ตำนานม้าเหล็กแห่งสยาม!! เครื่องราชบรรณาการจากสมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรีย สู่ รถไฟหลวงสายแรกแห่งราชอาณาจักรไทย จากน้ำพระทัยพระพุทธเจ้าหลวง !!

ติดตามเรื่องราวดีๆ อีกมากมายได้ที่ http://www.tnews.co.th

ตำนานม้าเหล็กแห่งสยาม!! เครื่องราชบรรณาการจากสมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรีย สู่ รถไฟหลวงสายแรกแห่งราชอาณาจักรไทย จากน้ำพระทัยพระพุทธเจ้าหลวง !!

           เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๙๘ สมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรีย แห่งเกรตบริเทน โปรดให้ มิสเตอร์แฮรี่ สมิท ปาร์เก็ส (Mr.Harry Smith Parkes) เป็นราชฑูตนำเครื่องราชบรรณาการ มาถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อเป็นการเจริญสัมพันธไมตรี และในจำนวนเครื่องราชบรรณาการนั้น มีรถไฟจำลองย่อส่วนจากของจริง ประกอบด้วยรถจักรไอน้ำ พร้อมรถพ่วงครบขบวน เดินได้เหมือนรถไฟใหญ่ ตามแบบนิยมในสมัยนั้นๆ ด้วย

ตำนานม้าเหล็กแห่งสยาม!! เครื่องราชบรรณาการจากสมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรีย สู่ รถไฟหลวงสายแรกแห่งราชอาณาจักรไทย จากน้ำพระทัยพระพุทธเจ้าหลวง !!

             จากเหตุการณ์ดังกล่าวนี้ จึงทำให้ทางราชสำนักไทยรู้สึกสนใจในรถไฟขึ้นมา พ.ศ. ๒๔๐๐ คณะราชฑูตไทยเดินทางไปเจิรญพระราชไมตรีกับอังกฤษ ระหว่างพำนัก ได้เดินทางโดยรถไฟไปชมสถานที่ต่างๆ ทำให้ตระหนักถึงประโยชน์ของรถไฟ เมื่อกลับมาจึงกราบบังคมทูล ให้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงทราบ จนเกิดความสนพระทัยในเรื่องนี้ แต่ภาวะเศรษฐกิจในขณะนั้นยังไม่เอื้ออำนวย

             ทางรถไฟหลวงสายแรก ของราชอาณาจักรไทย ได้กำเนิดขึ้น ในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยในปี พ.ศ. ๒๔๑๓ และ พ.ศ. ๒๔๑๔ พระองค์ได้เสด็จประภาสสิงคโปร์ ชวา และอินเดีย และหลังจาก เสด็จประพาสในครั้งนั้น ทรงตระหนักถึง ความสำคัญ ของการคมนาคมทางรถไฟ ด้วยพระราชดำริ ว่า การคมนาคมของไทย ซึ่งมีแต่ทางเกวียน และแม่น้ำลำคลอง นั้น ไม่เพียงพอต่อการบำรุงรักษา พระราชอาณาเขต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทางภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมีเส้นทางทุรกันดาร ดังนั้น จึงตกลงพระทัย ในการวางรากฐาน ในการสร้างทางรถไฟ ในประเทศไทยขึ้น ในปี พ.ศ. ๒๔๓๐ ซึ่งมีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้ เซอร์ แอนดรู คล้าก (Sir Andrew Clark) ทำการสำรวจเพื่อก่อสร้างทางรถไฟ ได้ค่าจ้างโดยเฉลี่ยไม่เกินไมล์ละ ๑๑๐ ปอนด์ โดยเริ่มจากสายเหนือ กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ให้วางแนวทางตัดผ่าน แหล่งสำคัญทางภาคกลาง ของประเทศ และมีทางแยก ไปยังเมืองสำคัญต่างๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งก็คือเมืองนครราชสีมา และส่วนอื่นๆ

 

ตำนานม้าเหล็กแห่งสยาม!! เครื่องราชบรรณาการจากสมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรีย สู่ รถไฟหลวงสายแรกแห่งราชอาณาจักรไทย จากน้ำพระทัยพระพุทธเจ้าหลวง !!

              เซอร์ แอนดรู คล้าก (Sir Andrew Clark) และ บริษัทปันชาร์ด (Messrs Punchard, Mac Taggart, Lowther & Co.) ได้ทำการสำรวจแนวทางรถไฟ จากกรุงเทพฯ ผ่าน อยุธยา ลพบุรี นครสวรรค์ แพร่ ลำปาง ลำพูน เชียงใหม่ เชียงราย เชียงแสน และนครราชสีมา รวมระยะทาง ๑,๐๙๐ กิโลเมตร สิ้นค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น ๓๘,๑๒๔ ปอนด์ หรือคิดเป็นเงินไทย ๖๓๐,๐๐๐ บาท พร้อมกับทำแผนผัง และบัญชีประมาณการ เสนอให้รัฐบาล เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๓ และในปีเดียวกันนั้นเอง ก็ได้มีประกาศพระบรมราชโองการ ให้สร้างทางรถไฟสยาม ตั้งแต่ กรุงเทพฯ ถึง นครราชสีมา อันเป็นเส้นทางรถไฟหลวงสายแรก แห่งราชอาณาจักรไทย และโปรดเกล้าฯ ให้ตั้ง "กรมรถไฟหลวง" ขึ้น โดยสังกัดในกระทรวงโยธาธิการ ตั้งแต่เดือนตุลาคม ในปีเดียวกัน

            การสร้างทางรถไฟสาย กรุงเทพฯ - นครราชสีมา ได้เปิดซองประมูล เมื่อวันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๔ เวลา ๑๒.๐๐ น. ปรากฏว่ามีผู้เสนอราคา แค่สองราย คือ มิสเตอร์เลนซ์ จากประเทศเยอรมัน และ มิสเตอร์แคมป์เบลล์ จากประเทศอังกฤษ โดย มิสเตอร์แคมป์เบลล์ เสนอราคาค่าก่อสร้าง ๙,๙๕๖,๑๖๔ บาท ต่ำกว่า มิสเตอร์เลนซ์ และมีรายการที่เสนอมาถูกต้อง เป็นที่พอใจ จึงได้พระราชทานพระบรมราชานุมัติ ให้กรมรถไฟ จ้างมิสเตอร์แคมป์เบลล์ สร้างทางรถไฟจาก กรุงเทพ ถึง นครราชสีมา โดยเป็นขนาดทางกว้าง๑.๔๓๕ เมตร ตามมาตรฐาน

            ทางรถไฟสายนี้ เริ่มสร้างตั้งแต่ วันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๓๔ โดย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เสด็จพระราชดำเนิน มาทรงประกอบพิธีกระทำพระฤกษ์ โดยทรงหลั่งน้ำบนแผ่นดิน ที่จะขุดเป็นพระฤกษ์ แล้วทรงใช้เสียมเงิน ขนาดเล็ก ตักดินเทลงในเกวียนเล็ก แล้วโปรดให้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ไสเกวียนลำเลียงดินพระฤกษ์ ไปตามรางจนถึงบริเวณที่จะสร้างทางรถไฟ (บริเวณย่านสถานีกรุงเทพในปัจจุบัน) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเทดินพระฤกษ์ ถมในบริเวณนั้นแล้ว คนงานทั้งหลาย ก็ลงมือขุดดินถมทาง ที่ได้ปักแนวไว้ การสร้างทางรถไฟสายแรกในพระราชอาณาจักร จึงได้เริ่มต้นขึ้น

ตำนานม้าเหล็กแห่งสยาม!! เครื่องราชบรรณาการจากสมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรีย สู่ รถไฟหลวงสายแรกแห่งราชอาณาจักรไทย จากน้ำพระทัยพระพุทธเจ้าหลวง !!

            การก่อสร้างได้ดำเนินมาจนถึง พ.ศ.๒๔๓๙ และเส้นทางได้แล้วเสร็จส่วนหนึ่ง พอที่จะเปิดเดินรถได้ จาก กรุงเทพฯ - อยุธยา ดังนั้น ในวันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๓๙ เวลา ๑๐.๐๐ น. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วย สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนิน มาทรงประกอบพิธี เปิดการเดินรถไฟหลวงสายแรก ในพระราชอาณาจักร โดยทรงประทับ ณ บริเวณที่ได้ทรงเทมูลดิน เมื่อเริ่มสร้างทางรถไฟ แล้วทรงกระทำพระฤกษ์ ตรึงตะปูหมุดที่รางทอง รางเงิน ส่วนด้านเหนือ ให้ติดกับหมอนไม้มริด คาดเงิน มีอักษรจารึก ส่วนทางใต้ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ทรงเป็นผู้ตรึง แล้วโปรดเกล้าฯ ให้ พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ ช่วยกันตรึงต่อ ไปจนเสร็จ ตลอด ๒ ชั่วราง นับว่าเป็น ทางรถไฟหลวง ระหว่าง กรุงเทพฯ ถึง จังหวัดอยุธยา ระยะทาง ๗๑ กิโลเมตร ได้เชื่อมต่อกัน ณ บัดนั้น และเส้นทางสายนี้ ได้เริ่มเปิดให้ประชาชน ใช้บริการในวันที่ ๒๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๓๙

          ๒๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๔๓ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ พร้อมด้วย สมเด็จพระบรมราชินีนาถ เสด็จเปิดการเดินรถ ถึง สถานีนครราชสีมา และได้เสด็จ โดยขบวนรถไฟพระที่นั่ง ประพาสจังหวัดนครราชสีมา ด้วย ทางรถไฟหลวงสายแรก จาก กรุงเทพฯ ถึง นครราชสีมา รวมระยะทางทั้งสิ้น ๒๖๔ กิโลเมตร สิ้นค่าใช้จ่ายทั้งหมด ๑๗,๕๘๕,๐๐๐ บาท หรือ ประมาณกิโลเมตรละ ๖๖,๓๖๐ บาท

 

 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : Rotfaithai.com