ฆาตกรเงียบ!! "ยาจุดกันยุง" ภัยเงียบของผู้ใช้ สูดดมเข้าไปมากอันตรายกว่าที่คิด รู้แล้วแชร์ต่อ

ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

     เชื่อเถอะว่าทุกที่มียุงหมดยิ่งหน้าฝนอย่างนี้ด้วยนะ ยุงชุมยิ่งกว่าหน้าไหนๆเลย และแน่นอนว่ายิ่งยุงชุมเราจะอยู่เฉยๆให้มันกัดเล่นก็ใช่เรื่องเดี๋ยวก็จะเป็นโรคไข้เลือดออกอีก แต่จะให้มานั่งตบเอาที่ละตัวสองตัวก็ขี้เกียจอีกนั่นแหละตบไปบางที่ก็ใช่ว่าจะตบโดนยุง

 

ฆาตกรเงียบ!! "ยาจุดกันยุง" ภัยเงียบของผู้ใช้ สูดดมเข้าไปมากอันตรายกว่าที่คิด รู้แล้วแชร์ต่อ

     และวิธีที่เราจะกำจัดยุงจะทำอย่างไงล่ะ ก็หายาฉีดยุงหรือไม่ก็จุดยากันยุงไง แต่ทุกคนรู้หรือไม่ว่าเจ้ายาจุดกันยุงเนี่ยมันไม่ได้แค่อันตรายกับยุงเท่านั้น แต่มันเป็นอันตรายกับคนด้วย เพราะยาจุดกันยุงมีส่วนประกอบของสารเคมีด้วย ซึ่งถ้าเราใช้แบบไม่ระมัดระวังมันก็จะเป็นอันตรายกับสุขภาพของเราได้

    สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) มีความห่วงใยประชาชน ที่ใช้ยาจุดกันยุง เหตุเพราะในยาจุดกันยุงส่วนใหญ่จะนิยมใช้สารไล่หรือป้องกันยุงในกลุ่มไพรีทรอยด์ (pyrethroids) ซึ่งเป็นสารเคมีสังเคราะห์ที่เลียนแบบสารไพรีทรินส์ (pyrethrins) ที่สกัดได้จากพืชตระกูลเบญจมาศ (สารสกัดไพรีทรัม หรือ pyrethrum extract) ตัวอย่างสารออกฤทธิ์กลุ่มไพรีทรอยด์ที่นิยมใช้ในยาจุดกันยุงและขึ้นทะเบียนไว้กับ อย. เช่น ดี-อัลเลทริน (d-allethrin), เอสไบโอทริน (esbiothrin), เมโทฟลูทริน (metofluthrin) เป็นต้น

     การทำงานของยากันยุง
สารไพรีทรอยด์ในยาจุดกันยุงจะไปรบกวนการทำงานของระบบประสาท ทำให้ยุงเป็นอัมพาตอย่างรวดเร็ว และตกลงมาหงายท้อง นอกจากนี้สารไพรีทรอยด์ยังมีฤทธิ์ในการไล่ยุงด้วย ควันที่ปล่อยออกมาจากยาจุดกันยุงที่มีส่วนผสมของไพรีทรอยด์จึงช่วยลดอัตราการกัดของยุง และป้องกันการรบกวนจากยุงในบริเวณที่จุดได้
 

ฆาตกรเงียบ!! "ยาจุดกันยุง" ภัยเงียบของผู้ใช้ สูดดมเข้าไปมากอันตรายกว่าที่คิด รู้แล้วแชร์ต่อ

     อันตรายของยาจุดกันยุง
     โดยทั่วไปสารไพรีทรอยด์ในยาจุดกันยุง มีความเป็นพิษต่ำกว่าสารเคมีกำจัดแมลงกลุ่มอื่น การใช้ยาจุดกันยุงในขนาดและวิธีการใช้ปกติมักไม่พบการเกิดพิษ
อย่างไรก็ตาม หากสูดดมควันที่ปล่อยออกมาจากยาจุดกันยุงในปริมาณมากๆ เช่น อยู่ในบริเวณที่คับแคบไม่มีอากาศถ่ายเทติดต่อกันเป็นเวลานาน ก็อาจเป็นอันตรายได้ โดยความรุนแรงของอาการพิษขึ้นอยู่กับชนิดและปริมาณที่ได้รับเข้าสู่ร่างกาย
– อาการเบื้องต้นของการสูดดมสารระเหยนี้อาจไม่รุนแรงมากนัก คุณอาจแค่รู้สึกหายใจติดๆ ขัดๆ หายใจไม่สะดวกเท่านั้น
– การสัมผัสทางผิวหนังก่อให้เกิดการระคายเคืองอย่างแรง อาการแพ้ทางผิวหนัง คัน มีผื่นแดง เพราะสารระเหยสามารถซึมผ่านผิวหนังเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย
– การกลืนหรือกินเข้าไป ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
– หากสารจากยาจุดกันยุงเข้าตา จะก่อให้เกิดการระคายเคือง ทำให้มีอาการตาแดง รู้สึกเจ็บตา น้ำตาจะไหลออกมา
– เกิดการสะสมของสารระเหยจากยาจุดกันยุงในร่างกาย สารระเหยจากยาจุดกันยุงจะเข้าไปทำลายเยื่อบุเมือก และทางเดินหายใจส่วนบน จะทำให้หลอดลมและกล่องเสียงอักเสบ อีกทั้งยังเข้าไปทำลายปอด ทรวงอก ทางเดินอาหาร ไต ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ นอกจากนั้นทำให้เกิดอาการหายใจถี่รัว รู้สึกวิงเวียนปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียนได้
– หากได้รับในปริมาณสูงจะมีอาการพิษเฉียบพลัน ได้แก่ มึนงง ปวดศีรษะ อาเจียน กล้ามเนื้อกระตุก อ่อนเพลีย ชัก หรือหมดสติได้
– และสารจากยาจุดกันยุงนี้ ยังเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ของมารดาอีกด้วย

 

ฆาตกรเงียบ!! "ยาจุดกันยุง" ภัยเงียบของผู้ใช้ สูดดมเข้าไปมากอันตรายกว่าที่คิด รู้แล้วแชร์ต่อ

 

     ป้องกันอันตรายจากยาจุดกันยุง ทางที่ดีคือการหลีกเลี่ยงใช้ยาจุดกันยุง หากจำเป็น ควรใช้ด้วยความระมัดระวัง ดังนี้
1) ควรจุดยากันยุงได้ในบริเวณที่ไม่มีคนอยู่เท่านั้น หรือจุดให้ห่างจากบริเวณที่มีคนอยู่ เพื่อจะได้ไม่สูดดมสารจากยากันยุงเข้าสู่ร่างกาย
2) จุด และวางไว้บริเวณเหนือจุดที่ต้องการไล่ยุงในทิศเหนือลม
3) ควรใช้ยาจุดกันยุงในห้องที่มีอากาศถ่ายเทดี หลีกเลี่ยงห้องที่อับชื้น
4) อย่าจุดยากันยุงใกล้วัสดุที่ติดไฟง่าย ขาตั้งและสิ่งรองยาจุดกันยุง ต้องทำด้วยวัสดุโลหะหรือวัตถุอื่นที่ไม่ติดไฟ ขณะใช้ วางให้ห่างจากของไวไฟหรือของที่เป็นเชื้อไฟได้
5) อย่าจุดยากันยุงในห้องที่มีเด็กอ่อน ผู้ป่วย คนชรา และหญิงมีครรภ์
6) ระวังไม่จุดยากันยุงในห้องครัว อย่าให้ยาจุดกันยุงสัมผัสหรือรมถูกอาหาร
7) เมื่อเลิกใช้ยากันยุงนี้แล้ว ควรตรวจดูให้แน่ใจว่าไฟดับเรียบร้อยแล้ว เพื่อป้องกันอุบัติเหตุไฟไหม้ ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้หากประมาท
8) เก็บยาจุดกันยุงไว้ในที่แห้ง อย่าให้ถูกแสงแดด และให้ห่างจากเด็ก อาหาร และสัตว์เลี้ยง