ไขข้อกังขา”โรคท้องร่วงรุนแรงจากเชื้อไวรัสโรต้า (Rotavirus)” อันตรายแค่ไหน ปัจจุบันยังไม่มียาเฉพาะในการรักษา!!จริงหรือ?..

ไขข้อกังขา”โรคท้องร่วงรุนแรงจากเชื้อไวรัสโรต้า (Rotavirus)” อันตรายแค่ไหน ปัจจุบันยังไม่มียาเฉพาะในการรักษา!!จริงหรือ?..

ไวรัสโรต้า Rotavirus- คือ จีนัส ของเชื้อไวรัส ที่เป็นสาเหตุของโรค”ลำไส้อักเสบจากเชื้อโรตาไวรัส” หรือเราจะเรียกกันง่ายๆแบบภาษาชาวบ้านก็ได้ค่ะว่า “ตัวพาหะนำเชื้อโรค” หรือ สาเหตุ ที่มาของภาวะอาการท้องร่วงรุนแรงในทารกและเด็กเล็กๆที่พบบ่อยที่สุด โรคท้องร่วง/ท้องเสีย/ท้องเดิน (Diarrhea)และบางครั้งเรียก "ไข้หวัดใหญ่ลงกระเพาะ" แต่เชื้อนี้ไม่มีความเกี่ยวข้องกับไวรัสไข้หวัดใหญ่แต่อย่างใด) จัดเป็นไวรัสกลุ่มอาร์เอ็นเอ (Double-stranded RNA virus) ใน ตระกูล (Family) Reoviridae ซึ่งมีทั้งจำนวน 7 สายพันธุ์ ด้วยกัน คือ (A, B, C, D, E, F, G)โดยเด็กแทบทุกคนบนโลกเมื่อมีอายุครบ 5 ปีจะเคยผ่านการติดเชื้อนี้กันมาแล้วอย่างน้อยหนึ่งครั้งในแต่ละครั้งที่ติดเชื้อร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกัน ทำให้การติดเชื้อครั้งถัดๆ ไปมีความรุนแรงลดลงทำให้โรคนี้พบได้น้อยในผู้ใหญ่ค่ะ 

ซึ่งเชื้อ ไวรัสโรต้า Rotavirus ที่พบบ่อยที่สุดคือโรตาไวรัสเอ ซึ่งเป็นสาเหตุของการติดเชื้อโรตาไวรัสในมนุษย์ถึง 90%และเป็นสาเหตุสำคัญของความเจ็บป่วยและการเสียชีวิต ของเด็กทั่วโลก ในประเทศกำลังพัฒนาประมาณว่าโรคท้องร่วงเป็นสาเหตุการตาย 17.5-21% ของเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี (ประมาณ 1.5 ล้านคนต่อปี)ในปี พ.ศ. 2551 มีรายงานเด็กไทยเสียชีวิตจากโรคท้องร่วง 266 คนค่ะ

ไขข้อกังขา”โรคท้องร่วงรุนแรงจากเชื้อไวรัสโรต้า (Rotavirus)” อันตรายแค่ไหน ปัจจุบันยังไม่มียาเฉพาะในการรักษา!!จริงหรือ?..

องค์การอนามัยโลก และหน่วยงานขององค์การสหประชาชาติที่เรียกว่า United Nations ’ Millennium Development Goal ตั้งเป้าให้ลดอัตราตายจากโรคท้องร่วงในเด็กลง 2 ใน 3 ระ หว่างปีพ.ศ. 2533 ถึง 2558 ในระยะหลังนี้พบว่า การเจ็บป่วยจากโรคท้องร่วงและการเสียชีวิตจากโรคนี้มีอัตราน้อยลง เนื่องจากสภาวะสุขภาพ และเศรษฐกิจสังคมดีขึ้น แต่โรคท้องร่วงจากเชื้อไวรัสโรตา (Rotavirus) ก็ยังคงเป็นปัญหาที่สำคัญอยู่ในลำดับต้นๆเลยทีเดียวค่ะ ทั้งนี้จากการสืบค้นตรวจสอบข้อเท็จจริง ผู้เขียน พบว่าข้อมูลที่มีในประเทศไทยของกระทรวงสาธารณสุข.. (Bureau of Epidemiology,Minis try of Public Health) ในปีงบประมาณพ.ศ. 2553 พบอุบัติการณ์ของโรคท้องร่วงในเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี เพิ่มขึ้นจาก 7,140.9 รายต่อประชากร 1 แสนคนในพ.ศ. 2543 เป็น 10,000 รายต่อประชากร 1 แสนคนในพ.ศ. 2553 แต่อัตราตายลดลงจาก 0.35 รายต่อประชากร 1 แสนคนในปีพ.ศ. 2544 เป็น 0.10 รายต่อประชากร 1 แสนคนในปีพ.ศ. 2555 และในปี พ.ศ. 2553 ประเทศไทยมีข้อมูลการตรวจพบว่าโรคท้องร่วงในเด็กๆนั้นอาจจะพบได้ตลอดทั้งปี แต่ว่าจะพบมากสุดในช่วงของฤดูหนาว” ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-เดือนกุมภาพันธ์ “และในช่วงฤดูฝนระหว่าง”เดือนพฤษภาคม-เดือนกรกฎาคม “ โรคท้องร่วงที่พบบ่อยในช่วงฤดูหนาว ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส โดยเฉพาะไวรัสโรตาค่ะ

ในประเทศไทย และในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบว่าในกลุ่มเด็กที่มีอายุน้อยกว่า 5 ปี 43-56% ของเด็กที่เป็นโรคท้องร่วงรุนแรง ถึงขั้นต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล นั้นเกิดจาก ไวรัสโรตา และยังมีผู้ป่วยเด็กอีกจำนวนมากเป็นผู้ป่วยนอก และส่วนหนึ่งไปรักษาตามคลินิกใกล้บ้าน ไม่ได้นอนรักษาตัวในโรงพยาบาลค่ะ

สาเหตุส่วนใหญ่ของโรคท้องร่วง/ท้องเสีย/ท้องเดินในเด็ก เกิดจากการติดเชื้อ ได้แก่ เชื้อไวรัสต่างๆ แต่ที่พบบ่อยคือไวรัสโรตา (Rotavirus) เชื้อแบคทีเรีย เช่น ไทฟอยด์ พาราไท ฟอยด์ เชื้อโรคบิด ซัลโมเนลลา (Salmonella) ชิเกลลา (Shigellosis) อหิวาตกโรค (Cholera) และอื่นๆค่ะ ดังนั้นพวกเราทุกคนไม่ควรที่จะวางใจในเรื่อง…โรคท้องร่วง กันนะคะไม่ว่าจะมีอาการมากน้อยยังไงก็ควรรีบไปพบแพทย์เข้ารับการตรวจรักษาทันทีเพราะเราไม่อาจจะทราบได้ว่าเราติดเชื้อไวรัส ชนิดไหน?

ไขข้อกังขา”โรคท้องร่วงรุนแรงจากเชื้อไวรัสโรต้า (Rotavirus)” อันตรายแค่ไหน ปัจจุบันยังไม่มียาเฉพาะในการรักษา!!จริงหรือ?..

 

ไขข้อกังขา”โรคท้องร่วงรุนแรงจากเชื้อไวรัสโรต้า (Rotavirus)” อันตรายแค่ไหน ปัจจุบันยังไม่มียาเฉพาะในการรักษา!!จริงหรือ?..

“ขึ้นชื่อว่าโรคแล้วล่ะก็ ผู้เขียน อยากให้เราทุกคน สันนิษฐาน กันเอาไว้ก่อนเลยว่า มันอันตรายทั้งนั้น!!ไม่ว่าจะเป็นโรคอะไร ..ก็มีส่วนสร้างผลกระทบให้กับตัวเราได้ทั้งสิ้น!!เนื่องจากสมัยนี้เชื้อโรคต่างๆมีวิวัฒนาการที่แปลกประหลาดผิดแผกแตกต่างไปจากเดิมมากๆ ทั้งนี้เพราะเชื้อโรคได้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมขึ้นทำให้เชื้อโรคต่างๆมีความแข็งแรงขึ้นและสามารถต่อต้านต่อยาปฏิชีวนะได้เชื้อโรคที่อยู่ในตัวของผู้ป่วยจึงไม่ตายและสามารถอาศัยฟักตัวอยู่ในร่างกายผู้ป่วยได้ในระยะยาวทำให้เกิดภาวะการติดเชื้อซ้ำขึ้นอีกและการรักษาก็ยากมีความซับซ้อนยิ่งกว่าเดิมเสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูง โดยเฉพาะ โรคท้องร่วง จากการติดเชื้อ ไวรัสโรตา ในผู้ป่วยเด็กค่ะ”

ไขข้อกังขา”โรคท้องร่วงรุนแรงจากเชื้อไวรัสโรต้า (Rotavirus)” อันตรายแค่ไหน ปัจจุบันยังไม่มียาเฉพาะในการรักษา!!จริงหรือ?..

และสำหรับวันนี้ ผู้เขียน ก็ได้นำข้อมูลเกร็ดความรู้คำแนะนำเกี่ยวกับโรค Rotavirus และวิธีการป้องกันการติดเชื้อ Rotavirus จาก( กองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรคติดต่อ) มาฝากท่านผู้ชมกันอีกด้วย เชิญรับชมได้ดังต่อไปนี้ค่ะ..

 • กองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรคติดต่อ
…..โรคลำไส้อักเสบจากการติดเชื้อไวรัส (Viral gastroenteritis) เป็นโรคที่พบประปรายหรือพบมีการระบาดในทารก เด็กเล็ก และผู้ใหญ่มีผลโดยตรงต่อทารกและเด็กเล็กในการทำให้เกิดอุจจาระร่วงซึ่งอาการอาจรุนแรงจนทำให้เกิดภาวะขาดน้ำและต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล อุจจาระร่วงจากเชื้อ Rotavirus

.
 • ลักษณะโรค : มีโรคที่เกิดขึ้นประปรายหรือตามฤดูกาลมักพบการอักเสบติดเชื้อของลำไส้ในทารกและเด็กเล็กที่มีอาการไข้และอาเจียนตามมาหลังจากมีการถ่ายอุจจาระเป็นน้ำ ซึ่งสัมพันธ์กับการเกิดภาวะขาดน้ำอย่างรุนแรง และทำให้เสียชีวิตได้ในกลุ่มที่มีอายุน้อย ผู้สัมผัสในครอบครัวที่เป็นผู้ใหญ่มักไม่ค่อยมีอาการป่วยเกิดขึ้น ส่วนใหญ่จะเป็นการติดเชื้อโดยไม่แสดงอาการ การติดเชื้อ rotavirus มีโอกาสพบในผู้ป่วยเด็กที่มีอาการป่วยทางคลินิกแตกต่างกัน แต่มีการได้รับเชื้อไวรัสโดยบังเอิญจากในโรงพยาบาลเชื้อโรต้าไวรัสนี้นับเป็นสาเหตุสำคัญของการป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วงในเด็กแรกเกิด และทารกที่อยู่ในโรงพยาบาล ในผู้ป่วยบางราย การป่วยจาก rotavirus ไม่สามารถแยกได้จากการป่วยที่มีสาเหตุจากเชื้อไวรัสทางเดินอาหารอื่นๆ ถึงแม้อุจจาระร่วงมาก rotavirus นี้จะมีอาการรุนแรงกว่าและมักมีอาการไข้อาเจียนเกิดขึ้นได้มากกว่าอุจจาระร่วงเฉียบพบันที่มีสาเหตุจากเชื้ออื่นก็ตาม rotavirus จะถูกตรวจพบได้ในอุจจาระโดยวิธี EM, ELISA, LA และวิธีการตรวจทางอิมมูโนโดยใช้น้ำยาตรวจสำเร็จรูปการติดเชื้อ rotavirus ยังสามารถตรวจได้โดยวิธีการตรวจทางน้ำเหลือง แต่การวินิจฉัยโรคโดยทั่วไปมักจะใช้ผลจากการตรวจหาเชื้อในอุจจาระเป็นหลัก


 • การเกิดโรค : พบได้ทั้งในประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศที่กำลังพัฒนา เป้นสาเหตุของการป่วยถึง 1 ใน 3 ของผู้ป่วยที่เป็นทารกและเด้กเล็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี ที่มารักษาในโรงพยาบาล เด็กส่วนใหญ่จะป่วยได้ในช่วงอายุตั้งแต่ 1 เดือน ถึง 3 – 4 ปี เชื้อ rotavirus นี้ มักพบว่ามีความสัมพันธ์กับการทำให้เกิดโรคอุจจาระร่วงอย่างรุนแรงมากกว่าเชื้ออุจจาระร่วงตัวอื่น ในประเทสที่กำลังพัฒนาประมาณว่าจะมีผู้ป่วยที่ตายด้วยอุจจาระร่วงถึง 870,000 รายต่อปี ในประเทศที่มีภูมิอากาศอบอุ่นมักจะเกิดโรคนี้ในฤดูหนาวส่วนในประเทศเขตร้อนการเกิดโรคพบได้ตลอดปี (ในประเทศไทยพบมากในฤดูหนาว) การติดเชื้อในเด็กแรกเกิดพบได้บ่อยแต่มักไม่แสดงอาการ และการติดเชื้อในผู้ใหญ่มักไม่ปรากฏอาการเช่นกัน แต่อาจพบการระบาดของโรคในสถานพักฟื้นคนชรา rotavirus ยังเป็นสาเหตุของการเกิดอุจจาระร่วงในกลุ่มนักเดินทาง ในผู้ป่วยที่มีความพกพร่องของระบบภูมิคุ้มกัน(และผู้ป่วยโรคเอดส์) และพบได้ในกลุ่มผู้ปกครองเด็กที่ป่วยด้วยอุจจาระร่วงจาก rotavirus ตลอดจนในผู้สูงอายุและเด็กที่อยู่ในสถานดูแล
.
 • วิธีการแพร่เชื้อ : โดยการรับเอาเชื้อที่ปนออกมากับอุจจาระโดยการกินหรือหายใจเข้าไป ถึงแม้ว่า rotavirus จะไม่สามารถเจริญแพร่พันธุ์ได้ในระบบทางเดินหายใจ แต่เชื้ออาจถูกกลืนลงสู่ทางเดินอาหารไปพร้อมๆ กับเสมหะ หรือสารคัดหลั่งที่มาจากทางเดินหายใจ
.
 • ระยะฟักตัว : ประมาณ 24 -72 ชั่วโมง
.
 • ระยะติดต่อของโรค : เกิดได้ข่วงระยะที่มีอาการและตลอดระยะที่ยังมีการขับถ่ายเชื้อไวรัสออกมาเชื้อ rotavirus มักไม่สามารถตรวจพบได้หลังจากมีอาการจํบป่วยแล้วประมาณ 8 วัน (เคยมีรายงานในผู้ป่วยที่มีความพกพร่องของระบบภูมิคุ้มกัน ว่าสามารถขับถ่ายเชื้อไวรัสออกจากร่างกายได้นานกว่า 30 วัน) โดยทั่วไปผู้ป่วยจะมีอาการอยู่นานประมาณ 4-6 วัน


.
 • ความไวและความต้านทานต่อการรับเชื้อ : ผู้ที่มีความไวต่อการรับเชื้อมากที่สุดคือเด็กที่มีอายุระหว่าง 6 เดือน ถึง 2 ปี ในเด็กที่มีอายุ 3 ปี ส่วนใหญ่จะพบว่ามีภูมิคุ้มกันต่อ rotavirus แล้ว ในผู้ป่วยเด็กที่มีความพกพร่องของระบบภูมิคุ้มกัน จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการป่วยด้วยอุจจาระร่วงจากเชื้อ rotavirus ได้นานกว่าเด็กปกติ
.
วิธีการควบคุมโรค
ก. มาตรการป้องกัน
 • ยังไม่มีการกำหนดมาตรการที่แน่ชัดเกี่ยวกับสุขอนามัยในการป้องกันการได้รับเชื้อจากอุจจาระโดยการกิน ซึ่งอาจจะไม่มีผลต่อการป้องกันการติดต่อโรคนี้ได้
 • ป้องกันทารกและเด็กเล็กไม่ให้สัมผัสกับผู้ที่ป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วง ทั้งที่อยู่ในครอบครัว ในสถานรับเลี้ยงเด็ก หรือในโรงพยาบาล
 • ให้ภูมิคุ้มกันแบบ Passiva immunization โดยการกินอิมมูโนโกลบุสินเพื่อให้ภูมิคุ้มกันโรคแก่เด็กแรกเกิดที่มีน้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์การให้นมแม่ยังไม่มีผลต่อการป้องกันการติดเชื้อแต่อาจช่วยลดความรุนแรงของโรค ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการศึกษาประสิทธิผลของวัคซีนโรต้าไวรัสชนิดกิน
ข. การควบคุมผู้ป่วย ผู้สัมผัส และสิ่งแวดล้อม
 • รายงานผู้ป่วยต่อเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่รับผิดชอบในท้องถิ่น
 • การแยกผู้ป่วย : การระวังป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร ผู้ดูแลเด็กทารกควรต้องมีการล้างมือบ่อยๆเป็นประจำ
 • การทำลายเชื้อ : มีการกำจัดอุจจาระเด็กที่ถูกสุขลักษณะให้น้ำเกลือทางหลอดเลือดจะใช้ในกรณีที่มีการขาดน้ำมาก หรือผู้ป่วยมีอาการอาเจียนค่ะ

ไขข้อกังขา”โรคท้องร่วงรุนแรงจากเชื้อไวรัสโรต้า (Rotavirus)” อันตรายแค่ไหน ปัจจุบันยังไม่มียาเฉพาะในการรักษา!!จริงหรือ?..

        ทั้งนี้ผู้เขียนก็ได้นำบทสรุปที่ได้จากการสืบค้นพบซึ่งเป็นคำตอบที่ค่อนข้างชัดเจนมากๆจาก ศิริวลัยย์ มณีศรีเดช หัวหน้ากลุ่มโรคติดต่อทางอาหารและน้ำ สำนักโรคติดต่อทั่วไป กระทรวงสาธารณสุข ว่าเชื้อไวรัสตัวนี้ไม่มียารักษาจริงหรือไม่ และควรป้องกันตัวเองอย่างไร เพื่อที่เราจะได้ป้องกันไม่ให้ตัวเราต้องมีอาการเจ็บป่วยจากเชื้อไวรัสโรต้า เช่นเดียวกันกับดารานักแสดงชื่อดังรายนี้

“ตามที่ได้ยินว่าเชื้อไวรัสไม่มีการรักษา ก็เป็นการอธิบายที่ถูกค่ะ ปกติเชื้อไวรัสทุกชนิด มันจะเป็นธรรมชาติของเชื้อไวรัส มันจะไม่มียาเฉพาะเจาะจงในรักษานะคะ เพราะฉะนั้นเชื้อไวรัสทุกชนิด เราก็จะรักษาประคับประคองอาการ มันจะมีคอร์สของการรักษาเฉพาะอยู่

เชื้อโรต้ามันเป็นฤดูกาลการระบาดของมันอยู่แล้วค่ะ เพียงแต่ว่าทุกปีมันจะเกิดส่วนใหญ่ในกลุ่มเด็ก แต่มาปีนี้มาพบในผู้ใหญ่ เลยต้องมีการทบทวนและเช็กข้อมูลว่ามีอะไร และสถานการณ์ที่เกิดขึ้นตอนนี้ มันยังมีความสับสนอยู่ในสื่อโซเชียลฯ คำตอบจะได้หลังการประชุมผู้เชี่ยวชาญที่จะมีขึ้นเร็วๆ นี้ค่ะ”

ทั้งนี้ ข้อมูลของสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค รายงานพบผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วงตลอดปี 60 จำนวน 985,544 ราย เสียชีวิต 4 ราย ในจำนวนนี้เป็นการป่วยในเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี จำนวน 226,909 ราย คิดเป็นร้อยละ 23 ของผู้ป่วยทั้งหมด และเสียชีวิต 3 ราย และจากข้อมูลที่ผ่านมาพบว่า มักเกิดจากการติดเชื้อไวรัสโรต้า และมีแนวโน้มในปัจจุบันเริ่มพบในผู้ใหญ่มากขึ้น 

 

สำหรับการป้องกันตัวเองนั้น หัวหน้ากลุ่มโรคติดต่อทางอาหารและน้ำ ได้ฝากคำแนะนำไปยังบ้านที่มีเด็กเล็กและผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงที่อาจติดไวรัสดังกล่าวได้ง่าย ว่าควรล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง ก่อนและหลังเข้าห้องน้ำ รวมถึงกินอาหารที่ปรุงสุกสะอาด และที่สำคัญหากป่วยขึ้นมาแล้ว ต้องไม่ลืมดื่มเกลือแร่ เพื่อทดแทนน้ำที่ร่างกายเสียไปหลังการขับถ่าย

“โรคนี้ติดต่อผ่านทางอาหารและน้ำเป็นหลัก รวมถึงทางเดินหายใจด้วยที่มันจะปนมาคือ ในกลุ่มเด็กเล็กเราจะต้องระวังมากเลย ของเล่นเด็ก เพราะว่าเด็กเขาจะอึ หรือว่าเขาจะมีเสมหะ น้ำมูก น้ำลายมาถูกมือถูกตัว แล้วเด็กก็ไปเล่นของเล่น เอาเข้าปาก มันก็จะแพร่และติดเชื้อได้ง่าย ส่วนในกลุ่มผู้สูงอายุก็เช่นเดียวกัน เพราะว่ากลุ่มนี้มีภูมิคุ้มกันโรคต่ำอยู่แล้วโดยธรรมชาติ ก็จะต้องระวังเรื่องของการกินของร้อนสุกสะอาด

แล้วก็การล้างมือก่อนเข้าห้องน้ำ หลังเข้าห้องน้ำ ก่อนรับประทานอาหาร เป็นสิ่งสำคัญค่ะ

ไขข้อกังขา”โรคท้องร่วงรุนแรงจากเชื้อไวรัสโรต้า (Rotavirus)” อันตรายแค่ไหน ปัจจุบันยังไม่มียาเฉพาะในการรักษา!!จริงหรือ?..

ถ้าติดเชื้อตัวนี้ไปแล้ว อันดับแรกคือในเรื่องของการดูแลตัวเอง เพราะมันจะเป็นเรื่องของการขับถ่าย คนที่อาการรุนแรงถึงขั้นช็อกหรือเสียชีวิตเกิดจากการขาดน้ำ ก็จะต้องทดแทนตรงนี้ด้วยการดื่มผงน้ำตาลเกลือแร่ค่ะ คือถ่ายออกเท่าไหร่ ก็ชดเชยด้วยเกลือแร่ จะเป็นการปฐมพยาบาล และดูแลอาการได้ดีที่สุดค่ะ 

ไขข้อกังขา”โรคท้องร่วงรุนแรงจากเชื้อไวรัสโรต้า (Rotavirus)” อันตรายแค่ไหน ปัจจุบันยังไม่มียาเฉพาะในการรักษา!!จริงหรือ?..

แต่สิ่งที่จะต้องระมัดระวังคือ ผู้เสียชีวิตจะไม่ได้เสียชีวิตจากไวรัส แต่จะทรุดลงและเสียชีวิตจากการขาดน้ำ ขาดเกลือแร่ พอคนไข้ขาดน้ำมากๆ ก็จะเกิดภาวะช็อกและไตวายได้ค่ะ เพราะฉะนั้นการรักษาเบื้องต้น ถ้ามีอาการถ่ายเหลว 3 - 5 ครั้งขึ้นไป รู้สึกเพลีย ต้องรีบทำน้ำตาลเกลือแร่มาดื่มชดเชยไว้เลย ถ้าอาหารไม่ดีขึ้น มีไข้ หรืออาการทรุดลง ซึมลง ต้องรีบนำส่งแพทย์ เพราะอาจจะได้รับเกลือแร่จากการดื่มไม่เพียงพอ อาจจะต้องให้น้ำเกลือชดเชยค่ะ เข้าทางเส้นเลือด ซึ่งมันก็จะเร็วกว่าค่ะ”
.

ขอขอบคุณท่านผู้เป็นเจ้าของเครดิตภาพที่ผู้เขียนได้นำมาจาก (อินเตอร์เน็ต)เพื่อใช้ในการแสดงประกอบเนื้อหาสาระข้อมูลนี้