ข้อมูลที่นักเดินทางควรรู้…”วิธีนอนหลับในรถที่ถูกต้อง ป้องกันตัวเองให้ปลอดภัยจากเงื้อมมือมัจจุราชเงียบ!!!ทำอย่างไร?…(อยากรู้ต้องอ่าน)….

โดยส่วนใหญ่ท่านที่ประกอบสัมมาอาชีพหรือดำเนินธุรกิจห่างไกลจากบ้านพักอาศัยนั้น จำเป็นต้องเดินทางสัญจรไปมาออกต่างจังหวัดอยู่บ่อยๆอาจมีหลายๆครั้งที่รู้สึกเหนื่อยล้าจากการขับรถทางไกลเป็นระยะเวลานานๆยิ่งถ้ามีอาการอ่อนเพลียเหนื่อยล้าหนักมากขึ้นเรื่อยๆอาจทำให้คุณเกิดอาการง่วงซึม ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการหลับในจนอาจนำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุอย่างรุนแรงต่อชีวิตและทรัพย์สินของตัวคุณเองและเป็นอัตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้ขึ้นได้ ดังนั้นทางที่ดีที่สุดก็คือการหาที่พักจอดรถนอนหลับพักผ่อนสักหน่อยก่อนจะออกเดินทางต่อไปยังจุดหมายปลายทางนะคะ

ข้อมูลที่นักเดินทางควรรู้…”วิธีนอนหลับในรถที่ถูกต้อง ป้องกันตัวเองให้ปลอดภัยจากเงื้อมมือมัจจุราชเงียบ!!!ทำอย่างไร?…(อยากรู้ต้องอ่าน)….

อ่านข่าวอื่นเพิ่มเติม..

เช็คด่วน!! หมอช้าง..เตือนแรง!!! ในวันที่ 31 มกราคม 61 นี้ จะเกิดปรากฎการณ์ "จันทรุปราคาเต็มดวง" ส่งผลให้กับ 2 ราศีต่อไปนี้ ต้องระวังให้มาก..!?

จะต้องสูญเสียอีกเท่าไหร่กับคำว่ารอ!! หนุ่มโวย ภรรยาปวดท้องคลอด ไป รพ.ขอให้หมอผ่าคลอด แต่หมอรอให้คลอดเอง สุดท้ายไม่ทัน! เด็กขาดอากาศหายใจเสียชีวิตสลด

ไม่เชื่ออย่าลบหลู่..“บทสวดตัดเวร ตัดกรรม บอกล้างสัญญาที่เคยผูก” !! ด้วยบทอธิษฐานขออโหสิกรรม โดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

หากดูอย่างผิวเผินการจอดรถนอน ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่อะไร เพราะใครๆก็นิยมทำกันแบบนี้อยู่แล้วและก็ไม่ใช่เรื่องที่น่าจะมีอะไรยุ่งยากซับซ้อนเกินไป จนอาจเป็นอันตรายถึงขั้นทำให้หลายๆคนสามารถเสียชีวิตคารถหรูคันโปรดของคุณได้  “ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อค่ะ”ว่ากรณีที่เรานอนหลับในรถโดยไม่ศึกษาทำความเข้าใจในขั้นตอนวิธีการปฏิบัติอย่างถูกต้องถ่องแท้แล้วล่ะก็!!!นี่อาจเป็นการเดินทางครั้งสุดท้ายของชีวิตคุณก็เป็นได้อันตรายจากการจอดรถนอนหลับนั้นความจริงแล้วภัยใกล้ตัวที่สร้างความวิตกกังวลให้เรานั้นไม่ได้มีข้อจำกัดอยู่เฉพาะแค่พื้นที่ ลักษณะท่านอน หรืออากาศภายในห้องโดยสารที่เราปิดผนึกกระจกทั้ง 4บานจนมิดชิด ด้วยเพราะความวิตกกังวลในเรื่องความปลอดภัยจากโจรผู้ร้ายที่อาจมาเยือนถึงตัวเราตอนไหนนั้นเราก็ไม่อาจทราบก่อนล่วงหน้าได้

ความจริงแล้วอันตรายที่เกิดจากการนอนในรถนั้น เป็นปัจจัยที่เกิดจากภายในที่โดยมากเรามักจะพบว่าผู้ที่เสียชีวิตจากการนอนหลับในรถส่วนใหญ่นั้น จะมีสาเหตุมาจากการสตาร์ทเครื่องยนต์และเปิดระบบปรับอากาศทิ้งไว้แล้วนอนหลับลึกสนิทจนกระทั่งไม่ได้สติตื่นฟื้นขึ้นมาอีกเลย

ข้อมูลที่นักเดินทางควรรู้…”วิธีนอนหลับในรถที่ถูกต้อง ป้องกันตัวเองให้ปลอดภัยจากเงื้อมมือมัจจุราชเงียบ!!!ทำอย่างไร?…(อยากรู้ต้องอ่าน)….

สิ่งที่ผิดที่สุดของแนวคิดการนอนในรถนั้นไม่ใช่ระบบปรับอากาศแต่มันคือการสตาร์ทเครื่องยนต์ทิ้งเอาไว้เพื่อให้ระบบปรับอากาศนั้นสร้างความเย็นสบายตลอดเวลา เช่นเดียวกับการเดินทางในยามขับขี่ ความคิดที่รักสบายนี่เอง ที่ทำให้หลายคนกลายเป็นร่างไร้วิญญาณอย่างไม่รู้ตัว เพราะ แม้เครื่องยนต์กับระบบอากาศนั้นดูเหมือนจะไม่เกี่ยวข้องกันเลยด้วยซ้ำไป แต่ทว่า!’ความจริงแล้วมันกลับเป็นระบบกลไกเชื่อมโยงระหว่างกันและกันอยู่ตลอดอย่างไม่น่าเชื่อ

โดยปกติแล้วระบบปรับอากาศภายในรถยนต์นั้น จะทำงานคล้ายๆกับระบบแอร์ทั่วๆไป คือ แลกเปลี่ยนอุณภูมิผ่านน้ำยาที่เป็นตัวนำ และนำไประบายความร้อนออกเพื่อกลับมาวนปรับอุณภูมิต่อไปแบบนี้เรื่อยๆ อันที่จริงการปรับอุณหภูมิโดยน้ำยาแอร์ที่ไหลเวียนในระบบไม่ได้เป็นอันตรายกับมนุษย์เลย หากแต่สิ่งที่ทำให้คนนอนในรถเสียชีวิตได้นั้น กลับมาจากการสูดดมไอเสียเข้าสู่ร่างกายโดยไม่รู้ตัว 

ท่านผู้ชมคะถึงแม้เราจะทราบกันดีอยู่แล้วว่าระบบปรับอากาศจำเป็นต้องทำงานในพื้นที่ปิด ซึ่งซึ่งพื้นที่ภายในรถยนต์แต่ละคันนั้นมันก็หมายถึงห้องโดยสาร ทว่าถึงห้องโดยสารจะเป็นพื้นที่ปิดตามที่เราทราบ แต่พัดลมแอร์นั้นก็ยังต้องดูดอากาศบางส่วนจากภายนอกมาสู่ห้องโดยสาร 

และตรงนี่เองที่เป็นสาเหตุหลักที่อาจทำให้คุณตายได้โดยไม่รู้ตัว เพราะ เมื่อคุณติดเครื่องยนต์รถทิ้งไว้ไอเสียบางส่วนก็จะถูกพัดลมแอร์ดูดเข้ามาในห้องโดยสาร ซึ่งถ้าหากมันมาเป็นจำนวนมากคุณจะรู้สึกถึงการเปลี่ยนแปลงและตื่นขึ้นเหมือนสัญญาณเตือนของร่างกาย ซึ่งในรถยนต์บางรุ่นจะติดตั้งตัวดักไอเสียสู่ห้องโดยสาร เพื่อป้องกันคนนอนหลับในรถเป็นเวลานานๆ แต่เมื่อเจ้าก๊าซพิษค่อยๆย่างกรายเข้ามาทีละนิด ในขณะที่คุณกำลังหลับสนิทฝันหวานไปถึงไหนต่อไหน โดยที่คุณอาจจะไม่รู้ตัวหรือรู้สึกระแวงเลยแม้แต่น้อยว่าชะตาชีวิตของคุณมันกำลังถึงฆาตความตายกำลังคืบคลานเข้ามาเยือนคุณในขณะที่จอดรถนอนหลับพักผ่อน

คุณเคยรู้สึกปวดหัวเวลาขับรถไปเจอกับการจราจรขัดติดเป็นชั่วโมงไหม หลายคนคงนึกว่าเรากำลังผจญภาวะความเครียด ซึ่งนั้นก็ถูกส่วนหนึ่ง แต่ความจริงแล้วในอีกด้านเรากำลังสูดดมก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ เข้าไปจึงเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตโดยไม่รู้ตัว  และจากข้อมูลของศูนย์ข้อมูลวัตถุอันตรายและเคมีภัณฑ์ ได้กล่าวถึง อันตรายของการสูดดม ก๊าซ์คาร์บอนมอนอกไซด์ ว่าอาจจะทำให้เกิดการระคายเคือง ปวดศีรษะ เซื่อมซึม เคลิบเคลิ้ม สั่นกระตุก หายใจติดขัดหมดสติไม่รู้สึกตัว หัวใจเต้นผิดจังหวะเนื่องจาก มีฮีโมโกลบินน้อยกว่าปกติ มีผลกระทบต่อระบบประสาทส่วนกลางจนอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้

มันจึงไม่ใช่เรื่องแปลกหากพบว่าการที่เราค่อยๆสูดดมกลิ่นควันไอเสียไปทีละน้อยอย่างต่อเนื่องเป็นเวลากว่า 5-6 ชั่วโมง อาจส่งเราสู่สวรรค์ได้ โดยไม่รู้ตัว ซึ่งความจริงหากคุณมีความจำเป็นต้องนอนในรถช่วงระหว่างการเดินทางอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ผู้เขียนก็มีขั้นตอนวิธีการปฏิบัติที่ถูกต้องมาเขียนบรรยายเป็นวิทยาทานแนะนำให้ท่านผู้ชมกันด้วยค่ะ ประโยชน์จากเกร็ดความรู้เหล่านี้ไปใช้เป็นประโยชน์ควบคู่ในการดำเนินชีวิตของแต่ละบุคคลได้อย่างสูงสุดโดยทั่วกันป้องกันการวูบหมดสติจนเป็นอันตรายถึงชีวิตขณะที่นอนหลับในรถมี

ข้อมูลที่นักเดินทางควรรู้…”วิธีนอนหลับในรถที่ถูกต้อง ป้องกันตัวเองให้ปลอดภัยจากเงื้อมมือมัจจุราชเงียบ!!!ทำอย่างไร?…(อยากรู้ต้องอ่าน)….

1.หาที่เหมาะสม เมื่อเริ่มรู้สึกง่วงพยายามหาที่เหมาะสมในการจอดรถ เราแนะนำให้จอดในสถานีบริการ ถ้าเป็นไปได้ หรือถ้าไม่มีก็พยายามหาจุดที่เป็นชุมชน ป้อมตำรวจทางหลวง หรือ ไม่ก็มีแสงไฟสลัวๆดีกว่า เพื่อป้องกันโจรไปด้วยในตัว 

ข้อมูลที่นักเดินทางควรรู้…”วิธีนอนหลับในรถที่ถูกต้อง ป้องกันตัวเองให้ปลอดภัยจากเงื้อมมือมัจจุราชเงียบ!!!ทำอย่างไร?…(อยากรู้ต้องอ่าน)….

2.เมื่อหาที่ปลอดภัยสำหรับจอดรถพักนอนหลับได้แล้วก็ดับเครื่องยนต์ทันทีและแง้มกระจกทั้ง2ฝั่งซ้าย-ขวาเพื่อให้มีอากาศภายนอกเล็ดลอดผ่านไหลเวียนเข้ามาภายรถได้ เพื่อช่วยผ่อนคลายอาการอึดอัดทำให้รู้สึกสบายตัว แต่ควรเลื่อนกระจกลงมาแค่ประมาณ1-2ข้อนิ้วก็พอนะคะเอาแค่พอมีอากาศข้างนอกผ่านเข้ามาได้ก็พออย่าเลื่อนกระจกลงเยอะจนเกินไปเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ไม่หวังดีอย่างเช่นโจรผู้ร้ายนั้นสามารถเอื้อมมือเข้ามาปลดล็อครถได้

3.ปรับเบาะเอนเบาะนอนให้เหมาะสม การนอนในรถไม่ใช่การที่คุณเอนนอนทั้งหมด เพราะ แต่ละคนมีท่านอนที่ชอบไม่เหมือนกัน ให้คุณปรับเอนนอนให้พอดีเพียงพอ เพราะการเอนนอนมากไปจะทำให้คุณเมื่อล้าได้ภายหลัง 

4.ใช้พัดลมแอร์ช่วยให้หลับ เมื่อพร้อมจะหลับก็ให้บิดกุญแจไปที่จังหวะออนเพื่อให้ระบบไฟฟ้าทำงาน แล้วจึงบิดเปิดสวิทช์แอร์ เมื่อเปิดแล้วให้หาปุ่มที่เขียนว่า A/C หรืออาจะเป็นรูปรถที่มีลูกศรชี้เข้ามาในตัวรถจากภายนอกใ ห้เลือกกดปุ่มดังกล่าว ซึ่งพัดลมแอร์จะดูดอากาศมาหมุนเวียนในห้องโดยสารแม้จะไม่เย็นเหมือนแอร์แต่ก็พอให้คุณเคลิ้มหลับได้สบาย 

ข้อมูลที่นักเดินทางควรรู้…”วิธีนอนหลับในรถที่ถูกต้อง ป้องกันตัวเองให้ปลอดภัยจากเงื้อมมือมัจจุราชเงียบ!!!ทำอย่างไร?…(อยากรู้ต้องอ่าน)….

5. ควรตั้งนาฬิกาปลุกบนโทรศัพท์มือถือด้วยนะคะและควรจะกำหนดตั้งเวลาไว้ที่ประมาณ15-20นาทีก็พอค่ะ เพราะถึงแม้ว่าคุณจะปฏิบัติตามคำแนะนำทุกข้อ แต่ก็ควรมีตัวช่วยปลุกเรียกสติให้ตื่นด้วยค่ะ จะได้ไม่เผลอนอนหลับเพลินจนทำให้การเดินทางของคุณล่าช้าและอาจพลาดนัดสำคัญทางธุรกิจไปโดยปริยายก็เป็นได้

6. ข้อนี้สำคัญที่สุดเลย คือเมื่อหลังจากตื่นแล้วควรไปหาน้ำสะอาดล้างหน้าก่อนเป็นอันดับแรกเลยนะคะ แล้วต่อด้วยการเช็ดหน้าด้วยผ้าเย็นอีกรอบ และตบท้ายตามด้วยดื่มเครื่องดื่มเย็นๆเพื่อเพิ่มความสดชื่นกระปรี้กระเปร่าก่อนจะเดินทางต่อไป

ข้อมูลที่นักเดินทางควรรู้…”วิธีนอนหลับในรถที่ถูกต้อง ป้องกันตัวเองให้ปลอดภัยจากเงื้อมมือมัจจุราชเงียบ!!!ทำอย่างไร?…(อยากรู้ต้องอ่าน)….


และทั้งหมดนี้ก็เป็นขั้นตอนวิธีการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องเมื่อมีความจำเป็นต้องจอดรถนอนหลับพักผ่อนระหว่างการเดินทางค่ะ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นผู้เขียนก็ไม่ได้มีเจตนาที่จะแนะนำให้คุณผู้ชมท่านใดถือโอกาสใช้รถเป็นโรงแรมคลื่อนที่แต่อย่างใดนะคะ เนื่องจากการนอนในรถนั้นเป็นอันตรายต่อสุขภาพ แม้คุณจะพอทนนอนได้ แต่ก็ไม่ควรจะทำแบบนี้บ่อย มันไม่ดีต่อสุขภาพกระดูกสันหลัง อาจทำให้มีปัญหากระดูกกดทับเส้นประสาทได้ค่ะและอีกเช่นเดียวกับความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินมีค่าที่คุณได้พกพานำติดตัวมาด้วย ถ้าหากจำเป็นจริงๆก็ควรนอนพักผ่อนแค่พอให้อาการอ่อนเพลียง่วงซึมหายไปประมาณ 30-40 นาที เมื่อพร้อมแล้วจึงค่อยออกเดินทางต่ออีกให้ถึงจุดหมายปลายทางอย่างปลอดภัยค่ะ

ข้อมูลที่นักเดินทางควรรู้…”วิธีนอนหลับในรถที่ถูกต้อง ป้องกันตัวเองให้ปลอดภัยจากเงื้อมมือมัจจุราชเงียบ!!!ทำอย่างไร?…(อยากรู้ต้องอ่าน)….


ขอขอบคุณท่านผู้เป็นเจ้าของเครดิตภาพที่ผู้เขียนได้นำมาจาก (อินเตอร์เน็ต)เพื่อใช้ในการแสดงประกอบเนื้อหาสาระข้อมูลนี้ค่ะ..และขอขอบคุณแหล่งที่มาของภาพและข้อมูลจาก:วิกิพีเดีย,
 และข้อมูลเพิ่มเติม(บางส่วน)จาก :อินเตอร์เน็ตค่ะ
เรียบเรียงโดย: โชติกา พิรักษา และ ศศิภา ศรีจันทร์ ตันสิทธิ์