ใครกันที่ต้องเงิบ? ดัชนีโปร่งใส"คสช." ดีขึ้น 5 ลำดับ หลัง"พท."ออกมาตีปลาหน้าไซยกใหญ่ แถมไม่ย้อนดูยุค"หญิงปู" โกงเคยพุ่งสูง-ทำลำดับลูดมหาราช

ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

ใครกันที่ต้องเงิบ? ดัชนีโปร่งใส"คสช." ปี 60 ดีขึ้น 5 ลำดับ หลังเพื่อไทยออกมาขย่มตีปลาหน้าไซยกใหญ่ แถมไม่ย้อนดูยุค"หญิงปู" ดัชนีโกงก็เคยพุ่งสูง-ทำลำดับลูดมหาราชไปอยู่ที่ 102 ในปี 2556  แม้ตัวเลข 3 ปีของการบริหารจะเฉลี่ยออกมาเท่า ๆ กัน แต่ก็มีบางเรื่อง...ที่พูดไม่หมด

 

วันนี้ (22 ก.พ.) ผู้สื่อข่าวรายงาน กรณี "องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ" เปิดรายงานดัชนีภาพลักษณ์คอร์รัปชัน (Corruption Perceptions Index: CPI) หรือดัชนีการรับรู้การทุจริต ประจะปี 2560 จากทั้งหมด 180 ประเทศ โดยประเทศไทย และอินโดนีเซียได้ 37 คะแนน อยู่ในลำดับที่ 96 เท่ากัน  ซึ่งได้เพิ่มมา 2 คะแนน จากปี 2559 ที่ได้ 35 คะแนน และอยู่ในดับดับที่ 101 ของโลก ในปีดังกล่าว...หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ลำดับความโปร่งใสของไทยดีขึ้น 5 ลำดับจากปีก่อน
    

ขณะที่ นิวซีแลนด์และเดนมาร์ก มีคะแนนสูงสุด 89 และ 88 และความโปร่งใสอยู่ที่ 1 และ 2 ตามลำดับ ส่วนซีเรีย ซูดานใต้และโซมาเลีย มีคะแนนต่ำสุดคือ 14, 12 และ 9  
    
    
ส่วนประเทศในอาเซียน สิงค์โปร์ยังครองความโปร่งใสที่สุดในกลุ่มฯ มี 84 คะแนนเท่ากับปีก่อนหน้า อยู่อันดับ 6 ของโลก ขณะบรูไนมี  62 คะแนน 32 ของโลก และมาเลเซียได้  47 คะแนน ที่ 62 ของโลก


อย่างไรก็ตาม ต่อกรณีดังกล่าว นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด รักษาการรองโฆษกพรรคเพื่อไทย ซึ่งออกมาดักคอเรื่องนี้ตั้งแต่วานนี้ โดยเขาระบุทำนอง ต้องรอดูว่าปีนี้ผลจะออกมาเป็นอย่างไร จะสอดคล้องหรือเป็นไปในแนวเดียวกับผลสำรวจของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ที่เขาหยิบมาโจมตีว่า คอร์รัปชันไทยรุนแรงที่สุดในรอบ 3 ปีหรือไม่

 

ใครกันที่ต้องเงิบ? ดัชนีโปร่งใส"คสช." ดีขึ้น 5 ลำดับ หลัง"พท."ออกมาตีปลาหน้าไซยกใหญ่ แถมไม่ย้อนดูยุค"หญิงปู" โกงเคยพุ่งสูง-ทำลำดับลูดมหาราช

 

ที่มาตาราง : Voice TV

ล่าสุด หลังดัชนีความโปร่งใสออกมา นายนอนุสรณ์ ได้ออกมากล่าวถึงเรื่องนี้อีกครั้ง โดยเขากลับมุดออกไปแบบน้ำขุ่น ๆ ว่า รัฐบาล คสช. และ ป.ป.ช. อย่าเพิ่งลิงโลดใจในผลคะแนนดังกล่าว องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (Transparency International -- TI) ชี้ว่า แทบไม่เห็นผลงานการปราบทุจริตของคณะรัฐประหารไทย ต่างจากที่ว่าไว้เมื่อเข้าสู่อำนาจ 4 ปีก่อน ปมแหวนมารดา นาฬิกาเพื่อน สะท้อน ช่องโหว่ของกลไกคุณธรรมจริยธรรมของไทย

 

นายอนุสรณ์ ยังอ้างว่า จากสถิติ cpi index ในรอบหลายปี พบว่า คะแนนปีนี้ดีขึ้นจากปีที่แล้ว 2 คะแนน ทำให้ลำดับดีขึ้น 5 ลำดับ แต่ก็ยังแย่กว่าปี 2558 ซึ่งเคยอยู่ลำดับที่ 76 และได้ 38 คะแนน คะแนนและลำดับที่ได้ในปีนี้ยังแย่กว่าในปี 2557 ซึ่งเป็นปีสุดท้ายของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งบริหารประเทศ และเป็นปีที่มีการรัฐประหาร สะท้อนว่าการที่รัฐบาล คสช.ประกาศจะปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชัน ที่มีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคสช.เป็นประธานคณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ หรือ คตช.มีพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเป็นกรรมการ ยังไม่ประสบความสำเร็จหรือไม่

 

"ส่วนหนึ่งของสาเหตุที่อยู่อันดับต่ำมากๆ น่าจะมาจากสภาวะบ้านเมืองที่ยังไม่เป็นประชาธิปไตยอย่างเต็มที่ มีการจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชน พรรคการเมืองถูกห้ามทำกิจกรรมทำให้กระบวนการมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการทุจริตคอร์รัปชันไม่สามารถทำได้อย่างเต็มที่ ประชาชนสื่อมวลชนถูกกันออกมานอกวงของการตรวจสอบและไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลการตรวจสอบทุจริตคอร์รัปชันหรือไม่ ปัญหาสำคัญคือการขาดสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชนและประชาชนหรือไม่ ซึ่งรัฐบาลต้องรับสภาพข้อเท็จจริงนี้ เพื่อนำไปแก้ไขต่อไป "นายอนุสรณ์ อ้าง


อย่างไรก็ตาม เมื่อย้อนไปดูตัวเลขในอดีตในยุครัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ซึ่งนายอนุสรณ์ อ้างถึงกลับพบว่า ในช่วงปี 2556 ซึ่งรัฐบาลยิ่งลักษณ์บริหารประเทศมาแล้วเกือบ 2 ปี คะแนนความโปร่งใสของรัฐบาลที่อ้างว่ามาจากเลือกตั้ง (ปี 2556)  ก็ยังน้อยกว่ายุค คสช. (2560) อยู่ดี โดยมีรายงานตัวเลข คือ

 

"องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ" ได้เผยแพร่รายงานการจัดอันดับดัชนีภาพลักษณ์คอร์รัปชั่น ประจำปี 2556  โดยมีการให้คะแนนจาก 0-100 ซึ่ง 0 หมายถึง คอร์รัปชั่นมากที่สุด และ 100 หมายถึง โปร่งใสที่สุด เช่นเดียวกับปีนี้ และพบว่าในปีนั้น ไทยมีคะแนนความโปร่งใสเพียง 35 หรือไม่ถึงครึ่ง จัดอยู่ในอันดับ 102 จากทั้งหมด 177 ประเทศที่ถูกสำรวจ  และถือว่าลดลงจากปีที่แล้วที่ไทยได้คะแนนความโปร่งใส 37 และอยู่ในอันดับ 88 ของโลก

 

ขณะที่หากย้อนไปก่อนหน้า 1 ปี คือในปี 2557 ที่รักษาการรองโฆษกพรรคเพื่อไทย หยิบมากล่าวอ้าง โดยระบุว่าในปีนั้นรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้ 38 คะแนน ซึ่งก็เท่ากับปี 2558 ที่รัฐบาล คสช.เข้ามาบริหารประเทศแล้ว แต่นายอนุสรณ์กลับอ้างว่า ถึงยังไงปี 2560 นี้ ก็ยังแย่กว่าปี 2557 ที่ได้ 38 คะแนนอยู่ดี คล้ายกลับจงใจ...ให้คนไพล่คิดไปว่า...ยังไงรัฐบาลประชาธิปไตยก็ดีกว่ารัฐบาลทหาร...อะไรทำนองนั้น

 

แต่สิ่งหนึ่งที่ รักษาการรองโฆษกพรรคเพื่อไทย ไม่พูดถึงก็คือ ในปี 2556 ซึ่งเป็นปีที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์บริหารประเทศมาแล้วเกือบ 2 ปี (จะโยนความผิดให้รัฐบาลก่อนหน้าไม่ได้)  คะแนนความโปร่งใสของรัฐบาลฯ กลับอยู่ที่ 35 คะแนน ตามตัวเลขที่ระบุข้างต้น...ซึ่งเท่ากับปี 2559 ที่นายอนุสรณ์ หยิบมาโจมตี คสช....แต่เขากลับไม่ยอมพูดถึงเรื่องนี้แม้แต่น้อย

 

ต่อเรื่องดังกล่าว นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้เคยออกมาเปิดเผยผลการสำรวจดัชนีสถานการณ์คอร์รัปชั่นไทย ประจำเดือนธันวาคม 2556 (ในช่วงดังกล่าว) จากกลุ่มตัวอย่างผู้ประกอบการ ข้าราชการและประชาชนจำนวน 2,400 ตัวอย่าง พบว่าไทยมีคะแนนอยู่ที่ 39 คะแนน ลดลงจากสำรวจเมื่อเดือนมิถุนายน 2556 ที่อยู่ที่ระดับ 41 คะแนน ถือว่าลดลงจากสถานการณ์ระดับปานกลาง มาอยู่ในระดับรุนแรง

     
พบว่าผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจกับภาครัฐ จะต้องจ่ายเงินเพิ่มพิเศษ (ใต้โต๊ะ) แก่ข้าราชการ นักการเมือง ที่ทุจริตเพื่อให้ได้สัญญา ส่วนใหญ่75% การประกอบธุรกิจกับภาครัฐยังคงต้องจ่ายเงินใต้โต๊ะ 25-35% ของงบประมาณ จากการประเมินวงเงินคอร์รัปชั่นจากงบประมาณรายจ่าย ค่าครุภัณฑ์ ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง งบลงทุนรัฐวิสาหกิจจากงบประมาณปี2556รวม2.4ล้านล้านบาท หากมีการคอร์รัปชั่น35%ของงบประมาณ จะทำให้จีดีพีประเทศลดลง 2.63%และหากมีคอร์รัปชั่น30%จะทำให้จีดีพีลดลง 2.25% หากคอร์รัปชั่น25% จะทำให้จีดีพีลดลง 1.88%

     
เมื่อถามเรื่องความกังวลของประชาชนเรื่องการคอร์รัปชั่นต่อการดำเนินโครงการต่างๆของรัฐ พบว่ากังวล โครงการรับจำนำจะมีการคอร์รัปชั่นมากที่สุด และโครงการลงทุน2ล้านล้านบาทและการบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาทโดย2โครงการเป็นโครงการลงทุนที่ไม่ได้ถูกบรรจุไว้ในงบประมาณ หากเสียหายจากคอร์รัปชั่นร้อยละ 8-10หากเป็นโครงการ 2 ล้านล้านบาท ก็จะเสียหายเพิ่มขึ้นในมุลค่า2-4แสนล้านบาท และจากโครงการน้ำ 30,000-50,000บาท

     
ส่วนการแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นส่วนใหญ่ 30.7% ต้องแก้ไขจากนักการเมือง รองมา29%เป็นข้าราชการและ23.2% ต้องแก้ไขจากนักธุรกิจ ปลูกจิตสำนึก สร้างคุณธรรมจริยธรรมแก่ทุกภาคส่วน ให้ภาคประชาชนและเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมตรวจสอบทุจริตคอร์รัปชั่น แจ้งเบาะแสการทุจริต ต้องเปิดเผยข้อมูลโครงการต่างๆโปร่งใส ชัดเจน รวมทั้งแก้ไขกฏหมายเพิ่มบทลงโทษผู้กระทำผิดอย่างหนักและรุนแรง ไม่มีอายุความ บังคับใช้อย่างเคร่งครัด

     
การปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้มีอิสระในการทำงานและมีบุคลากรทำงานเพียงพอมากขึ้นในหน่วยงานสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ปปช.)และสํานักงานคณะกรรมการปองกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ(ปปท.)จะทำให้ การทำงานเรื่องนี้รวดเร็วขึ้น หากโครงการสร้างการทำงานปราบปรามการคอร์รัปชั่น ยังเป็นแบบเดิม ไม่ปฏิรูปก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาคอร์รัปชั่นได้ดีขึ้น

     
จากผลการจัดอันดับ ดัชนีวัดภาพลักษณ์คอร์รัปชั่นของโลกประจำปี 2556 รวม 177 ประเทศ พบว่าไทยอยู่อันดับ 102 เพิ่มขึ้นจากปี 2555 ที่อยู่อันดับ 88 สะท้อนให้เห็นว่าปัญหาคอร์รัปชั่นของไทยแย่ลง ส่วนในปี2557 ปัญหาคอร์รัปชั่นไทย จะยังไม่ดีขึ้น ส่วนที่มีผู้ออกมาชุมนุมนำปัญหาคอร์รัปชั่นชูประเด็น ทำให้เกิดการตื่นตัว ต่อต้านคอรัปชั่นมากขึ้น แม้การแก้ไขปัญหาต้องใช้เวลา 10-30 ปี แต่หลังที่องค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่นประเทศไทยรณรงค์ตลอด 4 ปีทำให้ประชาชนจำนวนมาก โดยเฉพาะเยาวชนหันมาปฏิเสธปัญหาคอร์รัปชั่น ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี

 

ใครกันที่ต้องเงิบ? ดัชนีโปร่งใส"คสช." ดีขึ้น 5 ลำดับ หลัง"พท."ออกมาตีปลาหน้าไซยกใหญ่ แถมไม่ย้อนดูยุค"หญิงปู" โกงเคยพุ่งสูง-ทำลำดับลูดมหาราช

 

ขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก : แนวหน้าออนไลน์ เผยแพร่เมื่อวันศุกร์ที่ ๑๗ มกราคม ๒๕๕๗ เวลา ๐๙:๓๐ น.