ส่อเหลว! งบหนุนประชาสังคมดับไฟใต้ยื้อข้ามปี พบหลายองค์กรปิดโครงการไม่ได้!!

ส่อเหลว! งบหนุนประชาสังคมดับไฟใต้ยื้อข้ามปี พบหลายองค์กรปิดโครงการไม่ได้!!

ภายหลังระเบิดตลาดพิมลชัย จังหวัดยะลา เมื่อวันจันทร์ที่ 22 ม.ค.61 ซึ่งสะท้อนภาพความล้มเหลวการแก้ปัญหาของหน่วยงานภาครัฐ  
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) โดย
นายไกรศร วิศิษฎ์วงศ์  รองเลขาธิการ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.)  ระบุว่า โครงการขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนใต้ ซึ่ง ศอ.บต.ให้การสนับสนุนทุนดำเนินการ 50 ล้านบาทกับองค์กรภาคประชาสังคม ดำเนินการมาตั้งแต่เดือนกันยายนและจะสิ้นสุดโครงการในสิ้นเดือนธันวาคมที่ผ่านมามีความคืบหน้าแล้วไม่ต่ำกว่า 80 เปอร์เซ็นต์นั้น ล่าสุดโครงการดังกล่าว ต้องขยายเวลาสิ้นสุดโครงการออกไปอีก 3 เดือน หลังจากที่คณะทำงานพบว่า  การดำเนินโครงการขององค์กรภาคประชาสังคมจำนวนมากยังไม่แล้วเสร็จ 
 สำหรับโครงการขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนใต้

เป็นการสนับสนุนงบประมาณให้กับองค์กรภาคประชาสังคม ซึ่งผลักดันโดยคณะผู้แทนพิเศษของรัฐบาลโดยให้ ศอ.บต.เป็นกลไกลขับเคลื่อน ซึ่งในปี 2560 นำร่องภายใต้งบประมาณ 50 ล้านบาท เป้าหมายแต่แรกต้องการสนับสนุนองค์กรภาคประชาสังคมที่มีความเข้มแข็งในการบริหารจัดการกิจกรรมและงบประมาณ จำนวนเพียง  50 องค์กร แต่หลังจากเปิดตัวโครงการฯมมีองค์กรภาคประชาสังคมเสนอโครงการเข้ามาถึง 490 องค์กร จึงมีการปรับเกณฑ์พิจารณาองค์กรรับทุนใหม่ เนื่องจากเกรงว่า จะเป็นการเสียมวลชนกับองค์กรที่ไม่ได้รับทุน อย่างไรก็ตามแม้จะคัดกรองแล้วก็ยังมีองค์กรที่ได้รับทุนถึง 223 องค์กร ซึ่งทำให้งบประมาณกลายเป็นเบี้ยหัวแตกและกิจกรรมที่ดำเนินการไม่ได้เกิดผลเชิงการเปลี่ยนแปลงมากนัก 

ส่อเหลว! งบหนุนประชาสังคมดับไฟใต้ยื้อข้ามปี พบหลายองค์กรปิดโครงการไม่ได้!!

ส่อเหลว! งบหนุนประชาสังคมดับไฟใต้ยื้อข้ามปี พบหลายองค์กรปิดโครงการไม่ได้!!
 

 ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ความล่าช้าดังกล่าว จะส่งผลต่อ การดำเนินโครงการในปี 2561 ซึ่ง ศอ.บต.ตั้งเรื่องเสนอของบประมาณอีก 65 ล้านบาท ซึ่งปัจจุบันยังไม่ผ่านการพิจารณาของคณะผู้แทนพิเศษรัฐบาล 
               ทั้งนี้ โครงการขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนใต้ ดำเนินการในกรอบ 10 ประเด็นคือ
1) การรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
2) การอำนวยความยุติธรรมและเยียวยา
3) การสร้างความเข้าใจทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งเรื่องสิทธิมนุษยชน
4) การศึกษา ศาสนา และศิลปวัฒนธรรม
5) การพัฒนาตามศักยภาพของพื้นที่ และคุณภาพชีวิตประชาชน
6) งานขับเคลื่อนนโยบายการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ปี 60-61
7) การแสวงหาทางออกจากความขัดแย้งโดยสันติวิธี
8) งานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
9) งานขับเคลื่อนการพัฒนาโครงการเมืองต้นแบบสามเหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน 
10) งานพัฒนาศักยภาพขององค์กรภาคประชาสังคม