ประยุทธ์ลั่นรัฐบาลเอาจริงปราบทุจริต  เล็งเปิดช่องทางร้องทุกข์คนโกงฟันคนมีเอี่ยว    ยันดูแลคนแจ้งเบาะแสเป็นความลับให้ได้รับความปลอดภัย

ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ “ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน” ออกอากาศทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย วันศุกร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา 20.15 น. ถึงการแก้ไขปัญหาการทุจริตคอรัปชั่นส์ ว่า  
สำหรับในเรื่องของใช้จ่ายงบประมาณนั้น หลายคนอาจจะมองว่าทำไมยังทุจริตกันอยู่ จริง ๆ แล้วไม่ใช่ของง่ายเลย แต่ก็ไม่ใช่ของยากเกินไป เพราะเรามีระบบตรวจสอบ วันนี้รัฐบาลในฐานะรัฐบาล คสช. ก็มีเรื่องตรวจสอบมากมาย ทุกอย่างกำลังเข้าสู่กระบวนการ บางครั้งพูดก่อนก็ไม่ได้ ขอให้รอผลที่ออกมาแล้วกัน ส่วนใหญ่กฎหมายเราไม่ได้บกพร่อง อาจจะมีไม่ทันสมัยบ้าง อะไรทำนองนี้ ก็ต้องแก้ไขไม่ให้ล้าสมัย แต่ปัญหาอยู่ที่ตัวบุคคล ประชาชนที่เกี่ยวข้อง หรืออาจะเรียกได้ว่า ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด อาจจะมีส่วนร่วมในการทุจริต มีการสมยอม เกิดประโยชน์ทั้งสองฝ่าย ซึ่งก็เป็นคนกลุ่มเล็ก ๆ ในระดับจัดทำโครงการ   นโยบายก็คือนโยบาย กำหนดลงไป ข้างล่างก็จัดทำโครงการขออนุมัติขึ้นมา ข้างบนก็อนุมัติโครงการลงไป ก็ระมัดระวังเต็มที่ ทีนี้เวลาไปทำ  ข้างล่างก็มีการจัดทำสัญญา จัดซื้อจัดจ้าง กำหนดทีโออาร์ อีกมากมาย เพราะฉะนั้นต้องไปดูว่าจะอุดรูรั่วเหล่านี้ตรงไหน  เพราะมีช่องว่างของกฎหมาย อาจจะมีการใช้อิทธิพลกล่าวอ้าง และมีการใช้กลไกบริหาร ข่มขู่ ข้าราชการให้หวาดกลัว ให้ร่วมมือกับเขา อันนี้ต้องระมัดระวัง บางครั้ง บริหารราชการทุจริตเชิงนโยบายที่มีส่วนได้เสีย ในผลประโยชน์โดยมิชอบ อันนี้ก็เกิดขึ้นมาโดยเราเห็นอยู่แล้ว บางครั้ง การตรวจสอบเข้าไม่ถึง บางทีมีข่าวออกมา ถูกแพร่หลายออกไปก็ทำให้ภาพลักษณ์เสียหายไปทั้งหมด ทั้งนี้ ขั้นตอนและการจัดทำงบประมาณถือว่าประชาชนต้องมีส่วนร่วมกำหนดเอง ต้องโปร่งใส เราต้องรักษาสิทธิของเรา อย่ายอมให้ใครโกง ไม่มีรอยรั่ว ไม่ใช่ปล่อยไปยาวนานแล้วก็บานปลายกันมา หลายเรื่องทำมานานแล้ว หลายเรื่องเพิ่งทำมาไม่กี่ปีนี้เอง  นโยบายดีหมด แต่เวลาไปทำแล้วมีคนโกงไง แล้วเราปล่อยให้โกงอยู่สองปีสามปี ถึงมีเรื่องขึ้นมาแล้วไม่ได้ ต้องไม่เห็นด้วยตั้งแต่ตอนแรก เช่น ไปให้ใครมาเซ็นชื่อ แล้วไม่ได้รับเงินตามกำหนด ตามจำนวนที่ว่า ก็ต้องเลิกตั้งแต่ตอนนั้นเลย หรือมีการล่ารายชื่อมาแล้วไปขึ้นเงิน โดยที่ตัวเองไม่รู้ว่าเขาเอาไปทำอะไร นี่คือสิ่งที่เราต้องรู้กฎหมาย 

ประชาชนทุกคนต้องเรียนรู้ตรงนี้ ไม่อย่างนั้นนปัญหาก็บานปลายขึ้นมา ต้องนำไปสู่กระบวนการตรวจสอบที่ยืดเยื้อยาวนาน ไปเร่งมากก็ไม่ได้ เพราะหลักฐานต้องใช้มาก เราต้องมีความร่วมมือระหว่างกันให้มากขึ้นในเรื่องของการปราบปรามทุจริต  ต้องไปแยกแยะให้ออก อะไรคือการทุจริต ทุจริตนั้นจะลงโทษกันด้วยอะไร ทางวินัยก็มี  โทษทางกฎหมายคดีอาญา คดีแพ่ง มีหมด เพียงแต่ต้องเข้าใจว่าการดำเนินการเป็นอย่างไร   วันนี้เราคิดว่าจะเปิดให้มีช่องทางร้องทุกข์กล่าวโทษ เช่น หาหลักฐานในการร้องทุกข์กล่าวโทษนำเข้ากระบวนการ โดยไม่ต้องกลัวผู้กระทำผิด รัฐบาลจะเป็นผู้ดูแลความลับ ความปลอดภัยให้ทุกคนกรุณาอย่านิ่งดูดาย อย่ากลัว ต้องช่วยกันต่อต้าน อย่าเพียงวิจารณ์ ต้องดูว่าเขาทำโปร่งใสหรือไม่  ตัวเองได้ประโยชน์อย่างไร  อย่าให้ใครเอาเราไปหาประโยชน์ต่อไปอีก  ต้องแก้ไข ทั้งระบบ รัฐบาลนี้ก็มีหลายมาตรการ มีกฎหมาย ทั้งป้องกันและปราบปราม แต่ปัญหาส่วนใหญ่มักอยู่ที่ตัวบุคคล คนเลว ๆ ก็ยังแทรกซึมอยู่ ไม่ใช่ระบบเสียหาย หรือรัฐบาลนี้ทำเสียหาย   รัฐบาลนี้ได้ทำหลายอย่างให้เกิดความชัดเจนเกิดขึ้น  อะไรที่ไม่ชัดเจนก็ทำต่อไป  ไม่ใช่แย่ไปทั้งหมด คงไม่ใช่  เพราะรัฐบาลนี้ คดีความเหล่านี้ได้ออกมาเป็นจำนวนมาก  

“  เราไม่ต้องการปกป้องคนทุจริต โดยเฉพาะคนทุจริตที่หลบหนี องค์กรตรวจสอบการทุจริตก็มีมาก ทั้ง สตง. องค์กรอิสระ ภาคเอกชน ฯลฯ ก็ต้องปรับตัวเองให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบันด้วย  หลายอย่างเป็นเรื่องของการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง การปฏิรูปประเทศ ฉะนั้นหลักการทางกฎหมายก็ต้องไปดูว่าเป็นอย่างไร ซึ่งก็เกี่ยวกับการปฏิรูปกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมด้วย เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์โลกปัจจุบัน ช่วยกันแก้ ทั้งระบบเด็ก ๆ เยาวชน คนรุ่นใหม่ต้องให้ความสำคัญเรื่องนี้ให้มากเพราะเป็นการบ่อนทำลายประเทศ  อนาคตของท่าน ของเด็ก ๆ เหล่านั้นที่จะโตขึ้นมาในวันหน้า  หากใช้งบประมาณสิ้นเปลือง เกิดผลสัมฤทธิ์น้อย  ไม่เป็นผลสัมฤทธิ์ที่ยังยืน เพราะการทำงานโดยไม่มีธรรมาภิบาล เหล่านี้คือปัญหาทั้งสิ้น” นายกฯกล่าว

ส่วนการตอบคำถามนายกรัฐมนตรี 10 ข้อ ที่เราทำมาโดยตลอดนั้น   ขอบคุณทุกคนที่มีส่วนร่วม  เราได้รับสรุปผลรายงานมา 15 ครั้ง แล้วต้องขอขอบคุณพี่น้องประชาชน“เกือบ 1 ล้าน 5 แสนคน” ที่ออกมาแสดงความคิดเห็น ผมถือว่าเป็นความสมัครใจ เพราะไม่ได้ไปกะเกณฑ์ใครมา  ไม่รู้จักกัน เขามาตอบคำถามในขณะที่เห็นการปฏิบัติงาน ซึ่งอาจจะต่างจากการสำรวจโพลต่าง ๆ ที่อาจไม่ตั้งใจ ไม่สมัครใจ หรือมีความรู้พอเพียงที่จะตอบโพลล์เหล่านั้น อันนี้ไม่ใช่โพลล์แบบนั้น   มาตอบคำถามด้วยตัวเอง ยืนยันตัวตน   ผู้ที่มาตอบคำถามผมนั้น ส่วนใหญ่เป็นพี่น้องเกษตรกร อายุช่วงวัยแรงงาน 31 - 60 ปีข้อสำคัญคือการศึกษาระดับประถมศึกษาเท่านั้น โดยข้อมูลบางส่วนที่น่าสนใจ อย่างมีนัยสำคัญ เช่น ต้องการให้มีการปฏิรูปก่อนการเลือกตั้ง วันนี้เราก็ทำมาอยู่แล้ว 3- 4 ปีที่ผ่านมา ปฏิรูปในเชิงโครงสร้าง ปฏิรูปองค์กร ปฏิรูปวิธีการทำงาน ปฏิรูปกฎหมาย จะได้เตรียมความพร้อมสู่ระยะที่สองโดยรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง  และคาดหวังว่าการเลือกตั้งครั้งหน้า จะได้รัฐบาลที่มี ธรรมาภิบาล ซึ่งผมถือว่าเป็น “ภารกิจสำคัญ” ของ คสช. ตั้งแต่ต้น ที่จะต้องทำให้สำเร็จในระยะที่ 1 ที่เราอยู่นี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความเห็นในเรื่องของนักการเมืองที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม หรือมีความผิด ส่อทุจริตนั้น คำตอบที่ได้จากพี่น้องประชาชน คือต้องการให้ได้รับโทษที่หนักที่สุด โดยการตัดสิทธิ์ทางการเมือง การติดตามเอาผิดจากผู้ที่เกี่ยวข้อง  ผู้สนับสนุน รวมไปถึง การยุบพรรคด้วย ซึ่งผมเห็นว่าบางอย่างก็แรงไปหรือไม่ ไม่ทราบ  แต่นั่นเป็นความเห็นประชาชนเขา  ผมก็เห็นว่าต้องเป็นไปตามกระบวนการยุติธรรม ตามหลักฐาน ตามกฎหมายที่มีอยู่ ส่วนที่พี่น้องประชาชนคาดหวังให้ คสช. แก้ปัญหาต่าง ๆ ต่อไป และขอให้ผมนิ่ง  อารมณ์ดี ยิ้มๆ ไม่หงุดหงิด  ผมก็จะพยายามทำให้ดีที่สุด

ผมมีเรื่องที่น่ายินดี สำหรับสัปดาห์นี้ 2 เรื่องที่จะนำมาเล่าให้ฟัง ช่วยกันคิดวิเคราะห์ว่า เราจะทำอย่างไรต่อไป เพื่อให้สิ่งที่ดี ๆ อยู่แล้ว ดียิ่งขึ้น และสิ่งที่ยังบกพร่องอยู่ ก็ควรจะได้ร่วมมือ ร่วมใจกัน อย่าเอาแต่ติติงกันอย่างเดียว ต้องช่วยกันแก้ไข หาวิธีที่จะปฏิบัติให้ได้ วันนี้สิ่งที่เราทำได้ น่าจะดีขึ้น  อาจจะหลายคนมองว่าไม่ดีก็แล้วแต่ วันนี้ภาพลักษณ์ของบ้านเมืองเรา ในสายตาประชาคมโลก
เรื่องที่ 1 รายงานผลการวิเคราะห์ดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชั่น (CPI) ประจำปี พ.ศ. 2560 ประเทศไทยของเรา ได้คะแนนดีขึ้นเล็กน้อย คำว่าดีขึ้นเล็กน้อยเพราะยาก เพราะมีหลายมิติด้วยกัน เมื่อเทียบกับภาพรวมทั่วโลก ส่วนใหญ่คงที่โดยเราได้ 37 คะแนน อยู่ในลำดับที่ 96 จากประเทศที่เข้าร่วมประเมินทั้งหมด 180 ประเทศ ก็อยู่ประมาณกลาง ๆ   เทียบกับปีก่อนหน้านี้ เราได้ 35 คะแนน อยู่ในลาดับที่ 101 จาก 176 ประเทศที่เข้าร่วมประเมิน ทั้งนี้ การประเมินของ CPI ได้รับความน่าเชื่อถือจากประชาคมโลก เนื่องจากมีการประเมินจากหลายแหล่ง หลากวิธีการ  ทั้งจากผู้เชี่ยวชาญ นักวิเคราะห์ความเสี่ยง นักวิชาการ รวมทั้งนักธุรกิจ ทั้งในประเทศและทั่วโลก  ที่สะท้อนข้อเท็จจริง ให้เห็นในประเด็นสำคัญ อาทิ  (1) การรับรู้ถึงความมุ่งมั่น จริงจัง ในการดำเนินการของประเทศไทย เกี่ยวกับการอำนวยความสะดวกทางธุรกิจ การต่อต้านการทุจริตติดสินบน อย่างแข็งขันโดยเฉพาะการเร่งรัดดำเนินการตามประกาศคณะรัฐมนตรี ให้ปี พ.ศ.2560 เป็น “ปีแห่งการอำนวยความสะดวกทางธุรกิจ ต่อต้านการรับสินบนทุกรูปแบบ” เป็นต้น   (2) ภาพลักษณ์การรับรู้ระบบราชการไทย สังคมไทยทั้งในสายตาประชาชนไทย นักลงทุน ตลอดจนนักวิชาการนานาชาติ ว่าสังคมไทย ยังคงมีกับดักในเรื่องเจ้าหน้าที่รัฐมีพฤติกรรมการใช้ตำแหน่งหน้าที่ในทางมิชอบและ มีการติดสินบนเจ้าหน้าที่ ซึ่งแม้ว่าจะ “ดีขึ้นเล็กน้อย” จากปีที่แล้วมีกติกาเพิ่มขึ้นหลายอย่าง เช่น เป็นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งแต่เราก็ทำคะแนนได้สูงขึ้นอยากให้มองตรงนี้
//////////////////////