลเพิ่มเติม(บางส่วน)จาก :อินเตอร์เน็ตค่ะ

เรียบเรียงโดย:พัชรพิศุทธิ์  โชติกา พิรักษา และ ศศิภา ศรีจันทร์ ตันสิทธิ์