ฝืนได้ไม่นาน รู้กันหรือยัง นายจ้างยอมแล้ว....

ติดตามข่าวสารได้ที่ www.richmancando.com

หมูไป ไก่มา... ทำไมผู้ประกอบการเอสเอ็มอี เลิกค้าน กรณีปรับขึ้นค่าจ้างรายวัน .....

ฝืนได้ไม่นาน รู้กันหรือยัง นายจ้างยอมแล้ว....

ณพพงศ์ ธีระวร ประธานสมาพันธ์ เอสเอ็มอีไทย เปิดเผยว่า การที่คณะกรรมการค่าจ้างได้ปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศ5-22 บาท และกระทรวงการคลังเตรียมเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ออกมาตรการช่วยเหลือเอสเอ็มอีที่มียอดขายไม่เกิน 100 ล้านบาท/ปี ที่ปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำให้ กับลูกจ้างรายวันให้นำค่าใช้จ่ายจากค่าจ้างทั้งหมดมาหักลดหย่อนภาษีได้......1.15 เท่า ถือว่ามาตรการของกระทรวงการคลังช่วยบรรเทาผลกระทบให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่มีต้นทุนเพิ่มขึ้นได้
 

ฝืนได้ไม่นาน รู้กันหรือยัง นายจ้างยอมแล้ว....

จากก่อนหน้านี้อภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า คลังจะเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) สัปดาห์หน้า (30 มกราคมนี้) พิจารณาเห็นชอบมาตรการบรรเทาผลกระทบให้ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่มียอดขายไม่เกิน 100 ล้านบาทต่อปี และมีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำให้กับลูกจ้าง ให้สามารถนำค่าใช้จ่ายจากค่าจ้างทั้งหมดมาหักลดหย่อนภาษีได้ 1.15 เท่า จากเดิมนำค่าใช้จ่ายมาหักลดหย่อนได้ 1 เท่า โดยมีผลในช่วงวันที่ 1 เม.ย.-31 ธ.ค.61
"เศรษฐกิจเริ่มดี ผู้ประกอบการก็มีรายได้ดีขึ้น แต่ก็ไม่ควรเก็บไว้คนเดียว ต้องมีการกระจายรายได้ออกไปด้วย แรงงานก็ควรได้รับผลตอบแทนที่ดี จากที่ผ่านมาในช่วง 4 ปี ค่าแรงเพิ่มขึ้นแค่ 4% หรือเฉลี่ยปีละ 1% ซึ่งถือว่าต่ำมาก" รัฐมนตรีคลังระบุ

ฝืนได้ไม่นาน รู้กันหรือยัง นายจ้างยอมแล้ว....

สุวรรณชัย โลหะวัฒนกุล ผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ สสว. เปิดเผยว่า ภายหลังประกาศปรับขึ้นค่าแรงงานขั้นต่ำ สสว. ได้ดำเนินการศึกษาโครงสร้างต้นทุนค่าแรงจากตารางปัจจัยการผลิตและผลผลิต พบว่าอัตราส่วนการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำร้อยละ 1 จะส่งผลให้ต้นทุนค่าแรงงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.16 ดังนั้นการปรับขึ้นค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำในอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 จึงส่งผลให้ต้นทุนค่าแรงงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.54 ทำให้ต้นทุนสินค้าขยับตัวขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 0.05 ซึ่งนับว่ามีผลกระทบต่อต้นทุนสินค้าไม่มาก โดยปัจจุบันต้นทุนค่าแรงงานเฉลี่ยของ SMEs อยู่ที่ร้อยละ 12.0 โดยภาคบริการมีต้นทุนค่าแรงงานสูงสุดร้อยละ 21.8 ภาคการผลิตร้อยละ 13.7 และภาคการค้าร้อยละ 9.6 ซึ่งสอดคล้องกับผลการสำรวจข้อมูลผู้ประกอบการ SMEs ใน 74 จังหวัดทั่วประเทศ
โดยศูนย์ให้บริการเอสเอ็มอีครบวงจร สสว. (One Stop Service Center : OSS) พบว่า ผู้ประกอบการ SME ส่วนใหญ่เห็นว่าอัตราค่าจ้างที่ปรับขึ้นเพิ่มขึ้นอยู่ในระดับที่สามารถยอมรับได้ แม้จะมีภาระต้นทุนที่สูงขึ้นบ้าง แต่เนื่องจากเป็นธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม มีสัดส่วนต้นทุนแรงงานน้อย และในบางพื้นที่อัตราค่าจ้างแรงงานอยู่ในระดับที่สูงกว่าค่าแรงขั้นต่ำ เนื่องจากเป็นการจ้างแรงงานที่ใช้ทักษะฝีมือเป็นหลัก อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงทั้งการเพิ่มขึ้นของต้นทุนและสถานการณ์การแข่งขันในตลาดโลกที่เปลี่ยนแปลงไป อาทิ การนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมปรับใช้ในการผลิตสินค้าและบริการ การวางแผน กลยุทธ์ด้านราคา การปรับโมเดลในการดำเนินธุรกิจ หรือการเพิ่มประสิทธิภาพในด้านอื่น ๆ โดย สสว. มีโครงการต่าง ๆ พร้อมรองรับและสนันบสนุนการปรับตัวของ SME ให้สามารถเติบโตได้ตามวงจรธุรกิจอย่างยั่งยืน อาทิ โครงการส่งเสริมพัฒนาตลาดอิเล็กทรอนิกส์ โครงการ SME One โดยพัฒนาเว็บไซต์ www.sme1.info ซึ่งเป็นแหล่งรวบรวมข่าวสาร องค์ความรู้และกิจกรรมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับ SME ซึ่งขณะนี้เปิดทดลองให้บริการแล้ว เป็นต้น