ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

วันที่ 8 มี.ค.61 นายวิชัย สมรูป ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 8 นายประถม รัศมี หน.ป่าชายเลน ที่ 16 ตะกั่วป่า นายสุดจิตร ลิ่มพานิช กำนันเกาะคอเขา นายอังกูร วราภรณ์พิพัฒน์ ปลัด อบต.เกาะคอเขา ปฏิบัติหน้าที่นายก อบต.เกาะคอเขา พร้อมด้วยผู้ใหญ่บ้าน 5 หมู่บ้านเกาะคอเขา ประชาชนเกาะคอเขา ได้ลงพื้นที่ ต.เกาะคอเขา อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา เพื่อแก้ปัญหาให้กับชาวประมงพื้นบ้านตำบลเกาะคอเขา ในกรณีที่มีชาวประมงต่างถิ่นใช้เครื่องมือประมงทำลายล้าง เรืออวนล้อม มาทำการประมงในเขต3,000 เมตร จนสร้างความเดือดร้อนให้กับประมงชายฝั่งเนื่องจากจับสัตว์น้ำได้น้อยลง ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ได้แก้ปัญหาโดยบูรณาการหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพิ่มความเข้มงวดกวดขันในการออกตรวจปราบปรามกระทำผิดและบังคับใช้กฏหมายอย่างเข้มข้นไม่ให้ทรัพยากรถูกทำลายและเพื่อเป็นการแก้ปัญหาให้ชาวบ้านที่ได้รับความเดือดร้อน โดยจังหวัดพังงา ได้กำหนดจุดจากชายฝั่งออกไปในทะเลระยะ 3,000 เมตร ตั้งแต่ด้านทิศเหนือจาก อ.คุระบุรี ไปทางทิศใต้ขนานกับแนวชายฝั่งจนสุดเขต ต.มะรุ่ย อ.ทับปุด และ เกาะยาวใหญ่ เกาะยาวน้อย ในบริเวณที่ 3 วงเล็บ 2 ระบุว่า พื้นที่ภายในเขตตามประกาศตามกระทรวงเกษตรในเรื่อง กำหนดห้ามใช้เครื่องมืออวนลาก อวนรุน ทำการประมงในเขตอ่าวพังงา ที่ห้ามทำการประมงหรือกิจกรรมใดๆในแนวเขตสีฟ้า ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเป็นผลกระทบต่อวงจรชีวิตของสัตว์น้ำ ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ได้แนะนำกฎหมายต่างๆให้ชาวบ้านที่ทำการประมงได้รับทราบข้อคำสั่งจึงทำให้ทุกคนสบายใจ และมุ่งมั่นที่จะทำประมงที่ใช้เครื่องที่ไม่ผิดกฎหมายเพื่อการรักษาทรัพยากรทางทะเลร่วมกัน

ชาวประมงพื้นบ้านโวย...เรือประมงต่างถิ่นใช้อวนล้อมทำการประมงในเขต 3,000 เมตร จากฝั่ง กระทบหนัก..จับปลาได้น้อย

นายนิคม ฉ่ำมาลี ชาวบ้านเกาะคอเขา กล่าวว่า ขณะนี้ทางประมงพื้นบ้านในพื้นที่ตำบลเกาะคอเขา ที่หากินอวนทุ่น อวนลอย อยู่ข้างๆชายฝั่ง แต่ที่ผ่านมาในพื้นที่ ต.เกาะคอเขา ไม่มีอวนลอบหลังเขียวแต่ที่พบว่าในช่วงนี้มีเรือประมงต่างถิ่นมาหาจับปลาในพื้นที่ระยะ 3,000 เมตร จึงทำให้ชาวประมงในพื้นที่ได้รับความเดือดร้อน

ชาวประมงพื้นบ้านโวย...เรือประมงต่างถิ่นใช้อวนล้อมทำการประมงในเขต 3,000 เมตร จากฝั่ง กระทบหนัก..จับปลาได้น้อย

ทางนายสุดจิตร ลิ่มพานิช กำนันตำบลเกาะคอเขา กล่าวว่า ขณะนี้ได้รับการร้องเรียนจากทางชาวบ้านว่าเรืออวนล้อมได้เข้ามาล้อมจับปลา และพยายามบีบอวนล้อมให้แคบ พร้อมใช้แหทอดปลา และจะนำปลาไปขายปลาไก่ จนกระทั่งชาวบ้านในพื้นที่ตำบลเกาะคอเขาจะไปหาปลามากินในแต่ละวันแทบจะไม่มีปลาให้เห็น ด้านผู้ประกอบการโรงแรมต่างๆ ยังบอกอีกว่าได้มีเรือประมงพื้นบ้านจากต่างถิ่นเข้ามาวางอ้วนในสถานที่ท่องเที่ยวขณะที่นักท่องเที่ยวกำลังลงเล่นน้ำอยู่หน้าชายหาด จนทำให้นักท่องเที่ยวต้องวิ่งขึ้นบนฝั่ง เพราะเรือที่วิ่งผ่านเข้ามาถึงหน้าชายหาด เพื่อความปลอดภัย ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ในพื้นที่เองได้ลงพื้นที่ไปตรวจสอบตามกฎของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมในข้อห้ามบริเวณที่ 3 ในระยะ 3000 เมตร ห่างจากฝั่งออกไปโดยเฉพาะเรืออวนล้อม รอบดักปลา อวนทับตลิ่ง อวนถ่วง และอุปกรณ์ประมงอีกหลายอย่างที่ห้ามทำประมงใกล้ชายฝั่ง ซึ่งทำให้ชาวประมงพื้นบ้านได้รับความเดือดร้อนไม่รู้ว่าจะไปหากินต่อที่ไหน เพราะว่าสัตว์ทะเลส่วนใหญ่จะอยู่ในระยะ 3000 เมตร ดังนั้น ตนเองได้เร่งหาแนวทางในการแก้ปัญหาให้ชาวบ้านโดยการประสารหน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่แนะชาวประมงพื้นบ้านให้เข้าใจถึงกฎหมายที่ห้ามจับปลาบริเวณดังกล่าว

ชาวประมงพื้นบ้านโวย...เรือประมงต่างถิ่นใช้อวนล้อมทำการประมงในเขต 3,000 เมตร จากฝั่ง กระทบหนัก..จับปลาได้น้อย

ด้านนายวิชัย สมรูป ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 8 กล่าวว่า จากที่ชาวบ้านในตำบลเกาะคอเขา ได้มีการร้องเรียนใน2ประเด็น คือ 1.ประมงพาณิชย์ที่ใช้เครื่องมือแบบทำลายล้างอ้วนล้อมปลาตาถี่ เข้ามาลักลอบจับปลาเล็ก ปลาน้อย เข้ามาจับปลาในปริมาณมาก จนสร้างความเดือดร้อนให้กับชาวประมงชายฝั่ง ที่ใช้เครื่องมือเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น อวนลอย เบ็ตหลาว หรือจำพวกทอดแห เมื่อปลาเล็กถูกจับไปมากๆ จะส่งผลกระทบต่อวงจรชีวิตของสัตว์น้ำ และจะส่งผลทำให้รายได้ของประมงชายฝั่งลดลงมาไม่พอในการยังชีพ ส่วนประเด็นที่ 2. ทางประมงชายฝั่งมีข้อกังวลในการประกาศของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ครอบครองสิ่งแวดล้อมและตาม พรบ.ส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมพ.ศ. 2535 ในการประกาศพื้นที่ 3000 เมตร จากชายฝั่งในพื้นที่จังหวัดพังงา ในเรื่องข้อห้ามเกี่ยวกับเครื่องมือการทำประมงที่โดยทางเจ้าหน้าที่ได้ทำการชี้แจงให้ความรู้กับชาวประมงพื้นบ้านในการใช้เครื่องมือการทำประมงของชาวประมงชายฝั่งและที่ไม่ได้เป็นเครื่องมือทำลายล้างก็สามารถหากินได้ตามปกติ ไม่มีผลกระทบกระเทือนต่อให้ชาวบ้านได้คลายข้อกังวล ในส่วนของเครื่องมือทำลายล้างที่ทางกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง จะได้ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมจังหวัดพังงา และกรมประมง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดูแลทรัพยากรชายฝั่งทั้งหมดเพื่อที่จะบังคับใช้กฎหมายนี้อย่างเคร่งครัดถูกต้องไม่ให้ละเมิดกฏหมายหรือตามที่ประกาศเป็นพื้นที่คุ้มครองธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไปแล้ว

ชาวประมงพื้นบ้านโวย...เรือประมงต่างถิ่นใช้อวนล้อมทำการประมงในเขต 3,000 เมตร จากฝั่ง กระทบหนัก..จับปลาได้น้อย

ชาวประมงพื้นบ้านโวย...เรือประมงต่างถิ่นใช้อวนล้อมทำการประมงในเขต 3,000 เมตร จากฝั่ง กระทบหนัก..จับปลาได้น้อย

ชาวประมงพื้นบ้านโวย...เรือประมงต่างถิ่นใช้อวนล้อมทำการประมงในเขต 3,000 เมตร จากฝั่ง กระทบหนัก..จับปลาได้น้อย

ชาวประมงพื้นบ้านโวย...เรือประมงต่างถิ่นใช้อวนล้อมทำการประมงในเขต 3,000 เมตร จากฝั่ง กระทบหนัก..จับปลาได้น้อย

ชาวประมงพื้นบ้านโวย...เรือประมงต่างถิ่นใช้อวนล้อมทำการประมงในเขต 3,000 เมตร จากฝั่ง กระทบหนัก..จับปลาได้น้อย

ชาวประมงพื้นบ้านโวย...เรือประมงต่างถิ่นใช้อวนล้อมทำการประมงในเขต 3,000 เมตร จากฝั่ง กระทบหนัก..จับปลาได้น้อย

วรรณศิริ โพธิ์พันธ์  สำนักข่าวทีนิวส์  จ.พังงา