เดือน ๘ เข้า เดือน ๙ ออก!! เปิดตำนาน "เสาอินทขิล" เสาหลักเมืองแห่งนครเชียงใหม่ สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่เมือง เชื่อ..เป็นเสาหลักแห่งความมั่นคง !!

ติดตามเรื่องราวดีๆ อีกมากมายได้ที่ http://www.tnews.co.th

เดือน ๘ เข้า เดือน ๙ ออก!! เปิดตำนาน "เสาอินทขิล" เสาหลักเมืองแห่งนครเชียงใหม่ สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่เมือง เชื่อ..เป็นเสาหลักแห่งความมั่นคง !!

           ประเทศไทยเรามีสิ่งศักดิ์สิทธิ์มากมาย รวมไปถึงความเชื่อต่างๆที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของคนไทยมาช้านาน สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่คอยปกปักษ์รักษาบ้านเมืองก็มีอยู่มากมาย ตามพื้นที่ต่างๆ รวมไปถึงในจังหวัดต่างๆในประเทสไทยเราก็มีตำนานความศักดิ์สิทธิ์มากมาย วันนี้เราจะพาไปรู้จักกับตำนานอินทขิล เสาหลักเมืองแห่งนครเชียงใหม่ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวเชียงใหม่ เคารพนับถือมาตั้งแต่โบราณ

เดือน ๘ เข้า เดือน ๙ ออก!! เปิดตำนาน "เสาอินทขิล" เสาหลักเมืองแห่งนครเชียงใหม่ สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่เมือง เชื่อ..เป็นเสาหลักแห่งความมั่นคง !!

           ตำนานอินทขิล หรือ ตำนานสุวรรณคำแดง ที่ พระมหาหมื่นวุฑฒิญาโณ วัดหอธรรม เชียงใหม่ เล่าความเป็นของเสาอินทขิลไว้ว่า บริเวณที่ตั้งเมืองเชียงใหม่ศูนย์กลางอาณาจักรล้านนา เป็นที่ตั้งบ้านเมืองของชาวลัวะ ในเมืองนี้มีผีหลอกหลอนทำให้ชาวเมืองเดือดร้อนไม่เป็นอันทำมาหากิน อดอยากยากจน พระอินทร์จึงได้ประทานความช่วยเหลือ บันดาลบ่อเงิน บ่อทองและบ่อแก้วไว้ในเมือง ให้เศรษฐีลัวะ ๙ ตระกูล แบ่งกันดูแลทั้ง ๓ บ่อละ ๓ ตระกูลโดยชาวลัวะต้องถือศีลรักษาคำสัตว์ เมื่อชาวลัวะอธิษฐานสิ่งใดก็จะได้ดังสมปรารถนา ซึ่งชาวลัวะก็ได้ปฏิบัติตามเป็นอย่างดี บรรดาชาวลัวะทั้งหลายต่างก็มีความสุขความอุดมสมบูรณ์

           ข่าวความสุขความอุดสมบูรณ์ของเวียงนพบุรี ซึ่งเป็นตระกูลของชาวลัวะเลืองลือไปไกลและได้ชักนำให้เมืองอื่นยกทัพมาขอแบ่งปัน ชาวลัวะตกใจจึงขอให้ฤาษีนำความไปกราบทูลพระอินทร์ พระอินทร์จึงให้กุมภัณฑ์ หรือ ยักษ์ ๒ ตน ขุดอินทขีล หรือ เสาตะปูพระอินทร์ ใส่สาแหรกเหล็กหาบไปฝังไว้กลางเวียงนพบุรี เสาอินทขิลมีฤทธิ์มาดลบันดาลให้ข้าศึกที่มากลายร่างเป็นพ่อค้า พ่อค้าเหล่านั้นต่างตั้งใจขอสมบัติจากทั้งสาม ชาวลัวะแนะนำให้พ่อค้าถือรักษาคำสัตย์และอย่าละโมบ เมื่อขอสิ่งใดก็จะได้ พ่อค้าบางคนทำตาม บางคนไม่ทำตาม บางคนละโมบ ทำให้กุมภัณฑ์ ๒ ตน ที่เฝ้าเสาอินทขิลโกรธพากันหามเสาอินทขิลกลับขึ้นสวรรค์ไป และบ่อเงิน บ่อทอง บ่อแก้ว ก็เสื่อมลง มีชาวลัวะผู้เฒ่าคนหนึ่งไปบูชาเสาอินทขีลอยู่เสมอ ทราบว่ายักษ์ทั้งสองนำเสาอินทขิลกลับไปสวรรค์แล้ว ก็เสียใจมากจึงถือบวชนุ่งขาวห่มขาว บำเพ็ญศีลภาวนาใต้ต้นยางเป็นเวลานานถึง ๓ ปี ก็มีพระเถระรูปหนึ่งทำนายว่า ต่อไปบ้านเมืองจะถึงกาลวิบัติ ชาวลัวะเกิดความกลัวจึงขอร้องให้พระเถระรูปนั้นช่วยเหลือ พระเถระบอกว่า ให้ชาวลัวะร่วมกันหล่ออ่างขาง หรือกระทะขนาดใหญ่ แล้วใส่รูปปั้นต่างๆ อย่างละ ๑ คู่ ปั้นรูปคนชายหญิงให้ครบร้อยเอ็ดภาษาใส่กระทะลงฝังในหลุมแล้วทำเสาอินทขิลไว้เบื้องบนทำพิธีสักการบูชา จะทำให้บ้านเมืองพ้นภัยพิบัติ การทำพิธีบวงสรวงสักการบูชาเป็นประเพณีสืบต่อมาจนปัจจุบัน

 

เดือน ๘ เข้า เดือน ๙ ออก!! เปิดตำนาน "เสาอินทขิล" เสาหลักเมืองแห่งนครเชียงใหม่ สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่เมือง เชื่อ..เป็นเสาหลักแห่งความมั่นคง !!

           แต่เดิมเสาอินทขิลประดิษฐานอยู่ ณ วัดสะดือเมือง หรือวัดอินทขิล ซึ่งตั้งอยู่ ณ กลางเวียงเชียงใหม่ ปัจจุบันก็คือ บริเวณหอประชุมติโลกราช ข้างศาลากลางจังหวัดเก่า ในตำนานกล่าวว่า เสาอินทขิลไปไว้ที่วัดเจดีย์หลวง โดยบูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่เป็นเสาปูน และทำพิธีบวงสรวงเป็นประเพณีสืบกันมา ปัจจุบันนี้เสาอินทขิลที่อยู่ในวิหาร เป็นเสาปูนปั้นติดกระจกสี บนเสาเป็นบุษบกประดิษฐานพระพุทธรูปปางรำพึง เสาอินทขิล มีความ สูง ๑.๓๐ เมตร รอบเสา ๖๗ เมตร แท่นพระสูง ๐.๙๗ เมตร วัดโดยรอบ ๓.๔๐ เมตร

            พิธีบูชาเสาอินทขิล หรือ เสาหลักเมือง ซึ่งชาวเชียงใหม่เชื่อว่าเป็นเสาหลักสร้างความมั่นคงการอยู่ดีมีความสุขให้คนเชียงใหม่ อินทขิล หรือเรียกว่า เสาหลักเมืองเชียงใหม่ ชาวเชียงใหม่ทราบว่า ทุกๆปีจะต้องมีพิธีสักระบูชาเสาอิทขิล เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตให้แก่ชาวบ้าน ชาวเมืองรวมทั้งผู้ที่ทำเกี่ยวกับเกษตรโดยการเพาะปลูก โดยงานดังกล่าวได้อัญเชิญพระเจ้าฝนแสนห่าพระพุทธรูปที่บันดาลให้ฝนตกมาเป็นประธานขบวนแห่ และมีการสวดคาถาอินทขิลของหมู่สงฆ์ด้วย ชาวเชียงใหม่จะทำพิธีบูชาอินทขิลในตอนปลายเดือน ๘ ต่อเดือน ๙ หรือระหว่างเดือนพฤษภาคมต่อเดือนมิถุนายน โดยเริ่มในวันแรม ๓ ค่ำ เดือน ๘ เรียกว่า “วันเข้าอินมขิล” การเข้าอินทขิลจะมีไปจนถึงในวันที่ ๔ ค่ำ เดือน ๙ ซึ่งเป็น “วันออกอินทขิล” จึงเรียกว่า เดือน ๘ เข้า เดือน ๙ ออก

เดือน ๘ เข้า เดือน ๙ ออก!! เปิดตำนาน "เสาอินทขิล" เสาหลักเมืองแห่งนครเชียงใหม่ สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่เมือง เชื่อ..เป็นเสาหลักแห่งความมั่นคง !!

             สำหรับวัดเจดีย์หลวง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยของพระเจ้าแสนเมืองมา กษัตริย์รัชกาลที่ ๗ ราชวงศ์มังราย ซึ่งครองราชย์อาณาจักรล้านนาไทย พระองค์ทรงสร้างพระธาตุเจดีย์หลวงขึ้นเมื่อ พ.ศ.๑๙๓๔ ด้านหน้า พระวิหารหลวง เป็นตั้งของเสาอินทขิล หรือเสาหลักเมือง เสานี้ก่อด้วยอิฐถือปูน และกล่าวว่า แต่เดิมอยู่ที่วัดสะดือเมือง หรือ วัดอินทขิล ซึ่งเป็นที่ตั้งหอประชุมติโลกราชข้างศาลกลางหลังเก่า ครั้นต่อมาในสมัยพระเจ้ากาวิละ ครองเมืองเชียงใหม่ ให้ย้ายเสาอินทขิลมาไว้ที่วัดเจดีย์หลวง และได้บูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ พร้อมทั้งสร้างวิหารครอบไว้เมื่อ ปี พ.ศ.๒๓๔๓ ต่อมา หออินทขิลได้ชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา พอปี พ.ศ.๒๔๙๖ ครูบาขาวปี นักบุญแห่งล้านนาไทยอีกท่านหนึ่ง จึงได้สร้าง หออินทขิลขึ้นใหม่ ในรูปทรงหรือสถาปัตยกรรมดังที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน

            ในปีพุทธศักราช ๒๕๕๕ หออินทขิลชำรุดทรุดโทรมลงไปอย่างมาก ทางวัดเจดีย์หลวงจึงได้ขออนุญาตกรมศิลปกร ดำเนินการบูรณะให้มั่นคง แข็งแรง โดยรักษารูปทรงเดิมไว้ทุกประการ และตกแต่งด้วยลวดลายปูนปั้นศิลปะล้านนา และได้ทำการวาดภาพจิตรกรรมฝาผนังด้านในเป็นการเล่าตำนานของเสาอินทขิล และประวัติการสร้างพระธาตุเจดีย์ เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้ทราบตำนาน และประวัติศาสตร์ ซึ่งในการดำเนินการครั้งนี้ได้รับความอุปถัมภ์จากทุกภาคส่วน ในการดำเนินการรวมถึงการปรับปรุงภูมิทัศน์โดยรอบและบูรณะศาลกุมภัณฑ์ ทั้ง ๒ ศาล ที่อยู่คู่กับหออินทขิล พร้อมทั้งได้ทำซุ้มประตู เพื่อให้ตรงกับประตูหออินทขิล เมื่อมองมาจากถนนหน้าวัด และได้ดำเนินการหล่อรูปปั้นจำลองพระอิทร์,พญามังรายมหาราช และพระเจ้ากาวิละ ซึ่งเป็นผู้มีคุณูปการต่อบ้านเมือง และชาวเชียงใหม่

 

 

เดือน ๘ เข้า เดือน ๙ ออก!! เปิดตำนาน "เสาอินทขิล" เสาหลักเมืองแห่งนครเชียงใหม่ สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่เมือง เชื่อ..เป็นเสาหลักแห่งความมั่นคง !!

การบูชาอินทขิล

เครื่องบูชามี ข้าวตอกดอกไม้ และเทียน ๘ สวย พลู ๘ สวย ดอกไม้เงิน ๑ ผ้าขาว ๑ รำ ช่อขาว ๘ ผืน มะพร้าว ๒ แคนง กล้วย ๒ หวี อ้อย ๒ เล่ม ข้าว ๔ ควัก (กระทง) แกงส้ม แกงหวาน อย่างละ ๔ โภชนะอาหาร ๗ อย่าง ใส่ขันบูชา

 

 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : เพจ สืบสานตำนานล้านนา

                           http://library.cmu.ac.th