เกษตรกรชาวสวนตำบลเชียงสือ อ.โพนนาแก้วยืนยันฟักเขียวที่นี่ไร้สาร ปลอดสารพิษ 100%  เน้นปุ๋ยคอก ทิ้งไปเลยสำหรับปุ๋ยเคมี

ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

ผู้สื่อข่าวรายงานพื้นที่อำเภอโพนนาแก้ว จ.สกลนคร มีเกษตรกรชาวสวนที่นี่ปลูกพืชผัก โดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่หมักผสมทำขึ้นเอง และใช้ปุ๋ยคอกเพื่อใช้ในการปลูก จนเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง ทั้งนี้ต้องยอมรับว่าปัจจุบันราคาปุ๋ยเคมีสูงขึ้น เกษตรกรส่วนใหญ่จึงหันมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในการเพาะปลูกกันมากขึ้นและกำลังเป็นที่นิยม อีกทั้งยังลดต้นทุนในการซื้อปุ๋ยเคมีแต่ละปีกว่า 30 % และที่สำคัญในการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ปลอดภัยไม่เสี่ยงอันตรายต่อร่างกายของเกษตรกรผู้ปลูกและผู้บริโภค ที่ผ่านมาปกติพื้นที่แห่งนี้เป็นแหล่งปลูกมะเขือเทศส่งโรงงาน แต่กับพบว่าปัญหาเรื่องการรับ-ซื้อและราคาในแต่ละปีเกษตรกรถูกเอารัดอาเปรียบ จนหันไปปลูกพืชชนิดอื่นแทน ขณะนี้จำนวนเกษตรกรผู้ปลูกมะเขือเทศในพื้นที่ลดน้อยลง

เกษตรกรชาวสวนตำบลเชียงสือ อ.โพนนาแก้วยืนยันฟักเขียวที่นี่ไร้สาร ปลอดสารพิษ 100%  เน้นปุ๋ยคอก ทิ้งไปเลยสำหรับปุ๋ยเคมี

 

นายเลี้ยน แสงวงค์ เกษตรกรชาวบ้านโนนสามัคคี หมู่ 6 ต.เชียงสือ กล่าวถึงการปลูกมะเขือเทศและการปลูกฟักเขียวจากอดีตและปัจจุบันว่า ครอบครัวประกอบอาชีพทำนาปลูกข้าว และเสร็จจากการทำนาก็ปลูกมะเขือเทศแทน ทำเช่นนี้ทุกปีและทำมานี้กว่า 20 ปี เพื่อส่งลูกเรียนหนังสือและเลี้ยงครอบครัว ปีนี้เพื่อนบ้านแนะนำให้ปลูกฟักเขียวผสมกับมะเขือเทศ เพื่อส่งขายให้กับบริษัทจะเป็นผู้มารับ-ซื้อให้พร้อมกับมีการประกันราคา โดยมอบเมล็ดพันธุ์ผ่านพ่อค้าคนกลางในหมู่บ้าน เพื่อนำมาแจกจ่ายให้เกษตรกรหรือสมาชิกที่ปลูก ส่วนราคาประกันแต่ละปีบริษัทจะกำหนด ดังนั้น จึงแบ่งที่ดินส่วนหนึ่งที่ปลูกมะเขือเทศประมาณเกือบ 2 ไร่ ทดลองปลูกปีแรก โดยเริ่มลงเมล็ดพันธุ์ช่วงกลางเดือนพฤศจิกายน ถึงกลางเดือนมกราคม ก็สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตขายแก่บริษัทได้ ปีนี้บริษัทประกันราคาให้กิโลกรัมละ 4 บาท ขนาดลูกเล็ก-ใหญ่คละกัน ทดลองปลูกปีแรกถือว่าประสบความสำเร็จ ผลผลิตลูกฟักเขียวปีนี้ออกลูกดก ยืนยันจากเพื่อนบ้านที่เคยปลูกบอกว่าปีนี้ผลผลิตดี ผิดกับปีที่แล้วสาเหตุขาดแคลนน้ำ ลูกฟักไม่สมบูรณ์ลูกขนาดเล็กและเน่าเสียราคาตก บริษัทประกันราคา 3 บาท / กก. บอกต่อด้วยว่า การปลูกฟักเขียวไม่จำเป็นต้องใช้ปุ๋ยเคมีและใช้สารพ้นฉีดป้องกันแมลง เหมือนกับการปลูกมะเขือเทศ ถึงแม้นว่าวิธีการปลูกทำเหมือนกัน มีคันคูร่องน้ำ สำหรับปุ๋ยที่ใช้ปลูกคือขี้วัว ขี้ควาย ขี้หมู ขี้เป็ด ขี้ไก่ และปุ๋ยหมักที่ผลิตทำขึ้นเอง โดยไม่ได้ใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีมาฉีดพ้นป้องกันแมลงแต่อย่างใด นับว่าดีกว่าการปลูกมะเขือเทศ แถมพ่อค้าคนกลางก็มารับ-ซื้อถึงสวนไม่ยุ่งยาก รวมถึงบริษัทก็มีประกันราคาให้ โดยปีนี้บริษัทกำหนดราคาประกันไว้ที่ 4 บาท/กก. คิดว่าจำนวนเกือบ 2 ไร่ที่ปลูกฟักเขียวขายได้ไม่ต่ำกว่า 2,000 กก. หรือประมาณ 2 ตัน ส่วนมะเขือเทศตอนนี้ราคาขายยังไม่แน่นอน ที่ผ่านมาราคาจะอยู่ที่ประมาณ 3 – 5 บาท / กก. หากเป็นไปได้ก็ยากขอให้บริษัทผู้รับ-ซื้อฟักเขียวเขยิบราคาขึ้นเป็น 6-7 บาท / กก. เกษตรกรผู้ปลูกมีชีวิตและความเป็นอยู่จะดีขึ้น

เกษตรกรชาวสวนตำบลเชียงสือ อ.โพนนาแก้วยืนยันฟักเขียวที่นี่ไร้สาร ปลอดสารพิษ 100%  เน้นปุ๋ยคอก ทิ้งไปเลยสำหรับปุ๋ยเคมี

 

สอบถามพ่อค้าคนกลางประจำพื้นที่ผู้รับ-ซื้อและส่งต่อบริษัท บอกว่า จัดหาเกษตรกรในพื้นที่ที่ประสงค์ต้องการปลูกฟักเขียวเพื่อจัดส่งบริษัท โดยบริษัทจะกำหนดประกันราคาให้ พร้อมกับมอบเมล็ดพันธุ์ให้เกษตรปลูกตามจำนวนเนื้อที่ จากนั้นเมื่อครบกำหนดเก็บเกี่ยวผลผลิต ผมนามตัวแทนบริษัทจะมารับซื้อจากสวนเกษตรกรโดยตรง และขนลำเลียงไปเก็บไว้ที่บ้าน ก่อนบริษัทจะนำรถบรรทุกลำเลียงขนไปยังตลาด จ.ขอนแก่น และ จ.อุบลราชธานี ที่นั้นแหล่งตลาดใหญ่ ซึ่งปีหนึ่งเกษตรกรสามารถปลูกได้ 2 รอบ คือ รอบแรกบริษัทมอบเมล็ดพันธุ์ระหว่างเดือนเมษายน – พฤษภาคม และรอบที่สองระหว่างเดือนกันยายน – เดือนตุลาคม สำหรับราคาที่บริษัทประกันราคาให้นั้น ขึ้นอยู่ราคาตลาดคือในแต่ละปีไม่เหมือนกัน สำหรับพื้นที่รับผิดชอบคืออำเภอโพนนาแก้ว และใกล้เคียง เช่นพื้นที่อำเภอวังยาง อำเภอปลาปาก จ.นครพนม ตอนนี้มีเกษตรกรผู้ปลูกร่วมกว่า 100 คน พื้นที่กว่า 500 ไร่ และคิดว่าจะเพิ่มจำนวนสมาชิกและพื้นที่ปลูกมากขึ้นอีก

เกษตรกรชาวสวนตำบลเชียงสือ อ.โพนนาแก้วยืนยันฟักเขียวที่นี่ไร้สาร ปลอดสารพิษ 100%  เน้นปุ๋ยคอก ทิ้งไปเลยสำหรับปุ๋ยเคมี

ไมตรี  แก้วบุญมี   สำนักข่าวทีนิวส์  จ.สกลนคร