ต้องรวยชาตินี้! เปิด “พระคาถามหาเศรษฐี” อันมีที่มาจากคาถาธรรมบท โบราณว่าไว้สวดติดต่อกัน1,009 คืน เชื่อ! จะยกฐานะให้ดีขึ้นจนถึงขั้นรวย!

FB : DEEPS NEWS

พระธรรมเทศนาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น เรียกว่ามีอยู่อย่างหลากหลาย เมื่อฟังหรืออ่านแล้วสามารถนำมาใช้กับชีวิตประจำวันได้อย่างเห็นผล และหนึ่งในนั้น คือพระธรรมเทศนาสั้นๆ ที่ปรากฎ ใน “อรรถกถา ขุททนิกายคาถาธรรมบท อัตตวรรคที่ ๑๒  ๑๐. เรื่องพระอัตตทัตถเถระ” ใจความโดยย่อมีอยู่ว่า  พระพุทธเจ้าได้ทรงประกาศว่า จะปรินิพพาน ในอีก 4 เดือนข้างหน้า  ภิกษุทั้งหลายต่างเกิดความเศร้าสลดใจกันถ้วนหน้า และได้มาเข้าเฝ้าพระพุทธองค์โดยตลอด

ต้องรวยชาตินี้! เปิด “พระคาถามหาเศรษฐี” อันมีที่มาจากคาถาธรรมบท โบราณว่าไว้สวดติดต่อกัน1,009 คืน เชื่อ! จะยกฐานะให้ดีขึ้นจนถึงขั้นรวย!

หากแต่มีพระภิกษุรูปหนึ่ง คือ “พระอัตตทัตถเถระ”  เมื่อทราบว่าพระพุทธองค์จะทรงปรินิพพานแล้ว จึงเกิดความตั้งใจปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัดเพื่อให้บรรลุอรหันต์ในคราที่พระพุทธองค์ยังพระชนม์ชีพอยู่ ภิกษุทั้งหลายไม่อาจเข้าใจในการกระทำของภิกษุรูปนี้ จึงได้กราบทูลพระพุทธองค์ พระพุทธองค์จึงทรงเรียกพระเถระให้มาเข้าเฝ้า  และเมื่อทรงทราบเจตนาของพระเถระแล้ว จึงทรงกล่าวอนุโมทนา พร้อมตรัสกับภิกษุทั้งหลายว่า

"ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดมีความสิเนหาในเรา ผู้นั้นควรเป็นดุจอัตตทัตถะ ด้วยว่า ชนทั้งหลายบูชาอยู่ด้วยวัตถุต่างๆ มีของหอมเป็นต้น ย่อมไม่ชื่อว่าบูชาเรา, ส่วนผู้บูชาอยู่ด้วยการปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ย่อมชื่อว่าบูชาเรา เพราะฉะนั้น แม้ภิกษุรูปอื่นก็พึงเป็นเช่นอัตตทัตถะ"

จากนั้น   พระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท  พระคาถานี้ว่า

อตฺตทตฺถํ  ปรตฺเถน

พหุนาปิ  น  หาปเย

อตฺตทตฺถมภิญฺญาย

สทตฺถปฺปสุโต  สิยา ฯ

(แปล)

บุคคลไม่พึงยังประโยชน์ของตน

ให้เสื่อมเสียเพราะประโยชน์ของคนอื่นแม้มาก

รู้จักประโยชน์ของตนแล้ว

พึงเป็นผู้ขวนขวายในประโยชน์ของตน.

 

เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง   พระเถระรูปนี้ จึงบรรลุอรหันต์   

สันนิษฐานว่าโบราณจารย์ในยุคหลัง ได้ยกพระธรรมเทศนาดังกล่าวให้เป็นพระคาถาที่ใช้สวดท่องภาวนา  เพราะตามเนื้อความ ของพระธรรมเทศนา เป็นสิ่งที่เตือนสติ เตือนใจให้รู้จักประโยชน์ของตนเอง และทำประโยชน์ที่ว่านั้นให้ถึงพร้อม  ซึ่งปุถุชนทั่วไปที่ยังอยู่ในเพศฆราวาสก็สามารถนำมาใช้ได้อย่างเห็นผล  ไม่ว่าจะเป็นประโยชน์ที่พึงกระทำ อันเกิดจากการประกอบอาชีพหน้าที่การงาน การขวนขวายในงานที่ทำหรือจุดหมายของตนเอง ทำหน้าที่ของตนให้สำเร็จ แน่นอนว่า หากใครพึงรู้จักประโยชน์ของตน เอาใจใส่และขวนขวายในประโยชน์นั้นๆ จนทำให้สำเร็จได้ ผู้นั้นก็จะได้รับความสุขสบาย ไม่ว่าจะอยู่ในฐานะใดก็ตาม (อ่านรายละเอียดความหมายของคำว่าประโยชน์ในพุทธศาสนสุภาษิต ได้ที่ http://www.watpitch.com/buddhist-proverb-636.html)

 

จึงเป็นอันกล่าวได้ว่า  “พระคาถามหาเศรษฐี” ที่ปรากฏตามหนังสือสวดมนต์และเว็บไซต์ต่างๆ  โดยมีการระบุว่า เป็นขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ก็ด้วยเหตุที่พระคาถามหาเศรษฐี มีที่มาจากพระธรรมเทศนาในคาถาธรรมบท เรื่องพระอัตตทัตถเถระ นั่นเอง  

สำหรับการสวดโดยรู้ความหมาย คำแปล และทราบที่มาเช่นนี้แล้ว ก็ย่อมทำให้ผู้สวดเกิดความสบายใจ พร้อมมีสติใคร่ครวญ ในการรู้จักประโยชน์และทำประโยชน์ของตนให้ถึงพร้อม

ก่อนสวดให้ตั้งนะโม 3 จบ  แล้วกล่าวว่า

อัตตะทัตถัง ปะรัตเถนะ
พะหุนาปิ นะ หาปะเย
อัตตะทัตถะมะภิญญายะ
สะทัตถัปปะสุโต สิยาฯ


ขณะเดียวกันยังมีเคล็ดการสวดพระคาถามหาเศรษฐี ที่เชื่อและปฏิบัติกันต่อๆมาคือ

1.ให้สวดท่องก่อนนอนทุกคืนอย่าได้ขาดเป็นเวลาติดต่อกัน  1,009 คืน  หรือ ประมาณ 2 ปี 9 เดือน 9 วัน หากขาดไปแม้แต่คืนเดียว ก็ให้เริ่มต้นนับ 1 ใหม่

โดยอานิสงส์ของการสวดคาถานี้ โบราณกล่าวกันมาว่า  คนยากจนจะกลายเป็นคนชั้นกลาง  ส่วนคนที่มีฐานะชั้นกลางอยู่แล้ว ก็จะกลายเป็นเศรษฐี  และถ้ามีความตั้งใจจริงก็ย่อมเป็นคนร่ำรวยได้ในชาตินี้  ไม่ต้องรอถึงชาติหน้า
 

2.ในลำดับต่อมา คือ ให้สวดภาวนาตามกำลัง ได้แก่

วันอาทิตย์ท่อง 6 คาบ ( หรือ 6 จบ )
วันจันทร์ท่อง 15 คาบ ( หรือ 15 จบ )

วันอังคารท่อง 8 คาบ ( หรือ 8 จบ )
วันพุธกลางวันท่อง 17 คาบ ( หรือ 17 จบ )  แต่ถ้าสวดท่องหลังเวลา 6 โมงเย็น ให้สวด 12 คาบ หรือ 12 จบตามกำลังวัน

วันพฤหัสบดีท่อง 19 คาบ ( หรือ 19 จบ )
วันศุกร์ท่อง 21 คาบ ( หรือ 21 จบ )
วันเสาร์ท่อง 10 คาบ ( หรือ 10 จบ )

 

ต้องรวยชาตินี้! เปิด “พระคาถามหาเศรษฐี” อันมีที่มาจากคาถาธรรมบท โบราณว่าไว้สวดติดต่อกัน1,009 คืน เชื่อ! จะยกฐานะให้ดีขึ้นจนถึงขั้นรวย!

 

 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : อรรถกถา ขุททนิกายคาถาธรรมบท อัตตวรรคที่ ๑๒  ๑๐. เรื่องพระอัตตทัตถเถระ  http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=22&p=10

เรื่องเล่าจากพระธรรมบท http://dhammapadasstories.blogspot.com/2014/12/10_26.html

และ เว็บไซต์ธรรมดีมีสุข http://xn--22c9al0bbja3d7eb8a.blogspot.com/2009/12/blog-post_6418.html

เครดิตภาพ : Phra Thong