เตือนภัย อันตราย.. ฟองสบู่อสังหาแตก

ติดตามข่าวสารได้ที่ www.richmancando.com

ระวัง... ที่อยู่อาศัยล้นตลาด เอกชนแข่งกันสร้าง ขาดหน่วยงานควบคุมปริมาณ

เตือนภัย อันตราย.. ฟองสบู่อสังหาแตก

ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บริษัท เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส จำกัด (มหาชน) เผยผลการสำรวจตลาดที่อยู่อาศัย ปี 60ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล พบว่า มีจำนวนโครงการเปิดใหม่ 402 โครงการ ลด 51 โครงการ (-11.3%) จากปี 2559 แต่จำนวนหน่วยขายเปิดใหม่ มี 114,477 หน่วย เพิ่ม 3,900 หน่วย (3.5%) จากปี 2559 ซึ่งแสดงว่าการเปิดตัวโครงการใหม่ในแง่หน่วยขายที่เพิ่มขึ้นเท่านี้ ไม่ได้เป็นการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยมีมูลค่าโครงการรวมน 441,661 ล้านบาท เพิ่ม 59,551 ล้านบาท (15.6%) จากปี 2559 นับเป็นการเปิดตัวมูลค่าสูงสุดเป็นประวัติการณ์นับแต่ปี 2537 ที่สำรวจปีแรก ทั้งนี้จะเห็นได้ว่า ราคาขายเฉลี่ยต่อหน่วย 3.859 ล้านบาทในปี 2560 เพิ่ม (11.6%) จากราคา 3.456 ล้านบาท ณ สิ้นปี 2559

เตือนภัย อันตราย.. ฟองสบู่อสังหาแตก

จากการแยกแยะตามกลุ่มที่อยู่อาศัย พบว่าในกลุ่มบ้านเดี่ยว หน่วยขายเปิดใหม่ทั้งปี 2560 จำนวน 10,217 หน่วย ลด 1,929 หน่วย (-19%) จากปี 2559 มีอุปทานเหลือขาย 36,971 หน่วย กลุ่มทาวน์เฮ้าส์ มีหน่วยขายเปิดใหม่ทั้งปี 35,462 หน่วย เพิ่ม 5,530 หน่วย (14%) จากปี 2559 อุปทานเหลือขาย 62,571 หน่วย ส่วนในกลุ่มคอนโดมิเนียม พบว่าหน่วยขายเปิดใหม่ 63,626 หน่วย เพิ่ม 5,276 หน่วย (9%) จากปี 2559 อุปทานเหลือขาย 76,790 หน่วย

ผลการสำรวจพบว่ายอดซื้อในปี 2560 จำนวน 103,579 หน่วย เพิ่ม จากปี 2559 จำนวน 5,426 หน่วย หรือ (5.5%) สถานการณ์ไม่ได้ย่ำแย่ลงกว่าปี 2559 ยังคงมีคนจองซื้อที่อยู่อาศัยที่นำเสนอออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามการจองซื้อนี้ยังต่ำกว่าการเปิดขึ้นของโครงการในแต่ละปีที่ 110,000 หน่วย แสดงให้เห็นว่าอุปทานสะสมยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ส่วนผลการสำรวจของศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย พบว่า ณ สิ้นปี 2560 อุปทานคงเหลือเพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2559 ประมาณ 5.9% คือเพิ่มจาก 184,329 หน่วย ณ สิ้นปี 2559 เพิ่มเป็น 195,227 หน่วย (เพิ่ม 10,898 หน่วย) การสะสมของหน่วยขายคงเหลือเช่นนี้ เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการพัฒนาที่ดินต้องให้ความใส่ใจเป็นพิเศษ เพราะในขณะที่แต่ละบริษัทเร่งเปิดขายสินค้าใหม่ แต่ยังมีสินค้าเดิมรอการขายอยู่เป็นจำนวนมาก อาจสร้างปัญหาให้กับผู้ประกอบการเองในเวลาต่อมา

เตือนภัย อันตราย.. ฟองสบู่อสังหาแตก

ณ สิ้นปี 2560 ในการเปรียบเทียบระหว่างบริษัทมหาชนและบริษัทนอกตลาดหลักทรัพย์พบว่า ภาพรวมของทั้งตลาด ณ สิ้นปี 2560 พบว่า บริษัทมหาชนและบริษัทในเครือมีส่วนแบ่งตลาดประมาณ 70% ของมูลค่าการพัฒนาทั้งหมด บริษัทเล็กๆ มีส่วนแบ่งตลาดน้อยเพียง 30% เท่านั้น ตลาดได้รับการครองครองโดยรายใหญ่ ๆ ในตลาด

สำหรับโครงการที่เปิดตัวใหม่เฉพาะในปี 2560 พบว่าบริษัทมหาชนและบริษัทในเครือมีส่วนแบ่งตลาดประมาณ 78% ของมูลค่าการพัฒนาทั้งหมด บริษัทเล็กๆ มีส่วนแบ่งตลาดน้อยเพียง 22% เท่านั้น นี่แสดงว่าบริษัทมหาชนรุกคืบครอบงำบริษัทนอกตลาดอย่างชัดเจน ในจำนวนหน่วยเหลือขาย 195,227 หน่วยนั้น เป็นของบริษัทมหาชน 132,002 หรือประมาณ 68% แสดงว่าสินค้าของบริษัทมหาชนขายได้ดีกว่าบริษัททั่วไปอยู่ในระดับหนึ่ง บริษัทนอกตลาดจำนวนหนึ่งจะประสบปัญหามากขึ้นกว่าแต่ก่อน

หากจัดอันดับการพัฒนาที่ดินจะพบว่า บมจ.พฤกษา เรียลเอสเตท ยังคงเปิดตัวโครงการใหม่มากที่สุด ถึง 54 โครงการ 19,874 หน่วย รวมมูลค่าถึง 51,504 ล้านบาท ถือเป็นอันดับหนึ่งมาตลอดช่วง 10 ปีที่ผ่านมา จำนวนหน่วยนี้มีขนาดถึง 17.4% ของทั้งตลาด ส่วนมูลค่าก็เป็นประมาณ 11.7% ของทั้งตลาดเช่นกัน บริษัทอันดับที่สองคือ บมจ.เอพี (ไทยแลนด์) ซึ่งถึงแม้จะเปิดตัวโครงการน้อยกว่าถึงหนึ่งเท่าตัว (27 โครงการ) และมีจำนวนหน่วยเพียง 10,150 หน่วย อันดับที่ 3 คือ บมจ.แอลพีเอ็นดีเวลลอปเม้นท์ ในด้านจำนวนหน่วย คือ 6,336 หน่วย รวมมูลค่า 16,485 ล้านบาท (หน่วยละ 2.6 ล้านบาท) ทั้งนี้พบว่าบริษัทที่พัฒนาสินค้าราคาแพง มีสัดส่วนในตลาดมากขึ้นกว่าแต่ก่อน

สำหรับ ในปี 2561 คาดว่าตลาดยังคงไปในทิศทางเดิมคือ จำนวนหน่วยไม่เพิ่มขึ้น แต่มูลค่ายังเพิ่มสูงขึ้น เพราะตลาดระดับบนยังสามารถขายได้ ก็จะทำให้เกิดฟองสบู่ต่อเนื่อง การที่ตลาดยังโตเนื่องจากไม่มีการควบคุมอุปทาน ผู้ประกอบการรายใหญ่อาศัยหุ้นกู้ที่มีต้นทุนทางการเงินต่ำมาเปิดขายโครงการมากขึ้นเรื่อย ๆ ในขณะที่สินค้าหรืออุปทานคงเหลือก็ยังเพิ่มขึ้นไม่หยุดหย่อน และหากไม่มีการดำเนินการใด ๆ ก็อาจทำให้ตลาดเกิดภาวะฟองสบู่แตกในปี 2562-2563 ได้ ผู้เกี่ยวข้องจึงพึงระมัดระวัง