เพราะอะไร "ฉาย บุนนาค" จึงมองว่า "โพลล์นาฬิกาหรู" คือวิถีคิดบุคคลแต่สร้างความเสื่อมเสียอย่างน่าเศร้า!??

เพราะอะไร "ฉาย บุนนาค" จึงมองว่า "โพลล์นาฬิกาหรู" ของพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม คือวิถีคิดบุคคลแต่สร้างความเสื่อมเสียอย่างน่าเศร้า!??

เพราะอะไร "ฉาย บุนนาค" จึงมองว่า "โพลล์นาฬิกาหรู" คือวิถีคิดบุคคลแต่สร้างความเสื่อมเสียอย่างน่าเศร้า!??

 

กลายเป็นประเด็น Talk of the town ขึ้นมาทันทีเมื่อ นายอานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ ผู้อำนวยการศูนย์สำรวจความคิดเห็นนิด้าโพล ส่งข้อมูลถึงสื่อมวลชนทุกแขนง มีใจความสำคัญว่าถูกปิดกั้นการทำหน้าที่จึงตัดสินใขขอลาออก ก่อนจะมีการขยายความในเวลาต่อมาว่าเป็นประเด็นเกี่ยวเนื่องกับการสำรวจความคิดเห็นประชาชนว่าด้วยประเด็นร้อนๆ จากเรื่องนาฬิกาของพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ซึ่งกำลังอยู่ในขั้นตอนตรวจสอบจากหน่วยงานรับผิดชอบโดยตรงอย่าง "ปปช."

เพราะอะไร "ฉาย บุนนาค" จึงมองว่า "โพลล์นาฬิกาหรู" คือวิถีคิดบุคคลแต่สร้างความเสื่อมเสียอย่างน่าเศร้า!??

เพราะอะไร "ฉาย บุนนาค" จึงมองว่า "โพลล์นาฬิกาหรู" คือวิถีคิดบุคคลแต่สร้างความเสื่อมเสียอย่างน่าเศร้า!??

 

 

ล่าสุด ฉาย บุนนาค ได้แสดงมุมมองความเห็นอย่างแตกต่างกับกระแสสังคม ด้วยเหตุและผลที่มีส่วนสำคัญทำให้สาธารณชนเข้าใจประเด็นที่เกิดขึ้นชัดเจนมากกว่าเดิมว่า... ในการเมืองทุกยุคทุกสมัย ผู้นำทุกคน ไม่ว่าจะอยู่ในระบอบอะไร ไม่ว่าจะมาจากการเลือกตั้งหรือไม่ ก็ล้วนแต่ต้องการคะแนนนิยมจากประชาชนทั้งสิ้น… อย่างน้อยที่สุดก็เพื่ออ้างความชอบธรรมในการปกครอง

และการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในประเด็นต่างๆ หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า “การทำโพลล์” นั้น จึงกลายเป็นเครื่องมือวัดค่าและรวบรวมข้อมูลต่างๆ ที่ขาดไม่ได้สำหรับทุกรัฐบาล ด้วยเหตุนี้ “นักทำโพลล์” หลายสำนักจึงกลายเป็น “ผู้ทรงอิทธิพล” ไปโดยปริยาย...

 

เพราะอะไร "ฉาย บุนนาค" จึงมองว่า "โพลล์นาฬิกาหรู" คือวิถีคิดบุคคลแต่สร้างความเสื่อมเสียอย่างน่าเศร้า!??

 

 

โพลล์” (Poll) มีรากศัพท์ของภาษาเยอรมันโบราณ หมายถึง “หัว” ในการนับหัว เกิดขึ้นครั้งแรกปี ค.ศ.1824 ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ในรัฐเพนซิลเวเนีย ในการเลือกตั้งระหว่างนายแอนดรูว์ แจ๊คสัน และนายจอห์น ควินซี่ อดัมส์
นักวิชาการต่างประเทศ แบ่งแยกคุณภาพของโพลล์ไว้ 3 ประเภท คือ “โพลล์ที่ดี” “โพลล์ที่แย่” และ “โพลล์ที่น่ารังเกียจ” ซึ่งถูกจัดทำอย่าง “ไร้ความเป็นมืออาชีพ”


เราไม่จำเป็นต้องเป็นอัจฉริยะด้านสถิติ หรือด้านคณิตศาสตร์ ก็สามารถประเมินคุณภาพของการทำโพลล์เองได้ โดยสังเกตแค่ 2 ประเด็นหลัก คือ “การตั้งคำถาม” และ “จุดประสงค์ที่แท้จริง (ธง)” ของสปอนเซอร์ของโพลล์นั้นๆ (หากมี)...
ส่วนเรื่องหลักวิธีการสุ่ม กลุ่มเป้าหมายและจำนวนกลุ่มตัวอย่างนั้น ก็เป็นปัจจัยที่ควรวิเคราะห์เช่นกัน - ฉาย บุนนาค กล่าว

 

ผมชื่นชมและเคยอ่านบทความของ ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556

 

ในบทความของท่านว่าด้วยเรื่องของการทำ “โพลล์” ...
ท่านเคยระบุปัญหาในการเลือกคำที่ใช้ในการถามสำหรับการสำรวจความคิดเห็นสาธารณะ (โพลล์) ... “การรู้จักถามหรือปุจฉานี้ เป็นหนี่งในสี่หัวใจนักปราชญ์ สุ จิ ปุ ลิ การตั้งคำถามให้ดีนั้น  สำคัญเท่าๆ กับการหาคำตอบ หากไม่รู้จักตั้งคำถามที่ดีแล้วก็ยังไม่มีวันได้คำตอบที่ดีได้... การทำโพลล์ก็เช่นกัน ต้องรู้จักที่จะตั้งคำถามให้ถูกต้องเหมาะสม ถ้าถามด้วยการใช้คำพูดแตกต่างกัน ออกไปผลลัพธ์ที่ได้ก็แตกต่างกัน”

 

เพราะอะไร "ฉาย บุนนาค" จึงมองว่า "โพลล์นาฬิกาหรู" คือวิถีคิดบุคคลแต่สร้างความเสื่อมเสียอย่างน่าเศร้า!??

 

และท่านยังมีการเตือนให้ระมัดระวัง และรู้เท่าทันคำถามในโพลล์ที่อาจจะกระทบด้านจิตวิทยา ซึ่งถือมีประโยชน์มากๆ สำหรับผู้อ่าน เช่น  ทฤษฎี “Framing Effect” หรือผลของการใช้กรอบความคิดที่แตกต่างกันส่งผลต่อคำตอบ และ ทฤษฎี “Order  Effect” ซึ่งเป็นผลมาจากทั้งเรื่องของความจำที่มนุษย์ที่เรามักจะจำสิ่งที่นำเสนอไปตอนต้นๆ หรือตอนท้ายๆ ได้มากกว่า (Primacy or Recency Effect)
หากแต่ “คำถาม” ในผลสำรวจความคิดเห็น (โพลล์) ที่คุณประดิษฐ์ วรรณรัตน์ อธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) สั่งระงับนั้น มีเนื้อหาดังนี้

1.เพื่อนสนิทเคยให้ยืมนาฬิกาหรูหรือไม่... ซึ่งผลสำรวจร้อยละ 90 บอกว่า ไม่เคย

2.ผู้ถือครองนาฬิกาบอกว่าเพื่อนให้ยืมมา คิดว่าพูดจริงหรือไม่... คำตอบส่วนใหญ่คือ ไม่เชื่อ

3.คิดว่าคนที่พูดโกหกมีแนวโน้มการทุจริตหรือไม่ ... คำตอบส่วนใหญ่คือ ใช่

4.รับได้หรือไม่ที่รุ่นน้องช่วยรุ่นพี่ปกปิดเรื่องดังกล่าว ... คำตอบคือ รับไม่ได้

คำถามเหมาะสม ? คำถามปลายปิด? คำถามชี้นำ? คำถามสร้างสรรค์? วิญญูชนพึงตอบ...

แม้ “นิด้าโพล” มีหน้าที่ต้องสะท้อนความคิดเห็นของสังคมอย่างตรงไปตรงมาและซื่อสัตย์

แม้นักวิชาการ (ประชาชน) ควรมีสิทธิเสรีภาพและไม่ควรถูกแทรกแซง

แม้เกียรติเป็นสิ่งที่ฟรีในการมอบให้แก่กัน
แต่ความกล้าหาญทางจริยธรรม ไม่ใช่การบ่อนทำลายความมั่นคงชาติ โดยเพิ่มความแตกแยกในสังคมดั่งที่ผ่านมา... ไม่ใช่การกดดันกระบวนการยุติธรรม

ไม่ควรมีประชาชนคนใด ถูกพิพากษาทางความคิดที่มี “อคติ” และปราศจากหลักฐาน

โพลล์เป็นเพียงแค่ความรู้สึกไม่ใช่ข้อเท็จจริง

“อัตตา”... ความยึดมั่น ถือมั่นว่า ตัวเราเป็นของเรา เป็นสิ่งเที่ยงแท้ เป็นศูนย์กลางแห่งสรรพสิ่ง เป็นความจริงในพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าเรียกว่า  “สัสสตทิฐิ” ถือเป็น “มิจฉาทิฐิ” อย่างหนึ่ง และเป็นรากฐานแห่งความทุกข์ทั้งปวง

โดยสรุปไม่ว่าโพลล์นี้จะเพื่อเสรีภาพทางวิชาการหรือเพื่ออัตตาของผู้จัดทำ “เหตุ” จากโพลล์นี้ได้ก่อ “ผล”ความเสื่อมเสียต่อภาพลักษณ์ NIDA และรัฐบาลชุดนี้อย่างน่าเศร้าใจ…

 

เพราะอะไร "ฉาย บุนนาค" จึงมองว่า "โพลล์นาฬิกาหรู" คือวิถีคิดบุคคลแต่สร้างความเสื่อมเสียอย่างน่าเศร้า!??

 

………………

คอลัมน์ : ฉาย บุนนาค /หน้า 18 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ / ฉบับ 3336

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

เดินเครื่องรุกเต็มสูบ!! บอร์ด NMG อนุมัติแต่งตั้ง "ฉาย บุนนาค" นำทัพเนชั่นกรุ๊ป - Tnews

ตัวร้าย..แห่งตลาดหุ้น!! อีกหนึ่งประสบการณ์ชีวิต"ฉาย บุนนาค"ย้อนอดีตผ่านมาเจอหมดสารพัดคำปรามาส"นักปั่นหุ้น??"จนรู้ทุกกระบวนท่าลงทุน(ไม่)ขาดทุน!?!  - Tnews

จับผิด! “บิ๊กป้อม” ใส่นาฬิกาเพื่อนไปงานศพเพื่อน - SpringNews

- โผล่อีก! นาฬิกาหรูเรือนที่ 13 และ 14 ของบิ๊กป้อม - SpringNews

- 'ฉาย บุนนาค' กุมบังเหียนเครือเนชั่น นำองค์กรฝ่าวิกฤติ - NationTV