ฝ่าวิกฤต แก้ตลาดเถื่อน หากสำเร็จ ใบเบิกทางสู่ ผู้ว่าฯ กทม. อีกหนึ่งสมัย ?

ฝ่าวิกฤต แก้ตลาดเถื่อน หากสำเร็จ ใบเบิกทางสู่ ผู้ว่าฯ กทม. อีกหนึ่งสมัย ?

    ถือเป็นหนึ่งอุทาหรณ์สำหรับ “ป้าทุบรถ” ซึ่งนอกจากเป็นปัญหาการจอดรถกีดขวางอย่างไม่เป็นระเบียบ ยังบานปลายไปถึงปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนจากการก่อสร้างตลาดในชุมชน

เหตุการณ์ทุบรถที่หมู่บ้านเสรีวิลลา  ก่อแรงสะเทือนมหาศาลมาก  หลายองค์กรในประเทศไทยถูกลากเข้ามาตีแผ่  เริ่มจาก กทม. สำนักงานเขตประเวศน์ ตำรวจท้องที่ สน.ประเวศน์  ตำรวจ 191  และ พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง  ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหารนคร มีการเข้าตรวจสอบตลาดทั้งหมด เมื่อวันที่ 21ก.พ.61 และมีคำสั่งแก้ไขปัญหาตามกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับ เบื้องต้นจะแจ้งเจ้าของตลาดให้ยุติการค้าขายชั่วคราว พร้อมตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงภายใน 7 วัน เพื่อหารือแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของทุกฝ่าย คาดว่าจะทราบผลภายในวันที่ 28 ก.พ.นี้

สำหรับตลาด 5 แห่ง ได้แก่

1.ตลาดสวนหลวง 1 พบว่ามีการขออนุญาตก่อสร้างอาคารจากสำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร แต่ไม่ได้ขออนุญาตสร้างเป็นตลาด 
2.ตลาดเปิ้ลมาร์เก็ต

3.ตลาดยิ่งนรา มีการขออนุญาตใช้พื้นที่เชิงพาณิชย์ ต้องตรวจสอบว่าจำหน่ายสินค้าใดบ้างและปฏิบัติตามข้อบังคับหรือไม่ 
4.ตลาดรุ่งวาณิชย์ และ 5.ตลาดร่มเหลือง ไม่มีใบอนุญาตก่อสร้าง

 

จากนั้นได้มีการขยายผล ออกคำสั่ง ให้ทั้ง 50 สำนักงานเขต ออกสำรวจตลาดที่ไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย พร้อมรายงานผลไปยังผู้บริหาร กทม.รับทราบ ซึ่งเบื้องต้นพบมีตลาดราว 1,000 แห่งทั่วกรุงเทพมหานคร แต่มีเพียง 364 แห่งที่ดำเนินการถูกต้องนั้น แบ่งเป็น ตลาดที่มีโครงสร้างอาคาร 144 แห่ง และตลาดที่ไม่มีโครงสร้างอาคาร 220 แห่ง  

ปัญหาที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดนั้นก็คือแหล่งทำมาหากินของบรรดา พ่อค้าแม่ค้า มอเตอร์ไซค์รับจ้าง คนส่งของ เด็กรับจาก เรียกได้ว่าตลาดนัด คือแหล่ง ขับเคลื่อนเศรษฐกิจรากหญ้าอย่างแท้จริง มีนักเศรษฐศาสตร์หลายท่านได้กล่าวไว้ หากจะดูว่าเศรษฐกิจดีหรือไม่ดี ให้ดูยอดการซื้อขายในตลาดนัด ดังนั้นสิ่งที่ต้องจับตาดูต่อจาก นอกเหนือจากทำสิ่งที่ถูกต้องให้เกิดขึ้นเป็นที่ประจักษ์แล้ว  สำหรับมาตรการที่จะเข้าไปช่วยเหลือ ดูเหลือพ่อค้าแม่ขายผู้ที่เกี่ยวกข้องและได้รับผลกระทบอย่างให้เห็นเป็นรูปธรรมอย่างชัด หากตลาดนัดต่างๆต้องปิดตัวลงอย่างถาวร 

เรื่องดังกล่าวถือเป็นบททดสอบการแก้ไขปัญหา ของพล.ต.อ.อัศวินว่าจะสามารถฝ่าวิกฤตดังกล่าวไปได้หรือไม่ แน่นอนหากสามารถผ่านอุปสรรคต่างๆไปได้ด้วยดี ถือเป็นในเบิกทาง สำหรับการดำรงตำแหน่ง “ผู้ว่าฯกทม.” ในสมัยต่อไป 

ถึงวันนี้วันที่ประเทศไทยนับถอยหลังเข้าสู่โหมดเตรียมพร้อมสู่การเลือกตั้งท้องถิ่น หลังจากที่รัฐบาลเริ่มชัดเจนว่า จะมีการเลือกตั้ง กทม.และองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ก่อนการเลือกตั้งท้องถิ่นรูปแบบอื่น และที่สำคัญอาจจะเกิดขึ้น ภายในปีนี้อีกด้วย

ผู้ที่มีชื่อติดลมบนเวลานี้ คงหนี้ไม่พ้น เต็งหนึ่งอย่าง “พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง” ที่สร้างประวัติศาสตร์เป็นนายตำรวจไทยคนแรกที่ขึ้นเป็น “ผู้ว่าฯ กทม.” แทน “ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์” ที่พ้นจากตำแหน่งจากคำสั่งของหัวหน้า คสช. ที่ 64/2559 เมื่อช่วงเดือนตุลาคม 2559

หลังจากเกษียณอายุราชการในตำแหน่งรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พล.ต.อ.อัศวินได้รับความไว้วางใจเป็นพิเศษได้รับการแต่งตั้งให้เป็น“รองผู้ว่าฯกทม.” ต่อจากม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ ซึ่งเวลานั้นยังนั่งเก้าอี้ ผู้ว่าฯกทม.ได้รับมอบหมายให้ดูแลงานด้านเศรษฐกิจและการคลัง ดูแลงานสำนักเทศกิจ ดังนั้นในแง่ความสัมพันธ์ระหว่าง พล.ต.อ.อัศวิน กับพรรคประชาธิปัตย์จึงเชื่อมโยงกันในสายตาและความรู้สึกของสาธารณชนทั่วไป

กระทั่งล่าสุดเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2561 “พล.ต.อ.อัศวิน” ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนเกี่ยวกับกระแสข่าวจะลงสมัครชิงตำแหน่งผู้ว่าฯกทม.ว่า ขอใช้เวลาพิจารณาก่อน ถ้าตัดสินใจจะลงสมัครรับเลือกตั้งก็อาจจะลงสมัครแบบอิสระไม่สังกัดพรรค การเมือง อาจลงแบบวันแมน โชว์ ทั้งยังระบุยํ้าด้วยว่า ไม่ได้เป็นคนที่มีความทะเยอทะยานมาก ตราบใดที่ยังเป็นผู้ว่าฯกทม.อยู่จะทำหน้าที่ให้ดีที่สุดยืนยันว่าไม่ได้ทำงานเพื่อปูทางเข้าสู่การเลือกตั้งผู้ว่าฯครั้งต่อไป

“ตอนนี้อาจจะบอกว่า ทำงานดีแต่อีก 2-3 เดือนอาจจะบอกว่า ทำงานไม่ได้เรื่องก็ได้ ขอให้เวลาเป็นเครื่องชี้ขาดเพราะ เราไม่ได้สังกัดพรรคการเมืองอะไรทั้งนั้น” พล.ต.อ.อัศวิน ระบุ

สำหรับผลงานชิ้นโบแดงของเขานั้น คือ การทวงคืนพื้นที่ป้อมมหากาฬเพื่อปรับปรุงเป็นแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ทางโบราณสถาน และการจัดระเบียบหาบเร่แผงลอยทั่ว กทม.
อย่างไรก็ตาม หากพล.ต.อ. อัศวิน สามารถแก้ไขปัญหาตลาดเถื่อนทั่วกรุงเทพ และสามารถดูแลพ่อค้าแม่ขายที่ได้รับผลกระทบ ให้จบลงได้ด้วยดี นั้นว่าที่ ผู้ว่ากทม.อีกหนึ่งสมัยของไม่ไกลเกินเอื้อม