ติดตามข่าวสารได้ที่ www.gninternews.com

อังกฤษเตรียมส่งเรือรบลำหนึ่งจากออสเตรเลียเข้ามายังทะเลจีนใต้ในช่วงเดือน มีนาคม นี้เพื่อแสดงถึงเสรีภาพในการเดินเรือ ข่าวดังกล่าวถูกเปิดเผยจากทางด้าน เกวิน วิลเลียมสัน รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมอังกฤษ

 

อังกฤษเตรียมส่ง เรือฟริเกต เข้าทะเลจีนใต้ แสดงพลังเป็นหนึ่งเดียวกับสหรัฐฯ ขวางจีนขยายอิทธิพล

ทะเลจีนใต้กลับมาระอุอีกครั้ง หลังจากที่จีน ได้ประกาศเป็นผู้ครอบครองพื้นที่ทะเลจีนใต้แต่เพียงผู้เดียว และเดินหน้าเจรจาข้อพิพาทกับประเทศอื่น ๆ แบบทวิภาคี จัดการแบ่งผลประโยชน์อย่างลงตัว จนทำให้ข้อพิพาทที่เกิดขึ้นไม่ว่ากับฟิลิปปินส์ หรือเวียดนาม ก็ค่อย ๆ จางหายไป
และที่ผ่านมานั้นสื่อตะวันตกก็ประโคมข่าวอย่างต่อเนื่อง ของการเข้าไปถมที่ดินดอนกลายเป็นเกาะน้อยใหญ่ พร้อมกับการดำเนินการกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อรองรับทางทหารของจีนอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการสร้างรันเวย์ ขึ้นลงของเครื่องบิน การสร้างป้อมปราการ ต่าง ๆ จนกระทั่งมีการเปิดเผยถึงการติดตั้งระบบต่อต้านขีปนาวุธ เอาไว้ในเกาะสำคัญ ๆ อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ มีภาพหลุดออกมาบ่อยครั้งพบว่าเครื่องบินรบของจีน จำนวนหนึ่งจอดอยู่บนเกาะเทียมในบางเวลาอีกด้วย

 

อังกฤษเตรียมส่ง เรือฟริเกต เข้าทะเลจีนใต้ แสดงพลังเป็นหนึ่งเดียวกับสหรัฐฯ ขวางจีนขยายอิทธิพล

 

การกระทำของจีนนั้นทางด้านสหรัฐฯ เป็นผู้หนึ่งที่ไม่ยอมรับ โดยให้เหตุผลการเดินเรือโดยเสรีในน่านน้ำสากล และได้ สำแดง ด้วยการลาดตระเวนในน่านน้ำทะเลจีนใต้ ภายใต้ 12 ไมล์ทะเล อยู่บ่อยครั้ง และสร้างความไม่พอใจอย่างยิ่งให้กับทางรัฐบาลจีน ซึ่งเคยได้ออกมาประกาศตอบโต้สหรัฐฯ เช่นเดียวกัน โดยการอ้างการปกป้องอธิปไตย ของตนเองในพื้นที่ดังกล่าว จนกระทั่งล่าสุด อังกฤษเตรียมส่งเรือรบลำหนึ่งจากออสเตรเลียเข้ามายังทะเลจีนใต้ในช่วงเดือน มีนาคม นี้เพื่อแสดงถึงเสรีภาพในการเดินเรือ ข่าวดังกล่าวถูกเปิดเผยจากทางด้าน เกวิน วิลเลียมสัน รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมอังกฤษ ได้เดินทางเยือนนครซิดนีย์และกรุงแคนเบอร์รา ของออสเตรเลีย เป็นเวลา 2 วัน

 

อังกฤษเตรียมส่ง เรือฟริเกต เข้าทะเลจีนใต้ แสดงพลังเป็นหนึ่งเดียวกับสหรัฐฯ ขวางจีนขยายอิทธิพล

 

เรือ เอชเอ็มเอส ซัทเธอร์แลนด์ ซึ่งเป็นเรือฟริเกตต่อต้านเรือดำน้ำจะเดินทางถึงออสเตรเลียภายในสัปดาห์นี้ หลังจากนั้นก็วิ่งเข้าสู่ทะเลจีนใต้ เพื่อกลับประเทศอังกฤษ โดยที่ทางด้าน เกวิน วิลเลียมสัน ยืนยันว่า เรือฟริเกตลำดังกล่าว จะวิ่งเข้าสู่รัศมี 12 ไมล์ทะเลรอบ ๆ หมู่เกาะพิพาท หรือเกาะเทียมที่จีนสร้างขึ้นเหมือนอย่างที่เรือรบสหรัฐฯ เคยทำมาแล้ว และเขาต้องการที่จะสนับสนุนแนวปฏิบัติของสหรัฐฯ อย่างเต็มที่ในประเด็นดังกล่าว

 


เกวิน วิลเลียมสัน ชี้ว่า อังกฤษและออสเตรเลียซึ่งเป็นพันธมิตรของสหรัฐฯ จำเป็นต้องมีบทบาทในเรื่องทะเลจีนใต้ ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นแหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติขนาดใหญ่ ทั้งยังเป็นเส้นทางขนส่งสินค้าทางเรือที่มีมูลค่าถึง 5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐในแต่ละปี และที่ผ่านมาสหรัฐฯ เรียกร้องให้ประเทศต่าง ๆ เข้าไปมีส่วนร่วมในการปกป้องทะเลจีนใต้จากการแผ่ขยายอิทธิพลของจีนมากกว่านี้ และเป็นโอกาสอันดีที่อังกฤษ และออสเตรเลียจะลงมือทำ และแสดงภาวะผู้นำในเรื่องดังกล่าวร่วมกับสหรัฐฯ

 

อังกฤษเตรียมส่ง เรือฟริเกต เข้าทะเลจีนใต้ แสดงพลังเป็นหนึ่งเดียวกับสหรัฐฯ ขวางจีนขยายอิทธิพล

 

นอกจากนั้นแล้ว ทางด้าน เกวิน วิลเลียมสัน ยังได้เตือนให้ทุกฝ่ายระวังจีน ในการก้าวขึ้นมาเป็นมหาอำนาจยักษ์ใหญ่ของโลก โดยเขาเรียกร้องให้อังกฤษ และ ออสเตรเลีย ร่วมกันปกป้องผลประโยชน์ของตนเอง และห้ามมองข้ามความอันตรายของจีน และเตรียมพร้อมเผชิญหน้ากับเจตนามุ่งร้ายทุกๆ รูปแบบ นอกจากจีนแล้ว เกวิน วิลเลียมสัน ยังได้บอกต่อว่า รัสเซีย และ อิหร่าน ก็เป็นประเทศ ที่ต้องระวังอย่างยิ่งยวดเช่นเดียวกัน

 

 

ขณะที่ล่าสุดทางสหรัฐฯ ได้จับมือกับมิตรประเภท อย่างญี่ปุ่น อินเดีย และออสเตรเลีย ได้จัดตั้ง ภาคี 4 ประเทศ หรือ The Quad ประกาศว่าจะร่วมมือกันเพื่อทำให้ทะเลจีนใต้มีเสรีภาพสูงสุดสำหรับการเดินเรือ และยับยั้งการขยายอิทธิพลของจีนในพื้นที่ดังกล่าว

 

อังกฤษเตรียมส่ง เรือฟริเกต เข้าทะเลจีนใต้ แสดงพลังเป็นหนึ่งเดียวกับสหรัฐฯ ขวางจีนขยายอิทธิพล

 

ภาคี 4 ประเทศ หรือ The Quad  นั้น สหรัฐฯ จะรับบาทหลักในการจัดการทางทหาร ในขณะที่ทางด้านอินเดีย ออสเตรเลีย และ ญี่ปุ่น ก็จะรับหน้าที่ในการช่วยเหลือทางด้านยุทธศาสตร์ โดยเฉพาะการขนส่ง โดยทั้งหมดอ้างว่า เพื่อปกป้องผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของประเทศ ตนเองในพื้นที่ทะเลจีนใต้
โดยทางด้านญี่ปุ่น และออสเตรเลีย ให้การสนับสนุนแนวคิดของสหรัฐฯ ในการเคารพสิทธิการเดินเรือโดยเสรีภาพตามกฎหมายสากล ในขณะที่อินเดีย ได้เสนอตัวที่จะเข้ามาช่วยเหลือประเทศสมาชิกอาเซียน และก่อให้เกิดความร่วมมือกับประเทศทางต่าง ๆ ในอาเซียนกับอินเดีย

 


แต่นักวิเคราะห์ก็มองว่าท้ายที่สุดแล้ว The Quad เอง ก็คงทำได้เพียงแค่ออกแถลงการณ์ คัดคัดการ การดำเนินกิจกรรมทางทหาร ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ทะเลจีนใต้ แต่ก็คงไม่กล้าที่จะเอ่ยชื่อประเทศจีนเอาไว้ในแถลงการณ์ดังกล่าว  ส่วนอีกกิจกรรมหนึ่งที่อาจจะเกิดขึ้นบ่อยมากขึ้นนั่นคือการลาดตระเวนร่วมกันของ 4 ประเทศในพื้นที่ทะเลจีนใต้ รวมถึงการซ้อมรบร่วมกับประเทศต่าง ๆ ที่เป็นคู่ขัดแย้ง แต่ทว่า ก็คงต้องดูท่าทีเช่นกันว่า ประเทศเหล่านั้นจะเห็นด้วยหรือไม่ เนื่องจากปัจจุบันนี้ ทั้ง 4 ประเทศเองก็เป็นพันธมิตร กับจีนทั้งสิ้น

 

อังกฤษเตรียมส่ง เรือฟริเกต เข้าทะเลจีนใต้ แสดงพลังเป็นหนึ่งเดียวกับสหรัฐฯ ขวางจีนขยายอิทธิพล

 

ส่วนของจีน หลังจากนี้ก็คงมีมาตรการสำหรับตอบโต้ The Quad เช่นกัน ซึ่งเชื่อว่าจีน น่าจะออกมาตรการในการตอบโต้ เป็นรายประเทศไป โดยเฉพาะการกดดันทางเศรษฐกิจ น่าจะเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากทั้ง 4 ประเทศ ไม่ว่าจะเป็นออสเตรเลีย ที่ปัจจุบัน จีนเป็นคู่ค้าอันดับหนึ่ง  ส่วนอินเดีย ญี่ปุ่น และสหรัฐฯ เองก็ยังต้องพึ่งพาทางเศรษฐกิจจากจีนเช่นเดียวกัน ดังนั้น นักวิเคราะห์มองว่า The Quad เป็นเพียงจุดเริ่มต้นในความร่วมมือของสหรัฐฯ กับ พันธมิตร ในการแสดงออก ที่จะต่อต้านการแผ่ขยายอิทธิพลในพื้นที่ทะเลจีนใต้เท่านั้นเอง แต่ในภาคปฏิบัติแล้ว คงเป็นไปได้ยาก เมื่อทั้งหมดทั้งมวลแล้วยังต้องพึ่งพาจีนในเรื่องเศรษฐกิจ เป็นสำคัญ