ภาษีเราทั้งนั้น 5 รัฐวิสาหกิจโคม่า ทีจี ขสมก. รฟท.หนี้ท่วมหัว

อนาถใจ ถ้าการบินไทย จะเป็นโลว์คอสท์ อ่านรายละเอียดเพจRichman can do

เอาไงดี...?? แก้กันมาทุกรัฐบาล แต่ไม่สำเร็จสักที ยิ่งแก้ยิ่งเหมือนวนในกะลา...!!!

ภาษีเราทั้งนั้น 5 รัฐวิสาหกิจโคม่า ทีจี ขสมก. รฟท.หนี้ท่วมหัว

เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เปิดเผยผลการประชุม คนร. ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานว่า ที่ประชุม คนร.ได้รับทราบความคืบหน้าการดำเนินการแก้ไขปัญหาองค์กรของรัฐวิสาหกิจทั้ง 7 แห่ง ประจำปี 2560 รวมทั้งรับทราบแผนขับเคลื่อนองค์กรระยะยาวและแผนปฏิบัติการปี 2561 ตามที่รัฐวิสาหกิจเสนอ ซึ่งผ่านการพิจารณาของคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหารัฐวิสาหกิจแล้ว

โดย คนร.ได้สั่งการให้ บมจ.การบินไทย (THAI), องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) และการรถไฟแห่งประเทศไทย ( รฟท.) นำเสนอรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ที่จะทำให้ผลประกอบการไม่ขาดทุน และสามารถแก้ไขปัญหาหนี้สินของรัฐวิสาหกิจทั้ง 3 แห่งได้อย่างยั่งยืน โดยเสนอกระทรวงคมนาคมพิจารณาและกำกับการดำเนินงานให้เป็นไปตามเป้าหมายต่อไป

ภาษีเราทั้งนั้น 5 รัฐวิสาหกิจโคม่า ทีจี ขสมก. รฟท.หนี้ท่วมหัว

ทั้งนี้ บมจ.การบินไทย (บกท.) หรือ THAI มีอัตราการขนส่งผู้โดยสาร (Cabin Factor) และการใช้ประโยชน์จากเครื่องบิน (Aircraft Utilization) ดีกว่าค่าเฉลี่ยของคู่แข่ง แต่เนื่องจากธุรกิจด้านการบินมีสภาพการแข่งขันที่รุนแรงยังอาจส่งผลกระทบกับ บกท. ดังนั้น คนร. จึงได้สั่งการให้ บกท.เร่งนำระบบ Revenue Management System (RMS) และระบบ Network Management System (NMS) มาใช้ให้เกิดผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น และควบคุมค่าใช้จ่าย โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายฝ่ายช่าง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการหารายได้และสร้างความสามารถในการแข่งขันของ บกท. โดยคำนึงถึงมาตรฐานความปลอดภัยในการให้บริการด้วย นอกจากนี้ คนร.ยังได้สั่งการให้กระทรวงคมนาคมร่วมกับ บกท. พิจารณารูปแบบในการธุรกิจให้สอดคล้องกับภาวะอุตสาหกรรมในปัจจุบัน และพิจารณาเส้นทางการบินและแบบฝูงบินให้มีความสอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจ รวมทั้งพิจารณาแผนการนำสายการบินไทยสมายล์เพื่อมาสนับสนุนการดำเนินการของ บกท.ด้วย

ด้านองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ได้จัดซื้อรถโดยสาร NGV จำนวน 489 คัน และจัดทำแผนขับเคลื่อนองค์กรในระยะยาวแล้ว โดย คนร. ได้ขอให้ ขสมก. พิจารณากำหนดทิศทางการให้บริการของ ขสมก. ที่ชัดเจนสอดคล้องกับแผนปฏิรูปเส้นทางที่กรมการขนส่งทางบกได้เริ่มดำเนินการแล้ว และเชื่อมโยงกับระบบขนส่งมวลชนประเภทอื่นด้วย เช่น รถไฟฟ้า รถไฟ และทางเรือ เป็นต้น และขอให้ ขสมก. พิจารณาเปิดเผยข้อมูลที่ได้รับจากระบบตรวจสอบและติดตามการเดินรถ (GPS) และ/หรือระบบขนส่งมวลชนอื่นเพื่อให้เป็นข้อมูลที่บุคคลทั่วไปสามารถใช้ในการพัฒนาแอพพลิเคชั่น เพื่อประโยชน์ในการรับบริการของประชาชนได้ (Open Data) นอกจากนี้ คนร. ได้สั่งการให้กรมการขนส่งทางบกกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการประมูลผู้ประกอบการเดินรถเส้นทางใหม่ และกำหนดประเภทรถที่เหมาะสมโดยคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้โดยสารและมาตรการส่งเสริมผู้ประกอบการต่อรถในประเทศให้มีส่วนร่วมด้วย

"ส่วนแผนปรับฐานค่ารถ ขสมก. และบริษัท การบินไทย มีการปรับแผนธุรกิจให้ใกล้เคียงกับสายการบินต้นทุนต่ำ หรือ โลว์คอสต์ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันนั้น ที่ประชุม คนร.มอบให้กระทรวงคมนาคมที่กำกับดูแลไปพิจารณา เมื่อได้ข้อสรุปอย่างไร ให้มารายงาน คนร. ต่อไป" เอกนิติกล่าว

ภาษีเราทั้งนั้น 5 รัฐวิสาหกิจโคม่า ทีจี ขสมก. รฟท.หนี้ท่วมหัว

การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้ลงนามสัญญาการก่อสร้างทางคู่จำนวน 5 เส้นทางแล้ว โดยคาดว่าจะก่อสร้างงานโยธาแล้วเสร็จในปี 2563 และอยู่ระหว่างดำเนินการจัดตั้งบริษัทลูกเพื่อเดินรถและซ่อมบำรุง (Operation& Maintenance) ในโครงการรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) และบริษัทลูกเพื่อบริหารสินทรัพย์ของ รฟท. ทั้งนี้ ในการจัดทำแผนการขับเคลื่อนองค์กรในระยะยาว คนร. ได้สั่งการให้ รฟท. พิจารณากำหนดทิศทางการดำเนินการ ให้สอดคล้องกับภารกิจขององค์กรและภารกิจของกรมการขนส่งทางราง รวมทั้งโครงสร้างของธุรกิจการขนส่งระบบรางในอนาคต นำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน จัดทำฐานข้อมูลทรัพย์สิน และปรับปรุงระบบบัญชีและงบการเงินให้เป็นปัจจุบัน เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาหนี้สินของ รฟท. ได้อย่างยั่งยืน  

ภาษีเราทั้งนั้น 5 รัฐวิสาหกิจโคม่า ทีจี ขสมก. รฟท.หนี้ท่วมหัว

  ด้านการแก้ไขปัญหาของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) หรือ TOT และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT โดยได้จัดทำแผนการแก้ไขปัญหาองค์กรระยะ 10 ปีแล้ว ซึ่ง คนร. ได้สั่งการให้ ทั้งสองบริษัท สร้างความชัดเจนในการนำดิจิทัลมาใช้เพื่อกำหนดทิศทางการให้บริการ รวมทั้งพิจารณาภารกิจการให้บริการโทรคมนาคมของทีโอที และ กสท บริษัทโครงข่ายบรอดแบนด์แห่งชาติ จำกัด (NBN) และบริษัท โครงข่ายระหว่างประเทศ และศูนย์ข้อมูลอินเทอร์เน็ต จำกัด (NGDC) ไม่ให้ซ้ำซ้อนกัน นอกจากนี้ยังมอบหมายให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมกำกับให้ทั้งสองบริษัทดำเนินการถ่ายโอนทรัพย์สินที่จำเป็นต้องใช้ในการประกอบกิจการไปยังบริษัท NBN และบริษัท NGDC ให้เป็นไปตามแผนที่กำหนดภายในเดือนมีนาคม 2561  
ส่วนสถาบันการเงิน ได้ให้ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว. หรือ SME Bank ) ออกจากแผนการแก้ไขปัญหาองค์กร หรือ แผนฟื้นฟู เนื่องจาก 3 ปีที่ผ่านมา ผลการดำเนินงานดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับธนาคารได้บริหารจัดการระบบการทำงานที่ดี มีมาตรฐาน และช่วยแก้ไขปัญหาในอดีต รวมถึงสร้างความยั่งยืนในการประกอบกิจการด้วย ทั้งนี้ ได้มอบหมายให้กระทรวงการคลัง ในฐานะกระทรวงเจ้าสังกัด กำกับติดตามการดำเนินงานของธนาคารต่อไป  
ขณะที่ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ล่าสุดธนาคารได้แยกหนี้ดีและหนี้เสีย และสามารถดำเนินการโอนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือ NPF ในส่วนที่ไม่ใช่มุสลิมไปยังบริษัท บริหารสินทรัพย์ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย จำกัด หรือ ไอแอมแล้ว ด้านการแก้ไขกฎหมายเพื่อให้กระทรวงการคลังสามารถปรับโครงสร้างทางการเงิน หรือ การเพิ่มทุนนั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช. ขณะเดียวกัน คนร.ยังได้กำหนดกรอบเป้าหมายการดำเนินงานของธนาคาร โดยให้มีผลประกอบการเป็นกำไรสุทธิในปี 2561 และให้หาพันธมิตรให้ได้ภายในเดือนมีนาคมนี้