กสร. โต้ฮิวแมนไรท์วอทช์ ย้ำไทยแก้ค้ามนุษย์ในประมงจริงจัง ดูแลแรงงานไทย-ต่างด้าวเท่าเทียม

กสร. โต้ฮิวแมนไรท์วอทช์ ย้ำไทยแก้ค้ามนุษย์ในประมงจริงจัง ดูแลแรงงานไทย-ต่างด้าวเท่าเทียม

กสร. โต้ฮิวแมนไรท์วอทช์ ย้ำไทยแก้ค้ามนุษย์ในประมงจริงจัง ดูแลแรงงานไทย-ต่างด้าวเท่าเทียม

 

 

กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน โต้ฮิวแมนไรท์วอทซ์ ย้ำประเทศไทยแก้ปัญหาค้ามนุษย์ในกิจการประมงอย่างจริงจัง เน้นตรวจบังคับใช้กฎหมาย ดูแลแรงงานไทย แรงงานต่างด้าวเท่าเทียม พร้อมเปิดโอกาสให้เข้าร่วมสหภาพเรียกร้องสิทธิ

 นายอนันต์ชัย อุทัยพัฒนาชีพ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) เปิดเผยถึง กรณี         ฮิวแมนไรท์วอทช์ เผยแพร่รายงานชื่อ “โซ่ที่ซ่อนไว้: การปฏิบัติมิชอบด้านสิทธิและแรงงานบังคับในอุตสาหกรรมประมงไทย” โดยระบุว่าประเทศไทยมีข้อบกพร่องเกิดขึ้นมากมายในการดำเนินงานนั้น ซึ่งข้อเท็จจริงแล้ว กระทรวงแรงงาน โดยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ให้ความสำคัญกับประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสิทธิแรงงานไทยและแรงงานต่างด้าว การแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย การค้ามนุษย์ และการใช้แรงงานบังคับโดยได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่ง กสร. ได้ร่วมกับตำรวจ ทหาร กรมประมง กรมการจัดหางาน    ศรชล. และศปมผ. ในการตรวจแรงงานในเรือประมง ทั้งก่อนทำประมง ขณะทำประมง และหลังทำประมง ตั้งแต่ปี 2558 -2560 พบการกระทำผิด 110 ลำ และได้ดำเนินคดีทางอาญากับเรือที่กระทำผิดแล้ว ทั้งนี้  กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ได้กำหนดให้การจ้างงานในกิจการประมงต้องทำเป็นลายลักษณ์อักษร และต้องได้รับค่าตอบแทนเป็นรายเดือน โดยสัญญาจ้างต้องทำเป็น 2 ชุด ให้ลูกจ้างเก็บไว้ 1 ชุด หากไม่ทำสัญญาจ้างลูกเรือจะไม่ได้รับอนุญาตให้ลงเรือประมง ซึ่งเมื่อมีการตรวจแรงงาน พนักงานตรวจแรงงาน       จะตรวจสอบโดยจะสอบข้อเท็จจริงและตรวจสอบพยานหลักฐานที่เป็นเอกสารจากทั้งฝ่ายนายจ้างและลูกจ้าง ซึ่งหากพบว่านายจ้างปฏิบัติไม่ถูกต้องก็จะมีความผิดตามกฎหมาย โดยมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับ ไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

กสร. โต้ฮิวแมนไรท์วอทช์ ย้ำไทยแก้ค้ามนุษย์ในประมงจริงจัง ดูแลแรงงานไทย-ต่างด้าวเท่าเทียม

ภาพนี้ใช้เป็นภาพประกอบเท่านั้น

 

อธิบดี กสร. กล่าวต่อไปว่า นอกจากการคุ้มครองสิทธิของแรงงานตามกฎหมายแล้ว พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 เปิดโอกาสให้แรงงานข้ามชาติเข้าเป็นสมาชิกของสหภาพแรงงานได้ภายใต้นายจ้างหรือสถานประกอบกิจการประเภทเดียวกัน เพื่อเรียกร้องสิทธิประโยชน์ผ่านสหภาพแรงงานที่ตนเป็นสมาชิกได้ กรณีที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมในการจ้างงาน ก็สามารถเรียกร้องสิทธิของตนเองได้เช่นเดียวกับแรงงานไทยโดยยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานซึ่งมีหน้าที่ในการคุ้มครองให้ได้รับสิทธิตามกฎหมายรวมถึงดูแลไม่ให้มีการบังคับใช้แรงงานหรือการค้ามนุษย์ด้านแรงงานด้วย