อมพระมาพูด เมล์NGVโปร่งใส..? กังขาฐานะการเงิน ช ทวี

ติดตามข่าวสารได้ที่ www.richmancando.com

กลิ่นทะแม่ง ๆ  เอาละสิ ขสมก.ยันโปร่งใส แต่โยนบาปให้รัฐ  รีบเซ็นตามนโยบาย.....

อมพระมาพูด เมล์NGVโปร่งใส..? กังขาฐานะการเงิน ช ทวี

ขณะที่ฝ่ายภาครัฐ ขสมก.ออกมายืนยันถึงความโปร่งใสจัดซื้อรถเมล์เอ็นจีวี โดย ประยูร ช่วยแก้ว รองผู้อำนวยการฝ่ายการเดินรถองค์การ รักษาการผู้อำนวยการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ออกหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงกรณี วัชระ เพชรทอง อดีต สส.พรรคประชาธิปัตย์ ร้องเรียนนายกรัฐมนตรี ให้ตรวจสอบความโปร่งใสของการจัดซื้อรถเมล์ NGV ว่า เนื่องจาก ขสมก. มีความจำเป็นเร่งด่วนตามนโยบายของรัฐ ให้เร่งจัดหารถโดยสารใหม่ทดแทนรถเดิมอย่างรวดเร็ว ประกอบกับกรมการขนส่งทางบกได้จัดสรรเส้นทางเดินรถให้องค์การจัดรถโดยสารเข้าเดินรถตามเส้นทางที่ได้รับจัดสรร ซึ่งองค์การมีรถโดยสารไม่เพียงพอที่จะนำมาวิ่งในเส้นทาง อีกทั้งองค์การได้ดำเนินการจัดหามาแล้ว จำนวน 7 ครั้ง ยังไม่ประสบผลสำเร็จ จึงได้ดำเนินการตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560 ข้อ 75 ซึ่งกำหนดว่า “หากปรากฏว่ามีผู้ยื่นข้อเสนอเพียงรายเดียว หรือมีผู้ยื่นข้อเสนอหลายราย แต่ถูกต้องตรงตามเงื่อนไขที่กำหนดในหนังสือเชิญชวนเพียงรายเดียว ให้คณะกรรมการดำเนินการตามข้อ 56 โดยอนุโลม” โดย ขสมก.ได้ดำเนินการตามระเบียบทุกขั้นตอน

อมพระมาพูด เมล์NGVโปร่งใส..? กังขาฐานะการเงิน ช ทวี

ดังนั้น ขสมก. ยืนยันว่า จัดซื้อรถโดยสาร NGV  489 คัน ได้ดำเนินการตามพระราชบัญญัติ จัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 และระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560 ข้อ 74 ด้วยวิธีคัดเลือก โดยเชิญผู้ประกอบการ จำนวน 11 รายเข้ายื่นข้อเสนอปรากฏว่ามี ผู้เสนอราคาเพียงรายเดียว คือ กลุ่มร่วมทำงาน SCN-CHO โดยบริษัท ช ทวี จำกัด (มหาชน) และบริษัท สแกน อินเตอร์ จำกัด(มหาชน)
 โดยกลุ่มร่วมทำงาน SCN-CHO โดยบริษัท ช ทวี จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทหลัก เสนอราคาสูงกว่าราคากลางประมาณ ร้อยละ 5 แต่ยังอยู่ในวงเงินที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี และคณะกรรมการฯ ได้เจรจาต่อรองราคาจนถึงที่สุดแล้ว ซึ่งตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560 ข้อ 57 วรรคสอง กำหนดไว้ว่า “…ในกรณีที่ปรากฏว่าราคาของผู้ที่ชนะการเสนอราคา ยังสูงกว่าวงเงินที่จะซื้อหรือจ้างให้คณะกรรมการดำเนินการ ดังนี้” และข้อ 57 (1) กำหนดว่า “….หากผู้เสนอราคารายนั้นยอมลดราคา และราคาที่เสนอใหม่ไม่สูงกว่าวงเงินที่จะซื้อหรือจ้างหรือสูงกว่า แต่ส่วนที่สูงกว่านั้นไม่เกินร้อยละสิบของวงเงินที่จะซื้อหรือจ้าง หรือต่อรองราคาแล้วไม่ยอมลดราคาลงอีก แต่ส่วนที่สูงกว่านั้นไม่เกินร้อยละสิบของวงเงินที่จะซื้อหรือจ้าง ถ้าเห็นว่าราคาดังกล่าวเป็นราคาที่เหมาะสม ก็ให้เสนอซื้อหรือจ้างจากผู้ที่เสนอราคารายนั้น” โดย ขสมก.ได้ดำเนินการตามระเบียบทุกขั้นตอน

ส่วนการกำหนดราคากลางรถโดยสาร NGV ​องค์การกำหนดราคากลางสำหรับการจัดซื้อ โดยการสืบราคาจากท้องตลาด จากผู้ประกอบการ จำนวน 5 ราย เพื่อนำมากำหนดเป็นราคากลาง และเป็นราคาอ้างอิงในการจัดหาครั้งนี้ ซึ่งอยู่ในช่วงราคา 3.549 - 5.000 ล้านบาท แต่เพื่อประโยชน์ขององค์การ จึงได้นำราคาของรายต่ำสุดมากำหนดเป็นราคากลาง ในขณะที่ตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560 มาตรา 4 กำหนดความหมายของราคากลางไว้ว่า “ราคากลาง” หมายความว่า ราคาเพื่อใช้เป็นฐานสำหรับเปรียบเทียบราคาที่ผู้ยื่นข้อเสนอได้ยื่นเสนอไว้ ซึ่งสามารถจัดซื้อจัดจ้างได้จริง ดังนั้น จึงทำให้ราคาที่องค์การนำมาใช้เป็นราคากลาง ต่ำกว่าที่ผู้ประกอบการได้เสนอราคามาจริง อย่างไรก็ตามราคาที่องค์การต่อรองได้นั้น เมื่อเทียบกับช่วงเวลาที่สืบราคาจากท้องตลาด จากผู้ประกอบการทั้ง 5 รายแล้ว พบว่า ยังอยู่ในเกณฑ์ราคาต่ำของช่วงราคานั้น โดยการดำเนินการในครั้งนี้องค์การได้หารือกับ กรมบัญชีกลางทุกขั้นตอน

อมพระมาพูด เมล์NGVโปร่งใส..? กังขาฐานะการเงิน ช ทวี

ประเด็นการประชุมของคณะกรรมการบริหารกิจการองค์การ ​คณะกรรมการบริหารกิจการองค์การ มีมติในคราวประชุม ครั้งที่ 15/2560 เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2560 อนุมัติให้ ขสมก. ดำเนินการจัดซื้อรถโดยสารปรับอากาศใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ (NGV) พร้อมซ่อมแซมและบำรุงรักษารถโดยสาร จำนวน 489 คัน กับกลุ่มร่วมทำงาน SCN-CHO โดยบริษัท ช ทวี จำกัด(มหาชน) และบริษัท สแกน อินเตอร์ จำกัด (มหาชน) และในการประชุมคณะกรรมการบริหารกิจการองค์การ ครั้งที่ 16/2560 เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2560 ได้มีมติรับรองการประชุมโดยคณะกรรมการฯเสียงข้างมาก

สำหรับสัญญาเช่าระบบบัตรโดยสารอิเล็กทรอนิกส์พร้อมอุปกรณ์ (E-ticket) ของบริษัท ช ทวี จำกัด (มหาชน) ​องค์การได้ทำสัญญาเช่าระบบบัตรโดยสารอิเล็กทรอนิกส์พร้อมอุปกรณ์ (E-ticket) กับบริษัท ช ทวี จำกัด (มหาชน) ให้ติดตั้งเครื่องอ่านบัตรและเครื่องเก็บค่าโดยสารบนรถ จำนวน 2,600 คัน ซึ่งขณะนี้ บริษัท ช ทวี จำกัด (มหาชน) อยู่ระหว่างดำเนินการติดตั้งและส่งมอบ และคณะกรรมการตรวจรับพัสดุของ ขสมก.ยังไม่ได้มีการตรวจรับ อยู่ระหว่างการตรวจรับและทดสอบระบบ ซึ่งตามสัญญา บริษัทฯ จะส่งมอบงานภายในวันที่ 10 มิถุนายน 2561 เมื่อคณะกรรมการตรวจรับเรียบร้อยแล้ว จึงจะตั้งเบิกจ่ายให้บริษัทฯ ปัจจุบันองค์การไม่ได้จ่ายค่าเช่าระบบให้กับบริษัทฯแต่อย่างใด

อมพระมาพูด เมล์NGVโปร่งใส..? กังขาฐานะการเงิน ช ทวี

สุรเดช ทวีแสงสกุลไทย

อย่างไรก็ตามเป็นเรื่องน่าตั้งข้อสังเกตุถึงความรวบรัดในการเซ็นสัญญาครั้งนี้ เพราะทำไมภาครัฐไม่ตรวจสอบถึงฐานะการเงินของบริษัทที่มารับงาน เนื่องจากในงบการเงินงวด 9 เดือนที่ผ่านมาของปี 2560 บริษัทขาดทุนสะสมราว 41 ล้านบาท และบริษัทตั้งเป้าจะล้างให้มหดภายในปีนี้ จึงได้เห็นภาพว่า ภายหลังจากได้งาน ปรากฎว่า   ช ทวี หรือ CHO ก็เริ่มหาทุนมาดำเนินกิจการ แทบจะทำทุกทางตั้งแต่การเพิ่มทุนให้นักลงทุนแบบเฉพาะเจาะจง ขายให้กับ "Macquarie Bank Limited"  กองทุนจากออสเตรเลียไม่เกิน 185,000,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 0.25 บาท ซึ่งได้รับกลับมากว่า 46 ล้านบาท และจะมีการขายหุ้นเพิ่มทุนในรอบ 2 อีกเพื่อขายให้ผู้ถือหุ้นเดิม 

นอกจากนั้นจากข้อมูลสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) พบว่า สุรเดช ทวีแสงสกุลไทย ได้ขายหุ้นของบมจ. ช ทวี (CHO) ออก เมื่อวันที่ 22/12/2560 จำนวน -3.381% ของสิทธิออกเสียงทั้งหมดของกิจการ ทำให้ภายหลังจากการขายเหลือสัดส่วนเป็น 43.642% ของสิทธิออกเสียงทั้งหมดของกิจการ 
สุรเดช เองก็ยอมรับว่า  จะนำเงินที่ได้รับจากการเพิ่มทุนมาใช้หมุนเวียน  เพื่อเพิ่มสภาพคล่องและรองรับการขยายธุรกิจหลักของบริษัทฯ รวมทั้งเสริมสร้างให้บริษัทฯ มีฐานะเงินทุนที่แข็งแกร่งขึ้นเพื่อรองรับงานโครงการอื่นๆ ทั้งที่อยู่ระหว่างการดำเนินงาน และที่คาดว่าจะประมูลได้  เพิ่มเติมในอนาคต  และจะส่งผลให้ลดภาระหนี้สินจากการกู้ยืมเงิน และลดค่าใช้จ่ายทางการเงินของบริษัทฯได้
สำหรับประเด็นเพิ่มเติมอีกครือ เรื่องการติดตั้งเครื่องอ่านบัตร (E-Ticket) และเครื่องเก็บค่าโดยสาร (Cash box) ล่าช้า และชำรุดใช้งานจริงได้ไม่ครบตามจำนวนที่ติดรอบแรก ทำให้ ขสมก. สั่งปรับบริษัท ๆ คาดว่าไม่เกิน 4 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้ได้ถอดเครื่องออกเพื่อนำมาติดตั้งซอฟแวร์ใหม่ และจะเริ่มทยอยติดตั้งอีกครั้งในปี 61 และมั่นใจจะติดตั้งได้ครบ 2,600 คัน ภายในกลางปี 61 ตามแผนที่วางไว้ 
ดังนั้นเมื่อเอกชนมีข้อบกพร่อม เช่นนี้  หรือ มีตำหนิหลายที่ แต่ภาครัฐก็ยังเซ็นสัญญา แม้ทางนิตินัยจะถูกต้อง แต่พฤตินัย ประชาชนยังกังขาหลายประเด็น.....