"บิ๊กตู่" ยันได้เลือกตั้งแน่   เอกชนห่วงกระทบลงทุน

ติดตามข่าวสารได้ที่ www.richmancando.com

จดไว้เลย...!!! 

"บิ๊กตู่" ยันได้เลือกตั้งแน่   เอกชนห่วงกระทบลงทุน

วันนี้ (23 มกราคม 2561) เวลา 13.40 น. ณ บริเวณห้องโถง ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีกล่าวภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีถึง พรบ.การเลือกตั้งว่า เป็นการทำงานของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.)  โดยส่วนตัวรับฟังเหตุผลมาตลอด แต่ทั้งนี้ ต้องมีขั้นตอนการพิจารณาอีกหลายขั้นตอน ซึ่งต้องตั้งคณะกรรมการ 3 ฝ่ายพิจารณาร่วมกัน พร้อมกล่าวยืนยันว่า จะมีการเลือกตั้งแน่นอน ส่วนจะเมื่อไหร่นั้น ต้องขึ้นอยู่กับการพิจารณาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

"บิ๊กตู่" ยันได้เลือกตั้งแน่   เอกชนห่วงกระทบลงทุน

นายกรัฐมนตรีกล่าวต่อไปว่า เราต้องทำให้สภามีความเข้มแข็ง ต้องเชื่อมั่น เพราะที่ผ่านมาเราไม่ค่อยเชื่อมั่นต่อสภามากนัก โดนตนเองต้องทำเป็นตัวอย่าง ต้องเชื่อมั่นใน สนช และ กรธ. และจะไม่เข้าไปก้าวล่วงการทำงาน เพราะการก้าวล่วงการทำงานเป็นสิ่งไม่ดี จะทำให้ทุกคนทำงานไม่ได้ พร้อมทั้งต้องรับฟังความคิดเห็นของทุกฝ่าย ซึ่งทุกอย่างเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ
ด้านเอกชน กอบสิทธิ์ ศิลปชัย ผู้บริหารงานวิจัยเศรษฐกิจและตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทย จำกัด(มหาชน) หรือ KBANK เปิดเผยกรณีที่จะมีการเลื่อนเลือกตั้งออกไปจากเดิมที่คาดว่าจะเกิดขึ้นปลายปีนี้ ซึ่งจะส่งผลให้ไทยสูญเสียโอกาสจากการลงทุนทั้งจากในประเทศ และ ต่างประเทศ เนื่องจากนักลงทุนจะให้น้ำหนักการเลือกตั้ง และ ความต่อเนื่องในการดำเนินนโยบายของรัฐบาล

อย่างไรก็ตาม ยังเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจไทยปีนี้จะขยายตัวได้ 4% และ เศรษฐกิจโลกขยายตัวที่ 3.7% หลังจากส่งออกยังขยายตัวได้ดี แม้จะน้อยกว่าประเทศเพื่อนบ้านก็ตาม ประกอบกับ การท่องเที่ยว และ การลงทุนของภาครัฐ และ เอกชน ยังเป็นแรงส่งที่สำคัญ โดยเห็นได้จากอัตราการใช้กำลังการผลิตขยับขึ้นมาอยู่ที่ 64% และ เคยขึ้นไปสูงสุดที่ 68%

"การเลือกตั้งถูกเลื่อนออกไปส่งผลให้เราเสียโอกาสในการลงทุน หากดูจากส่งออกเราเพิ่งมาเกิน 2 หลัก แต่เพื่อนบ้านเกิน 2 หลักมานานแล้ว และ นี่ยังมาเจอการเมืองเข้ามาอีก ก็จะทำให้เม็ดเงินที่เข้ามาลงทุนในไทยลดลง"กอบสิทธิ์ กล่าว

"บิ๊กตู่" ยันได้เลือกตั้งแน่   เอกชนห่วงกระทบลงทุน

สำหรับทิศทางของกระแสเงินทุนที่เข้ามาตั้งแต่ปี 60 ถึงปัจจุบันยังไหลเข้ามาในพันธบัตรสูงถึง 9 แสนล้านบาท จากต้นปี 60 ที่อยู่ 5.5 แสนบ้านบาท โดยแบ่งเป็นพันธบัตรระยะยาว 7.3 แสนล้านบาท และ ระยะสั้น 1.6-1.7 แสนบ้านบาท ซึ่งใกล้เคียงกับระดับสูงสุดในเดือนพ.ค. 56 ที่ตอนนั้นค่าเงินบาทอยู่ที่ระดับ 28.50 บาท/ดอลลาร์

เงินทุนที่ไหลเข้าไทย ส่วนใหญ่ลงทุนในตลาดพันธบัตรเป็นจำนวนมาก เนื่องจากนักลงทุนต่างชาติประเมินไทยเป็นประเทศที่ปลอดภัยในการลงทุน และ มีหนี้สินต่างชาติอยู่ในระดับต่ำ และ มีสถานะเป็นเจ้าหนี้ของประเทศอื่นๆ แต่มองว่าตลาดพันธบัตรจะได้รับแรงกดดันตั้งแต่กลางปีนี้ที่ธนาคารกลางยุโรป(ECB) จะยกเลิก QE และ จะมีการพิจารณาขึ้นดอกเบี้ยในปี 62 ส่งผลให้สภาพคล่องลดลง ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อตลาดพันธบัตร

ส่วนแนวโน้มค่าเงินบาทสิ้นปีนี้คาดว่าจะแข็งค่าขึ้นมาอยู่ที่ 33.00 บาท/ดอลลาร์ จากประมาณการเดิมที่คาดไว้ 34.00 บาท/ดอลาร์ หลังจีนเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงิน ประกอบกับ เงินหยวนคิดเป็น 1% ของเงินทุนสำรองโลก ถึงแม้ว่าเศรษฐกิจจีนจะเป็นอันดับ 2 ของโลก ในขณะที่สหรัฐคิดเป็น 64% ของเงินทุนสำรองโลก

นอกจากนี้ นักลงทุนยังลดความสนใจค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ และ หันมาสนใจสกุลยูโรมากขึ้น หลังตัวเลข PMI ภาคการผลิตและการบริการในยูโรโซนขยายตัวได้ถึงมากกว่า 50 จุด สะท้อนเศรษฐกิจในยูโรโซนที่จะขยายตัวได้มากกว่า 2% ใกล้เคียงกับสหรัฐ

"ต้องยอมรับค่าเงินเราแข็งค่าขึ้นเร็วตั้งแต่ต้นปีมา รองจากค่าเงินริงกิตของมาเลเซีย ซึ่งเป็นผลจากการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างต่อเนื่อง การส่งออกก็ยังเติบโตได้ดี รวมถึงค่าเงินสหรัฐอ่อนค่าลง โดยมองว่าหลังหลุดแนวรับที่ 33.00 บาท/ดอลลาร์ มาตั้งแต่เดือนพ.ย.60 ปัจจุบันเงินบาทอยู่ที่ 31.89 บาท/ดอลลาร์ และ มีแนวโน้มแข็งค่าต่อที่ระดับ 31.20 บาท/ดอลลาร์ ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ จากเดิมมอง 32.30 บาท/ดอลลาร์ รวมถึงเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับต่ำ โดยธปท.มองว่าปีนี้จะอยู่ที่ราว 1.1% ซึ่งถือว่ายังต่ำกว่าเป้าหมาย"กอบสิทธิ์ กล่าว

อย่างไรก็ตาม หากเปรียบเทียบความเสียหายจากการแข็งค่าของเงินบาทตั้งแต่ในปี 59 ที่ระดับ 35.85 บาท/ดอลล่าร์ จนถึงปัจจุบันที่ 32.00-33.00 บาท/ดอลล่าร์ ส่งผลให้ไทยสูญเสียรายได้ในรูปเงินบาทประมาณ 1.2 แสนล้านบาท