ประยุทธ์ นั่งหัวโต๊ะ เคาะกรอบวงเงิน 1.03 ล้านล้านบาท ชง 221 โครงการเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานปรับปรุงท่องเที่ยวในอีอีซี

ติดตามข่าวสารได้ที่ www.deepsnews.com

ตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล นายอุตตม สาวนายน รมว.อุตสาหกรรม แถลงผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ เป็นประธานว่า  ที่ประชุมได้เห็นชอบแผนปฏิบัติการโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อรองรับการพัฒนา EECโดยตามแผนดังกล่าว จะมุ่งพัฒนาระบบโลจิสติกส์ใน EECแบบไร้รอยต่อ เชื่อมโยงทั้งทางบก น้ำ อากาศ  ตามแผนดังกล่าว จะประกอบด้วยโครงการระยะสั้น กลาง ยาว รวมทั้งสิ้น  168 โครงการวงเงิน 1 ล้านล้านบาท แบ่งเป็น เงินงบประมาณรัฐ  30% งบรัฐวิสาหกิจ 10%  งบรัฐร่วมทุนเอกชน หรือ (PPP) 60% แบ่งเป็นโครงการระยะเร่งด่วน จากปี 2560-2561 จำนวน 99 โครงการ วงเงิน 2.92 แสนล้านบาท อาทิ รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน, มอเตอร์เวย์พัทยา-มาบตาพุด, ท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 และท่าเรือมาบตาพุด ระยะที่ 3

ประยุทธ์ นั่งหัวโต๊ะ เคาะกรอบวงเงิน 1.03 ล้านล้านบาท ชง 221 โครงการเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานปรับปรุงท่องเที่ยวในอีอีซี

ประยุทธ์ นั่งหัวโต๊ะ เคาะกรอบวงเงิน 1.03 ล้านล้านบาท ชง 221 โครงการเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานปรับปรุงท่องเที่ยวในอีอีซี
 

โครงการระยะกลาง เริ่มจากปี 2562 ถึงปี 2564 จำนวน 62 โครงการ วงเงิน 4.14 แสนล้านบาท อาทิ รถไฟทางคู่แหลมฉบัง-ตราด, รันเวย์ที่ 2 ของท่าอากาศยานอู่ตะเภา, มอเตอร์เวย์แหลมฉบัง-ปราจีนบุรี และโครงการระยะยาว ตั้งแต่ปี 2565 เป็นต้นไป จำนวน 7 โครงการ วงเงิน 2.52 แสนล้านบาท เช่น รถไฟเชื่อม EEC ไปกัมพูชา, มอเตอร์เวย์ชลบุรี-อ.แกลง

นายอุตตมกล่าวต่อว่า ในที่ประชุมฯ วันนี้ยังได้อนุมัติแผนปฏิบัติการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่EEC เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 47 ล้านคน จาก 30 ล้านคนในปัจจุบัน และจะทำให้ประชาชนมีรายได้จากการท่องเที่ยว กว่า 5 แสนล้านบาท จาก 3 แสนล้านบาทในปัจจุบัน หลังจากที่ระบบคมนาคมใน EEC สมบูรณ์ 
ตามแผนปฏิบัติการดังกล่าว จะมีโครงการภายใต้แผนฯ 53 โครงการ กรอบวงเงินกว่า 3 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็น เงินงบประมาณของรัฐ  25% งบรัฐวิสาหกิจ 1% และงบรัฐร่วมทุนกับเอกชน(PPP) อีก 74%

“ มีการประเมินจากสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) ว่า จากการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานดังกล่าวจะทำให้ไทยลดต้นทุนได้ 2% ของจีดีพี หรือประมาณ 2 แสนล้านบาท  ขณะเดียวกันก็ทำให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจประมาณ 2-3 ล้านล้านบาท” รมว.อุตสาหกรรมกล่าวและว่า  ในส่วนของร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(EEC) คาดจะเสร็จในชั้นของกรรมาธิการในสัปดาห์นี้ จากนั้นจะเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) วาระที่ 3 จากนั้นจะเข้าสู่การขั้นตอนการประกาศเป็นกฎหมายต่อไป 
 

ประยุทธ์ นั่งหัวโต๊ะ เคาะกรอบวงเงิน 1.03 ล้านล้านบาท ชง 221 โครงการเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานปรับปรุงท่องเที่ยวในอีอีซี

ประยุทธ์ นั่งหัวโต๊ะ เคาะกรอบวงเงิน 1.03 ล้านล้านบาท ชง 221 โครงการเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานปรับปรุงท่องเที่ยวในอีอีซี

ด้านนายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก กล่าวว่า ที่ประชุมวันนี้ รับทราบการส่งเสริมการลงทุนใน EEC ปี 2560 อยู่ที่ 2.97 แสนล้านบาท และได้เห็นชอบเป้าหมายการลงทุนปี 2561 ที่ 3 แสนล้านบาท และตั้งเป้าว่าการลงทุนใน EEC จะอยู่ที่ 5 แสนล้านบาทใน 5 ปี เฉลี่ยปีละแสนล้านบาท ซึ่งเป็นเป้าหมายขั้นต่ำ  นอกจากนี้ที่ประชุมยังเห็นชอบการประกาศเขตส่งเสริมนิคมอุตสาหกรรมเป้าหมายเพิ่มเติมอีก 19 แห่ง ในพื้นที่ 29,200 ไร่ ใน 3 จังหวัดในพื้นที่ EEC
 
“  ด้านความคืบหน้าเรื่องโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ยืนยันว่ายังอยู่ในกรอบเดิม ไม่เกินครึ่งปีนี้ น่าจะออกTOR ได้  และปลายปีจะได้ผู้ประกอบการที่เข้ามารับผิดชอบทั้งหมด ขณะนี้ ถือว่าทุกอย่างมีความพร้อม ประกาศกฎหมายก็มีความพร้อม พื้นที่ก็มีความพร้อม มาตรการช่วยเหลือต่างๆ ก็มีความพร้อม ทั้งนี้ นายกฯ บอกว่าอย่ามองเรื่องการพัฒนา EEC อย่างเดียว ให้มองแผนโลจิสติกส์ของทั้งประเทศเชื่อมโยงเข้าไปด้วย แต่เรื่องของEEC ก็ต้องทำให้เสร็จให้เร็ว” นายคณิศกล่าว

ประยุทธ์ นั่งหัวโต๊ะ เคาะกรอบวงเงิน 1.03 ล้านล้านบาท ชง 221 โครงการเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานปรับปรุงท่องเที่ยวในอีอีซี

ประยุทธ์ นั่งหัวโต๊ะ เคาะกรอบวงเงิน 1.03 ล้านล้านบาท ชง 221 โครงการเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานปรับปรุงท่องเที่ยวในอีอีซี