ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

วันที่ 16 มกราคม 2561 โดยวันนี้ที่อาคารเอนกประสงค์บ้านลูโบ๊ะการายี หมู่ที่ 7 ตำบลบ้านควน อำเภอเมือง จังหวัดสตูลซึ่งทางด้านนางรัศมี นำยูรี ประธานกลุ่มส่งเสริมสตรี ผลิตขนมพื้นบ้านบ้านลูโบ๊ะการายี ที่มีสมาชิกถึง 11 คน ส่วนใหญ่มีอาชีพหลักเป็นชาวเกษตรกรรับจ้างกรีดยางพารา และเก็บน้ำยางพาราขาย พร้อมกับที่ปรึกษาของกลุ่มอย่างนางสาวนาตีละห์ นำยูรี ( บัณฑิตอาสา) ต่างเร่งทำขนมพื้นบ้าน ขนม“บุหงาบุดะ” ไส้มะพร้าวอย่างเร่งด่วนเพื่อให้ทันตามอ้อเดอร์ของลูกค้าจากประเทศมาเลเซียที่สั่งจองมา เพื่อจะนำไปขายในประเทศมาเลเซีย จนถือว่าขณะนี้เป็นขนมยอดฮิตในประเทศมาเลเซียแล้วก็ตาม แม้ว่าดังเดิมขนมชนิดนี้ในสมัยก่อน ขนมชนิดนี้ได้รับอิทธิพลเข้ามาจากประเทศมาเลเซียแต่ปัจจุบันกลับไม่พบขนมนี้ในประเทศมาเลเซีย แต่พบได้ในจังหวัดสตูล จึงทำให้ประเทศมาเลเซียหันมาสั่งจองนำไปซื้อขายรับบางครอบครัวซื้อไปรับทานในครอบครัว

สักครั้งในชีวิต!??  ท้าให้ลองกิน "บุหงาบุดะ" ขนมพื้นบ้านของคนชั้นสูง ของดีกลุ่มสตรี อบต.บ้านควน ออเดอร์สั่งทำข้ามชายแดนไทยมาเลเซีย..!!

 

นางสาวนาตีละห์ นำยูรี ( บัณฑิตอาสา) ผู้ร่วมทำขนมบุหงาบุดะ กล่าวว่า ตอนนี้ยอดสั่งจองเป็นกลุ่มชาวประเทศมาเลเซียเป็นส่วนใหญ่และคนไทยในต่างแดนที่ชอบรับประทานขนมพื้นบ้าน ซึ่งถือว่ายอดสั่งจองเข้ามาเพียบและตอนนี้เร่งทำเพื่อให้ทันส่งลูกค้าอีก 3 วันที่ทางประเทศมาเลเซียจะมารับไปขายยังบ้านของเขา นอกจากขายที่ประเทศมาเลเซียที่รัฐเปอร์ลิส และบางครั้งส่งขายไปถึงเกาะลังกาวีเช่นกัน เราขายอยู่ที่ขนมบุหงาบุดะ ห่อละ 50 บาทมี 25 ชิ้นเป็นไส้มะพร้าวมีหลายสีสีเขียวบ้าง สีชมพู่บ้างแล้วตาลูกค้าต้องการบางทีก็ทำขนมโรตีกรอบ ขนมมัดใจ ขนมกลีบลำดวนขายอยู่ที่ 10 จนถึงห่อ 50 บาท หากเป็นรายได้ที่เข้ามาจากการขายขนมบุหงาบุดะส่งไปขายมาเลเซียต่อเดือนจะได้อยู่ที่เดือนละ 1,500 จนถึง 3,000 บาท และขายตามตลาดในสตูลอยู่ที่ห้างดัง และตามตลาดประชารัฐ และตลาดวินเทต นอกจากนี้ยังได้เป็นขนมพื้นบ้านที่นำไปจัดกระเช้าเป็นของฝากผู้ใหญ่ด้วยเช่นจะอยู่ในราคา 500 บาทขึ้นไป ถ้าเป็นรายได้ในจังหวัดสตูลที่ขายได้จะอยู่ที่ 3,000 บาทขึ้นไปต่อเดือนและตามยอดสั่งทำขนม แม้จะเป็นกลุ่มเล็กๆแต่ยอดสั่งจองมีเข้ามาทุกเดือน

 

นางสาวนาตีละห์ นำยูรี ( บัณฑิตอาสา) ผู้ร่วมทำขนมบุหงาบุดะ กล่าวเพิ่มเติมว่า โดยการทำขนมบุหงาบุดะ นี้วัตถุดิบและส่วนประกอบมีมะพร้าว - น้ำตาลทราย เกลือ ใบเตย น้ำเปล่า แป้งข้าวเจ้า ขั้นตอนการผลิต 1. นำมะพร้าวทึนทึกที่ได้มากะเทาะเปลือกแข็งออก 2. ปอกเปลือกที่ติดกับเนื้อมะพร้าวออกให้สะอาด 3. นำมาผ่าเป็น 4 ส่วน แล้วล้างน้ำให้สะอาด คว่ำในตะแกรงให้สะเด็ดน้ำ 4. นำมะพร้าวที่แห้งแล้วมาขูด 5. แล้ว นำมาคลุกเคล้ากับน้ำตาลแล้วใส่เกลือน้ำตามด้วยน้ำใบเตยหอม(สามารถในใส่สี น้ำหวานได้ตามใจชอบ) 6. นำไปผัดในกระทะจนแห้งสนิท 7. ตักใส่ภาชนะแล้ววางไว้จนเย็นสนิทแล้วค่อยปิดฝา 8. นำแป้งข้าวเหนียวมาเคล้ากับน้ำเกลือให้เกิด ความชื้นพอประมาณ 9. นำใส่เครื่องปั่นปั่นให้ละเอียด 10. นำกระทะตั้งไฟจนร้อน 11. ร่อนแป้งลงในกระทะให้เป็นแผ่น 12. ใส่ใส้ตรงกลางให้เป็นกองตรงจุดกึ่งกลาง 13.รอจนแป้งสุกและดีดตัวขึ้น จากนั้นพับให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมแล้วแต่งทางให้สูงขึ้นหรือจัดรูปทรงตามต้องการ 14. ได้ขนมตามต้องการ(แป้งครึ่งกิโลกรัมจะได้ขนมประมาณ 160-180 ชิ้น ใช้ใส้ประมาณ 1 กก) เทคนิค/เคล็ดลับในการผลิต ผัดใส้ให้แห้งแล้วต้องยกใส่ภาชนะแล้วรอจนเย็นสนิทค่อยปิดฝาเพื่อการเก็บรักษาและยืดเวลาอายุขนมให้ยาวออกไป ร่อนแป้งให้บางที่สุดเพื่อความอร่อยของขนม ใช้ไฟปานกลางเพื่อให้แป้งสุกดี ไม่ดิบ และไม่ทำให้แป้งไหม้ การยืดอายุขนมอีกวิธีหนึ่ง คือ การใส่น้ำตาลที่ไม่น้อยกว่าอัตราส่วน 1/1 กิโลกรัม แต่ก็สามารถลดปริมาณได้ตามต้องการ และจะต้องแห้งสนิท -ใส่น้ำใบเตยหอมเพิ่มความหอมให้กับขนม ใส่เกลือเล็กน้อยเพื่อเพิ่มรสชาติกลมกล่อมให้กับขนมไม่ให้รสชาติหวานแหลมเกินไป

สักครั้งในชีวิต!??  ท้าให้ลองกิน "บุหงาบุดะ" ขนมพื้นบ้านของคนชั้นสูง ของดีกลุ่มสตรี อบต.บ้านควน ออเดอร์สั่งทำข้ามชายแดนไทยมาเลเซีย..!!

นางชารีด๊ะ โสภี ชำนาญการเจ้าพนักงานประชาสัมพันธ์องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านควน กล่าวว่า หากพูดถึงขนมพื้นบ้านที่ขึ้นชื่ออยู่ในขณะนี้ที่เป็นยอดฮิตของคนสตูล และกลุ่มประชาชนเพื่อนบ้านอย่างประเทศมาเลเซีย เป็นที่รู้จักกัน นั่นคือขนมของสตูล ส่วนใหญ่จะขึ้นต้นด้วยคำว่า “โกย” โกยในที่นี้หมายถึง ขนม คนในพื้นที่จังหวัดสตูล จึงเรียกขนมนี้ว่า “โกยบุดะ” ซึ่งแปลว่าขนมดอกเตย ส่วนคนภายนอกจะรู้จักขนมนี้ในชื่อว่า “บุหงาบูดะ” ซึ่งคำว่า “บุหงาบุดะ” เป็นคำที่เพี้ยนมาจากคำว่า “บุหงาปูดะ” หรือโกยปูดะที่แปลว่า“ขนมดอกเตย” ดอกเตยในที่นี้ คือดอกเตยปาหนันที่ ขึ้นอยู่ตามชายทะเล ทั่วไปผลมีลักษณะเป็นเหลี่ยม ดอกมีสีขาว มีลักษณะคล้ายคลึงกับขนมบุหงาบูดะ ซึ่งในสมัยก่อนขนมนี้จะมีเฉพาะสีขาว ขนมนี้มีมานานกว่าร้อยปี ขนมชนิดนี้เป็นขนมชั้นสูงมีอยู่เฉพาะในวังของเจ้าเมืองอิสลามในสมัยก่อน ขนมชนิดนี้ได้รับอิทธิพลเข้ามาจากประเทศมาเลเซียแต่ปัจจุบันกลับไม่พบขนมนี้ในประเทศมาเลเซีย แต่พบได้ในจังหวัดสตูล และบางอำเภอของจังหวัดสตูล เพราะสตูลมีเขตแดนที่ติดกับมาเลเซียพบมากในอำเภอละงู และในอำเภออื่นๆ บางอำเภอแต่ก็น้อยมากในสมัยนั้นจะใช้ขนมชนิดนี้ใช้ต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองและยังใช้ขนมนี้เป็นขนมที่ใช้ทดสอบหญิงสาวที่จะนำมาเป็นคู่ครอง เพราะเชื่อกันว่าขนมชนิดนี้เป็นขนมที่ทำยาก คนที่ทำขนมนี้ได้จะต้องเป็นคนสุขุม เยือกเย็นเป็นอย่างมากจึงจะได้ขนมที่สวยงามตามต้องการ นอกจากนี้ยังใช้ขนมชนิดนี้ใส่หัวขันหมากในงานมงคลสมรส เพราะขนมชนิดนี้มีลักษณะคล้ายหมอนเปรียบเสมือนการเริ่มใช้ชีวิตคู่ร่วมเรียงเคียงหมอนใช้ชีวิตอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข

 

 

นางชารีด๊ะ โสภี ชำนาญการเจ้าพนักงานประชาสัมพันธ์องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านควน กล่าวอีกว่า ทางอบต.เราส่งเสริมในด้านการต้นทุนในบางสิ่งและช่วยเหลือในการจัดหาตลาดส่งขาย แต่ถือว่าตอนนี้ทางการตลาดกลุ่มผลิตขนมพื้นบ้านเขามีตลาดรองรับแล้ว เราจะช่วยเหลือในการหาพื้นที่อื่นๆให้อีกต่อๆไป


สักครั้งในชีวิต!??  ท้าให้ลองกิน "บุหงาบุดะ" ขนมพื้นบ้านของคนชั้นสูง ของดีกลุ่มสตรี อบต.บ้านควน ออเดอร์สั่งทำข้ามชายแดนไทยมาเลเซีย..!!

ภาพ/ข่าว เอนก   ขันทสิกรรม ผู้สื่อข่าวภูมิภาค สำนักข่าวทีนิวส์ จังหวัดสตูล