ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

เปิดตำนานพิธีกรรมสุดสยอง!! "ประเพณีเลี้ยงดง" กินเนื้อควายสดๆ เซ่นดวงวิญญาณผู้รักษาป่า ปู่แสะ-ย่าแสะ ความเชื่อแต่โบราณที่ยังคงอยู่! (ชมคลิป)

งานประเพณีเลี้ยงดง หมายถึง การเซ่นสรวงดวงวิญญาณผีในป่าประเพณีหมายถึง สิ่งที่ปฏิบัติกันมาหลายร้อยปีหลายช่วงอายุคนดงหมายถึง ป่าไม้หรือป่าดงดิบ ตั้งแต่อดีตกาลป่าไม้คู่กับคน ป่าเป็นต้นกำเนิดของสรรพสิ่งมีชีวิต คนอาศัยป่าในการดำรงชีวิตอยู่ สภาพแวดล้อมในป่าได้สร้างทรัพยากรทางธรรมชาติ เช่น พืชพันธ์สัตว์ต่างๆ และรักษาความสมดุลทางธรรมชาติตลอดจนเป็นต้นน้ำที่ดียิ่งหล่อเลี้ยงมนุษยชาติในปัจจุบัน ป่าไม้ให้สมดุลให้กับธรรมชาติ คนกับป่าไม้อยู่คู่กันตลอดมา

สถานที่เลี้ยงดงที่ตั้งอยู่ในปัจจุบันนี้ คือ บริเวณลาน เชิงวัดพระธาตุดอยคำ และบริเวณหมู่ที่ 3 บ้านแม่เหียะใน ต.แม่เหียะ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ป่าไม้บริเวณดังกล่าวเป็นป่าต้นน้ำของลำห้วยแม่เหียะ ซึ่งหล่อเลี้ยงชีวิตคนใน ต.แม่เหียะ ต.สันผักหวาน และ ต.ป่าแดด ป่าต้นน้ำนี้ได้สร้างความสมดุลให้กับชาวเชียงใหม่มาหลายร้อยปีแล้ว ประเพณีเลี้ยงดง เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาตั้งแต่อดีตกาลเพื่อให้ประชาชนมีความรักและหวงแหนรักษาป่าไม้ให้คงอยู่และไม่ให้ใครเข้าไปบุกรุกทำลายธรรมชาติป่าต้นน้ำดังกล่าวให้เสียหาย โดยวิธีดังกล่าวได้ผ่านร่างทรงโดยอันเชิญดวงวิญญาณผู้ปกปักรักษาป่าแห่งนี้นามว่า ปู่แสะ ยักษ์จิคำและ ย่าแสะ ยักษ์ตาเขียวโดยได้จัดพิธีปีละหนึ่งครั้งและมีความเชื่อว่าเป็นผู้รักษาป่าให้คงอยู่ ผู้บุกรุกจะพบกับเหตุเภทภัยต่างๆ ในอดีตป่าต้นน้ำแม่เหียะเป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์ซึ่งมีน้ำตกที่ใช้ชื่อว่าน้ำตกตาดหมาไห้ และน้ำลำห้วยแม่เหียะไหลผ่านตลอดปี ประชาชนใดจะเข้าไปในป่าจะต้องได้รับอนุญาตจากผีป่า- ผีดง คือ ผีปู่แสะ ย่าแสะก่อน ซึ่งบริเวณที่เลี้ยงดงในปัจจุบันจะมีศาลเพียงตาเพื่อทำพิธีบอกกล่าวก่อนที่ผู้เข้าไปเก็บของป่าหรือล่าสัตว์ป่า หากผู้ใดมิได้บอกกล่าวและละเมิดมักจะมีอันเป็นไปตายโดยมิรู้สาเหตุ ซึ่งเป็นที่กล่าวในอดีตว่าถูกยักษ์ปู่แสะ ย่าแสะกิน

ดังนั้นพิธีเลี้ยงดง จึงเป็นประเพณีที่ชาว ต.แม่เหียะและตำบลใกล้เคียงได้จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 9 เหนือ (ประมาณเดือนพฤษภาคม) ผ่านมาหลายร้อยปีแล้ว เพื่อให้เป็นศิริมงคลแก่ประชาชนที่อยู่ใน ต.แม่เหียะและตำบลใกล้เคียง ตามประวัติศาสตร์และพงศวดารกล่าวไว้ว่า พิธีดังกล่าวในอดีตเจ้าผู้ครองนครล้านนาและผู้นำชุมชนระดับสูงต้องเข้าร่วมในพิธีกรรมและเป็นประเพณีที่ปฏิบัติถึงชนรุ่นหลัง การจัดพิธีกรรมนี้มีความเชื่อว่าเมื่อเลี้ยงดง บวงสรวงด้วยเครื่องเซ่น คือ ควายรุ่นเขาเพียงหูสีดำ 1 ตัว ดอกไม้ธูปเทียน ผลไม้ต่างๆ และสุราขาว เป็นเครื่องเซ่นไหว้ให้ดวงวิญญาณปู่แสะ ย่าแสะ ให้มารับเครื่องบวงสรวงเซ่นไหว้โดยผ่านร่างทรงเข้ามารับเครื่องเซ่นไหว้คือ ควายดิบและของที่เตรียมไว้ การจัดพิธีดังกล่าวมีความเชื่อว่าจะก่อให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุข ป่าไม้อุดมสมบูรณ์ ฝนตกต้องตามฤดูกาลและประชาชนไม่เจ็บไข้ได้ป่วย ทำการเกษตรได้ผลดีตลอดปี ในขณะเดียวกันป่าต้นน้ำก็ยังอยู่และผู้บุกรุกก็มีอันเป็นไปด้วยอิทธิฤทธิ์ของดวงวิญญาณปู่แสะ ย่าแสะ

สำหรับตำนานของปู่แสะ ย่าแสะ มีอยู่ว่า ในอดีตมีเมืองหนึ่งชื่อ บุพพนคร เป็นเมืองชนเผ่าลัวะ ตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำปิงและดอยอ้อยช้าง ชาวบ้านแห่งนี้อยู่กันแบบไม่เป็นสุขเพราะถูกยักษ์ 3 ตน ยักษ์พ่อแม่ลูก จับเอาชาวเมืองไปกินทุกวันๆ จนชาวเมืองต้องหนีออกจากเมืองเนื่องจากกลัวยักษ์ ต่อมาพระพุทธเจ้า รับรู้ความเดือดร้อนของชาวเมืองลัวะ จึงได้เสด็จมาโปรดและแสดงอภินิหารแสดงธรรม ให้ยักษ์สามตนได้เห็น จนยักษ์สามตนนั้นเกิดความเลื่อมใส และให้ยักษ์ทั้งสามตนสมาทานศีลห้าสืบไป ต่อมายักษ์ทั้งสามตนนึกได้ว่าพวกตนเป็นยักษ์ต้องประทังชีวิตด้วยการกินเนื้อ จึงได้ขอพระพุทธเจ้ากินควายปีละ 1 ตัว พระพุทธเจ้าไม่ทรงตอบ ให้ไปถามเจ้าเมืองเอาเอง ว่าแล้วพระพุทธเจ้าก็เสด็จออกจากดอยคำนั้นไปก่อนไปพระพุทธองค์จึงได้สั่งไว้ว่าให้ยักษ์ทั้งสองตน จงรักษาผู้คนในบ้านเมือง ให้อยู่เย็นเป็นสุข และ ขอให้สืบทอดรักษาพระศาสนาให้ครบห้าพันปี ยังความยินดีถึงพระอินทร์ ได้เนรมิตให้ฝนเงินฝนคำตกลงมาไหลเข้าไปยังพื้น ดอยแห่งนี้ ภายหลังมาดอยเหนือใต้จึงได้ชื่อว่า ดอยสุเทพ และดอยคำ

เปิดตำนานพิธีกรรมสุดสยอง!! "ประเพณีเลี้ยงดง" กินเนื้อควายสดๆ เซ่นดวงวิญญาณผู้รักษาป่า ปู่แสะ-ย่าแสะ ความเชื่อแต่โบราณที่ยังคงอยู่! (ชมคลิป)
 

ยักษ์ทั้งสามตนจึงได้ไปขอกับเจ้าเมืองลัวะ ซึ่งทางเจ้าเมืองก็ได้นำควายมาถวายให้ปีละ 1 ตัว และยักษ์ก็จะดูแลชาวบ้านชาวเมืองให้อยู่เย็นเป็นสุขสืบไป ส่วนลูกยักษ์ได้บวชเป็นพระ ต่อมาได้ลาสิกขาบทออกมาเป็นฤาษีมีนามว่า สุเทพฤาษีบำเพ็ญพรตอยู่ที่ถ้ำหลังดอยเหนือซึ่งคือดอยสุเทพ โดยเรียกตามชื่อฤาษีสุเทพ ส่วนยักษ์ตัวพ่อชื่อปู่แสะ ยักษ์ตัวแม่ชื่อย่าแสะ หลังสิ้นสมัยปู่แสะย่าแสะแล้ว ชาวบ้านชาวเมืองก็ยังเกรงกลัวอิทธิฤทธิ์อยู่และหวังให้ปู่แสะย่าแสะ ช่วยกันรักษาพระพุทธศาสนาพร้อมช่วยกันดูแลชาวบ้านชาวเมืองให้อยู่เย็นเป็นสุข จึงได้มีพิธีเซ่นดวงวิญญานที่เรียกกันว่า เลี้ยงดง ต่อจากนั้นมาทุกๆ ปีเมื่อถึงเดือนเก้าออกของเมืองล้านนา ชาวบ้านที่เกี่ยวข้องจะเอาผืนผ้ามาแต้มเป็นรูปพระบฏให้ดูเหมือนพระพุทธเจ้า เสด็จมาร่วมพิธีกรรมเลี้ยงผีปู่แสะ-ย่าแสะ หรือชาวบ้านเรียกผืนผ้ากันว่า ตุงพระบฏ(อิริยาบถ)มาแขวนให้แกว่งไปมาเหมือนดั่งภาพมีชีวิตโดยในตำนานเชื่อว่าจะทำให้ยักษ์กลัวและไม่กล้าที่จะกินมนุษย์อีกเพราะคิดว่าพระพุทธเจ้ายังมีชีวิตอยู่

เปิดตำนานพิธีกรรมสุดสยอง!! "ประเพณีเลี้ยงดง" กินเนื้อควายสดๆ เซ่นดวงวิญญาณผู้รักษาป่า ปู่แสะ-ย่าแสะ ความเชื่อแต่โบราณที่ยังคงอยู่! (ชมคลิป)

 

ที่มาจาก : marandd.com