ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

                         วันที่ 14 มกราคม 2561 ที่การยางแห่งประเทศไทยจังหวัดตรัง นายสมยศ น้ำแก้ว ผู้อำนวยการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.)จังหวัดตรัง เรียกประชุมด่วน เจ้าหน้าที่ กยท.ทุกสาขา ,สถาบันเกษตรกร, กลุ่มเกษตรกรชาวสวนยาง และวิสาหกิจชุมชน ผู้รับซื้อและแปรรูปยางพาราในพื้นที่จังหวัดตรังทั้งหมด 41 แห่ง เพื่อเตรียมความพร้อม และกำหนดวิธีการรับซื้อยาง และจัดหาโรงงานจัดเก็บน้ำยาง เพื่อส่งมอบให้การยางแห่งประเทศไทย ตามนโยบายส่งเสริมการใช้ยางในหน่วยงานภาครัฐ จำนวน 1.8 แสนตัน หลังกระทรวงกลาโหม และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นำร่องสั่งซื้อยางตามโครงการดังกล่าว เข้ามาจำนวน 1,200 ตัน โดยกำหนดจะเปิดจุดรับซื้อภายในวันที่ 15 มกราคมนี้ ใน 5 จังหวัด คือ ตรัง นครศรีธรรมราช สงขลา สตูล และยะลา

กยท.ประชุมสถาบันเตรียมซื้อยาง ทั้งหมด 41 แห่ง เพื่อเตรียมความพร้อม และกำหนดวิธีการรับซื้อยาง และจัดหาโรงงานจัดเก็บน้ำยาง เพื่อส่งมอบให้ กยท.

กยท.ประชุมสถาบันเตรียมซื้อยาง ทั้งหมด 41 แห่ง เพื่อเตรียมความพร้อม และกำหนดวิธีการรับซื้อยาง และจัดหาโรงงานจัดเก็บน้ำยาง เพื่อส่งมอบให้ กยท.

                        จากทั้งเกษตรกรที่มีเอกสารสิทธิ์ และไม่มีเอกสารสิทธิ์ (เกษตรกรที่มีเอกสารสิทธิ์ คือ เกษตรกรขึ้นทะเบียนกับ กยท.(มีบัตรสีเขียว) และเกษตรกรที่ได้แจ้งข้อมูลเกษตรกรที่ปลูกยางในพื้นที่ที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์กับ กยท.(บัตรสีชมพู ) โดยในที่ประชุมได้มีการถกกัน เพื่อหาข้อสรุปจำนวนปริมาณยางที่จะต้องรับซื้อในพื้นที่จังหวัดตรัง  และราคาที่จะต้องรับซื้อ เนื่องจากมีสั่งเข้าซื้อเข้ามาเพียงแค่ 2 กระทรวงดังกล่าวเท่านั้น  และปริมาณน้อย ซึ่งต้องแบ่งโควต้าให้อีก 4 จังหวัดซื้อด้วย คาดคงรับซื้อได้แค่จังหวัดละ 240 ตัน  ขณะที่กระทรวงอื่น เช่น คมนาคม มหาดไทย ศึกษาธิการ การท่องเที่ยวและกีฬา และกระทรวงยุติธรรม ยังไม่สั่งซื้อเข้ามา  เพราะการรับซื้อยางตามโครงการส่งเสริมการใช้ยางในหน่วยภาครัฐครั้งนี้ จะซื้อตามออเดอร์ที่กระทรวงต่างๆสำรวจโครงการ ปริมาณยาง และสั่งซื้อเข้ามา จะไม่ซื้อเก็บทั้ง 1.8 แสนตัน เหมือนเมื่อปี 2559

กยท.ประชุมสถาบันเตรียมซื้อยาง ทั้งหมด 41 แห่ง เพื่อเตรียมความพร้อม และกำหนดวิธีการรับซื้อยาง และจัดหาโรงงานจัดเก็บน้ำยาง เพื่อส่งมอบให้ กยท.

กยท.ประชุมสถาบันเตรียมซื้อยาง ทั้งหมด 41 แห่ง เพื่อเตรียมความพร้อม และกำหนดวิธีการรับซื้อยาง และจัดหาโรงงานจัดเก็บน้ำยาง เพื่อส่งมอบให้ กยท.

                         ส่วนราคาที่จะรับซื้อจากเกษตรกรในแต่ละวันได้ข้อสรุปว่า สหกรณ์ที่สมัครเข้าร่วมโครงการจะรับซื้อในราคาชี้นำจากราคาของตลาดกลางหาดใหญ่กิโลกรัมละ 3  บาท โดยแบ่งให้เกษตรกร 1 บาท และค่าบริหารจัดการ ค่าขนส่ง ของสหกรณ์ต่างๆ 2 บาท ทั้งนี้ เกษตรกรขายได้รายละไม่เกิน 15 ไร่ โดยขายได้สูงสุดไม่เกิน 450 กิโลกรัมเนื้อยางแห้งต่อเดือน พร้อมเรียกร้องให้กระทรวงที่เหลือเร่งสำรวจและสั่งซื้อเข้ามาตามนโยบายรัฐบาลและนายกรัฐมนตรีโดยด่วนที่สุด  เพราะขณะนี้น้อยเกินไปเพียงแค่ 1,200 ตัน จากเป้าหมาย 1.8 แสนตัน

กยท.ประชุมสถาบันเตรียมซื้อยาง ทั้งหมด 41 แห่ง เพื่อเตรียมความพร้อม และกำหนดวิธีการรับซื้อยาง และจัดหาโรงงานจัดเก็บน้ำยาง เพื่อส่งมอบให้ กยท.

กยท.ประชุมสถาบันเตรียมซื้อยาง ทั้งหมด 41 แห่ง เพื่อเตรียมความพร้อม และกำหนดวิธีการรับซื้อยาง และจัดหาโรงงานจัดเก็บน้ำยาง เพื่อส่งมอบให้ กยท.

ภาพ/ข่าว สุนิภา หนองตรุด ผู้สื่อข่าวภูมิภาค สำนักข่าวทีนิวส์ จ.ตรัง