ติดตามเรื่องราวดีๆ ได้ที่ www.tnews.co.th

หลวงพ่อผาง จิตตคุตโต

มีบ้านหลังหนึ่ง ไม่เคยออกมาทำบุญใส่บาตรท่านเลย เป็นบ้านของยายผู้เฒ่าคนหนึ่ง และที่บ้านหลังนี้มีสุนัขตัวหนึ่งดุร้ายมาก แม้แต่คนบ้านใกล้เรือนเคียง ก็ไม่ค่อยกล้าเดินแวะเวียนไปมาหาสู่บ้านหลังนี้เลย

กระทั่งวันหนึ่งหลวงปู่คิดเมตตา อยากจะโปรดยายผู้เฒ่านั้น เพื่อบั้นปลายของชีวิต จะได้ทำบุญเป็นพลวปัจจัยในอนาคตบ้าง ท่านจึงได้เดินบิณฑบาต ไปหยุดอยู่ที่บ้านคุณยายผู้เฒ่าก่อนบ้านหลังอื่นเลย

พอแกมองเห็นหลวงปู่ มาหยุดยืนอยู่หน้าบ้าน เกิดความศรัทธาเลื่อมใสปีติยินดี กระตือรือร้นอยากทำบุญใส่บาตร ด้วยความรีบร้อน วิ่งจับโน่นฉวยนี่ จนเผลอเหยียบชายผ้าถุงตัวเองหลุดลุ่ย

เมื่อยายเดินมาจะใส่บาตร ขณะเดียวกันนั้นเอง สุนัขตัวนั้นพอเห็นหลวงปู่ซึ่งเป็นคนแปลกหน้า ก็วิ่งกระโจนเข้าหาท่านหมายจะกัด

หลวงปู่พอเห็นดังนั้น จึงกำหนดจิตแผ่เมตตาให้มัน พร้อมทั้งพูดว่า

“บักแก้ว เฮามาบิณฑบาต โตมาต้อนรับเฮาติ๊”

(ไอ้แก้ว เรามาบิณฑบาต เอ็งมาต้อนรับข้าหรือ?)

คำว่า “บักแก้ว” เป็นคำที่หลวงปู่เรียกชื่อสุนัขทุกตัวที่พบเห็น สุนัขดุร้ายนั้น พอได้ยินหลวงปู่พูดดังนั้น ความดุร้ายที่เคยมี ไม่รู้หายไปไหนหมด กลับแสดงอาการคุ้นเคย เคารพเหมือนกับท่านเป็นเจ้าของมัน พร้อมทั้งสะบัดหางไปมาด้วยความยินดี เหมือนรู้จักกันมานาน

ตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา มันก็ไม่เคยดุร้ายกัดใครอีกเลย ส่วนคุณยายผู้เฒ่าก็เลื่อมใสศรัทธาหลวงปู่ ได้ทำบุญใส่บาตรทุกวัน

หญิงเฒ่าชราไม่เคยทำบุญใส่บาตร..ดีใจจนเหยียบผ้าถุงหลุดลุ่ย "หลวงพ่อผาง จิตตคุตโต"เมตตาโปรดถึงหน้าบ้าน สยบหมาดุร้ายให้เชื่องทันตาเห็น

หลวงพ่อผางท่านมีนามเดิมว่า ผาง ครองยุติ เกิดเมื่อวันที่ ๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๔๕ ณ บ้านกุดกะเสียน ตำบลเขื่อนใน จังหวัอุบลราชธานี เป็นบุตรของนายทัน และ นางบัพพา ครองยุติ ในช่วงชีวิตเยาว์วัย หลวงปู่ท่านได้เรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ท่านมีอุปนิสัยรักความเป็นธรรม มีความซื่อสัตย์ มีความเมตตากรุณาต่อสัตว์ และ ชอบทำประโยชน์ให้กับส่วนรวมเสมอ ต่อมาได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในมหานิกาย เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๕ ณ วัดเขื่องกลาง บ้านเขื่องใน ตำบลเขื่องใน อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีพระครูดวน เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ดี เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ท่านศึกษาพระธรรมวินัย มีความรู้พอสมควร ต่อมาจึงได้ลาสิกขาจากสมณเพศ และได้มีครอบครัวตามประเพณีอยู่หลายปี ภรรยา ของท่าน เป็น คน บ้านแดงหม้อ ต. แดงหม้อ อ. เขื่องใน จ. อุบลราชธานี แต่ไม่มีลูก ในชีวิตฆราวาสของท่าน ท่านเป็นคนที่มีความขยัน มีความใส่ใจในงาน ประกอบอาชีพทำไร่ไถนา บางครั้งก็เป็นพ่อค้าเรือใหญ่บรรทุกข้าวจากแม่น้ำมูลไปขายตามลำน้ำชีน้อย บางครั้งก็เป็นพ่อค้าวัว นำวัวไปขายที่เขมรต่ำ หลวงปู่ได้ใช้ความพยายามอย่างเต็มที่ในการสร้างฐานะให้แก่ครอบครัว

หญิงเฒ่าชราไม่เคยทำบุญใส่บาตร..ดีใจจนเหยียบผ้าถุงหลุดลุ่ย "หลวงพ่อผาง จิตตคุตโต"เมตตาโปรดถึงหน้าบ้าน สยบหมาดุร้ายให้เชื่องทันตาเห็น

 ต่อมาเมื่ออายุได้ ๔๓ ปี ท่านก็ได้ตัดสินใจออกบวชครั้งที่๒ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๘ เป็นพระสงฆ์ฝ่าย ธรรมยุตินิกาย พร้อมกับภรรยา ภรรยาบวชเป็นชี ส่วนเงินที่เหลือ ท่านได้มอบให้กับบุตรบุญธรรม ที่วัดคูขาด บ้านศรีสุข ต.เขื่องใน อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี มีพระครูศรีสุตตาภรณ์ (ตื๋อ) เป็นพระอุปัชฌาย์ ส่วนพระกรรมวาจาจารย์และพระอนุสาวนาจารย์ไม่ปรากฏ หลังจากอุปสมบทแล้ว ท่านได้จำพรรษาอยู่ที่วัดเดิม แต่ท่านได้เข้าศึกษาอบรมพระกรรมฐาน อยู่ในสำนักวัดป่าวารินชำราบ อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี กับพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม (เจ้าคุณพระญาณวิศิษฎ์)และหลวงปู่มหาปิ่น และหลังจากปฏิบัติธรรมกับพระอาจารย์สิงห์แล้ว ท่านก็เดินธุดงค์ไปฝากตัวเป็นศิษย์กับ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ได้พอสมควร ก็ท่องเที่ยววิเวกไปแต่ผู้เดียวในป่าเขา จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นถิ่นทุรกันดารเป็นเวลาหลายปี ต่อมาท่านได้เดินธุดงค์ไปจำพรรษาอยู่หลายวัด และในระหว่างนั้น ท่านได้สร้างวัดแห่งใหม่ขึ้นมาคือ วัดบ้านแจ้ง ในปี พ.ศ. ๒๕๐๕ และได้เป็นประธานในการสร้างพระธาตุขามแก่น นโรดม ในปี พ.ศ.๒๕๒๓ เพื่อเฉลิมฉลองกรุงรัตนโกสินทร์มีอายุได้ ๒๐๐ ปี (พ.ศ. ๒๓๒๕ – ๒๕๒๕) และท่านได้ร่วมทอดผ้ากฐินสามัคคีเมื่อวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๒๔  หลวงพ่อท่านได้เข้ารักษา(ตัว)เมื่อวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๔ วัดที่ ท่านจำพรรษา คือ วัดอุดมคงคาคีรีเขต (ดูน) ตำบลนางาม อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น และได้ถึงแก่มรณภาพเมื่อวันที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ สิริรวมอายุได้ ๘๑ ปี

หญิงเฒ่าชราไม่เคยทำบุญใส่บาตร..ดีใจจนเหยียบผ้าถุงหลุดลุ่ย "หลวงพ่อผาง จิตตคุตโต"เมตตาโปรดถึงหน้าบ้าน สยบหมาดุร้ายให้เชื่องทันตาเห็น

ขอขอบพระคุณท่านเจ้าของภาพ เจ้าของบทความ และที่มาเนื้อหาข้อมูลมา ณ ที่นี้

SaRaN. WiKi

คาถาครูพักลักจำ

https://th.wikipedia.org/