เหตุไฉน"ณัฐวุฒิ" ผู้ยึดหลักการประชาธิปไตย ต่อต้านเผด็จการทหารแต่ดันก้ม "เผด็จการรัฐสภา" ..จนได้ดี?

จากการที่นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ เลขาธิการกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ออกมาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับหลักการประชาธิปไตย โดยนายณัฐวุฒิกล่าวบางช่วงว่า ทุกกลุ่มที่จะตั้งพรรคการเมืองในสถานการณ์เช่นนี้ แม้ว่า นโยบายและแนวทางการเมืองหลังการเลือกตั้งจะยังพูดไม่ได้ แต่จุดยืนประชาธิปไตยทุกกลุ่ม และทุกพรรคต้องแสดงความคิดเห็นในเรื่องนี้ให้ชัดเจน ซึ่งพรรคการเมืองใด ที่จะประกาศสนับสนุนนายกรัฐมนตรีคนนอก ก็สามารถทำได้ แต่พรรคที่ยืนยันหลักการประชาธิปไตยก็ไม่ควรรีรอ 

" ผมแน่ใจว่า การเลือกตั้งที่จะมาถึงนี้ นอกเหนือจากนโยบายเศรษฐกิจ และการแก้ไขปัญหาปากท้องของประชาชนแล้ว เรื่องการต่อสู้ในหลักการประชาธิปไตยกับอำนาจระบบเผด็จการจะเป็นกระแสสูง เมื่อถึงตรงนั้นการตัดสินใจของประชาชนจะไม่สามารถมองข้ามประเด็นนี้ได้ ดังนั้นไม่ว่า จะเป็นพรรคเก่า พรรคใหม่ พรรคใหญ่ หรือพรรคเล็กต้องแสดงจุดยืนเรื่องนี้ให้สำหรับพรรคใดที่มีแผนอยู่ในใจที่จะจับมือกับการสืบทอดอำนาจ และหวังผลประโยชน์ทางการเมืองจากเหตุการณ์นั้น ก็ขอให้ประชาชนช่วยกันจับตาดู" 

นายณัฐวุฒิ ต่อด้วยกล่าวว่า ตนยังไม่ได้คิดถึงตรงนั้น เพราะยังไม่เห็นว่า การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ การที่นายกรัฐมนตรีออกมายืนยันว่า จะมีการเลือกตั้งเมื่อไหร่ก็จะมีเหตุปัจจัยที่จะทำให้เลื่อนออกไปทุกที ดังนั้นการตัดสินใจส่วนตัวหรือท่าทีของ นปช. ต่อการเลือกตั้ง คิดว่า ยังมีเวลาที่จะแสดงออกในเรื่องนี้ 

อย่างไรก็ตามเบื้องต้นยืนยันว่า หลักการประชาธิปไตยไม่สนับสนุนนายกรัฐมนตรีคนนอก ดังนั้นพรรคใดที่ยืนยันหลักการประชาธิปไตย จะเป็นมิตรและแนวร่วมกับ นปช. แต่ถ้าพรรคใดปฏิเสธหลักการดังกล่าว เราก็จะไม่สามารถร่วมทางกันได้ ไม่ว่า พรรคเก่า พรรคใหม่ หรือพรรคใหญ่ พรรคเล็ก

เมื่อถามว่า นปช.ยังสนับสนุนพรรคเพื่อไทยหรือไม่ นายณัฐวุฒิ กล่าวว่า ถ้าพรรคเพื่อไทยยังคงสนับสนุนหลักการประชาธิปไตย เรายังเป็นมิตรและแนวร่วมกันอยู่ รวมถึงเราเป็นมิตรกับพรรคการเมืองอื่นๆที่สนับสนุนหลักการประชาธิปไตยด้วย 

“ส่วนตัวผมเห็นว่าพรรคการเมืองใดก็ตามที่แสดงตนชัดเจนว่าสนับสนุนการสืบทอดอำนาจ เป็นเรื่องยากที่จะได้รับการตอบรับจากประชาชนส่วนใหญ่ สำหรับการเคลื่อนไหวของผมนั้นยังมีภาระหน้าที่เรื่องคดีความของแกนนำนปช.อยู่  ดังนั้นขอให้กำลังใจกลุ่มคนอยากเลือกตั้งและขอยืนยันว่า การแสดงออกว่าอยากเลือกตั้งไม่ใช่เรื่องที่ผิดกฎหมาย โดยขอเรียกร้องให้รัฐบาลใช้อำนาจและบังคับใช้กฎหมายอย่างเป็นธรรม ต้องคำนึงถึงหลักสิทธิมนุษยชนที่รัฐบาลประกาศเป็นวาระแห่งชาติ ส่วนนักการเมืองคนใดที่เคลื่อนไหวสนับสนุนกลุ่มคนอยากเลือกตั้งก็ถือเป็นสิทธิอันชอบธรรม” 

ดูเหมือนว่าดังนั้นก็ต้องย้อนกลับไปดูพฤติการณ์ในอดีตว่าเผด็จการที่ว่านั้นมีแต่เผด็จการ ทหารเพียงเท่านี้หรือ ซึ่งใครหลายคนยังคุ้นหูกันดีสำหรับคำว่าเผด็จการรัฐสภา 

ซึ่งเผด็จการทหารก็เป็นที่ทราบกันดีอยู่ว่าทหารร่วมกลุ่มการยึดอำนาจจากรัฐบาลแต่สำหรับเผด็จการรัฐสภา แน่นอนว่าเคยเกิดขึ้นและมีอยู่จริงในการเมืองไทยซึ่งมาดูกันว่าพฤติการณ์ของพรรคที่มีนายทักษิณชินวัตรอยู่เบื้องหลังหรือเป็นเจ้าของนั้นมีพฤติกรรมอะไรบ้าง

ภายหลังการรัฐประหารยึดอำนาจจากนายทักษิณ ในปี 2549 จากนั้นได้เกิดการเลือกตั้งขึ้นในปี 2550 รัฐบาลนอมินีของนายทักษิณ อย่าง นายสมัคร สุนทรเวช  และพรรคพลังประชาชนเข้ามาบริหารประเทศ  จนกระทั้ง นายสมัคร ถูกศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้พ้นตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เพราะมีผลประโยชน์ทับซ้อนจากการจัดรายการชิมไปบ่นไป  

เมื่อนายสมัคร หมดประโยชน์ ก็ดูเหมือนจะไร้ความหมายสำหรับนายทักษิณ ได้ยึดเก้าอี้นายกรัฐมนตรีไปให้กับน้องเขย นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์  แถมที่ร้ายกาจคือการ หลอกนายสมัครให้ไปรอเก้อ กลางสภา ในการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี เมื่อ วันที่ 12 กันยายน 2551

เรื่องนี้ นายศุภชัย ใจสมุทร อดีตโฆษกพรรคภูมิใจไทย เคยเปิดเผยว่า  หลังจาก ศาลรัฐธรรมฯญ วินิจฉัยให้นายสมัคร พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2551 นาย ทักษิณ ได้โทรศัพท์มาหานายเนวิน ชิดชอบว่า ขอให้ แจ้งกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของ พรรคพลังประชาชนว่า ให้สนับสนุนนายสมัคร เป็นนายกรัฐมนตรีต่อไป นายเนวิน จึงแจ้งกับ สส .พรรคพลังประชาชน และให้ผู้ใหญ่ใน พรรค ไปขอร้องนายสมัคร ที่บ้านพักในหมู่บ้านโอฬาร ซอยนวมินทร์ 81 ให้กลับมาเป็นนายกฯ อีกครั้ง ส.ส. พลังประชาชนพร้อมที่จะสนับสนุน
       
       ในตอนแรก นายสมัครปฏิเสธ ไม่ต้องการเป็นนายกรัฐมนตรีแล้ว เพราะคิดว่า ได้ทำหน้าที่ให้กับพรรคพลังประชาชนตามที่ทักษิณขอร้อง อย่างครบถ้วนแล้ว แต่เมื่อได้รับการขอร้อง ก็ตกปากรับคำว่า จะเป็นนายกรัฐมนตรีให้ คืนวันที่ 11 กันยายน ผู้ที่ไปเจรจา กับนายสมัคร กลับมาแจ้ง กับ ส.ส. พลังประชาชนที่รออยู่ที่พรรค ว่า นายสมัครยอมรับตำแหน่งนายกฯ ทำให้ผู้รออยู่ตบมือกันเกรียว แสดงความยินดีและเป็นสัญญาณว่า วันพรุ่งนี้ จะไปยกมือให้นายสมัครเป็นนายกฯ
       
       เช้าวันที่ 12 กันยายน เวลาประมาณแปดโมง นายทักษิณ ยังโทรศัพท์มายืนยันกับนายเนวินว่า ต้องเลือกนายสมัคร เป็นนายกฯ นายสมัครไปถึงสภาแต่เช้า แต่ไม่เข้าไปในห้องประชุม อยู่ในห้องรับรอง       
       แต่เมื่อถึงเวลาประชุม มีแต่ ส.ส.พรรคพลังประชาชนกลุ่มเพื่อนเนวิน และพรรคประชาธิปัตย์มาประชุม ไม่มี ส.ส. พรรคร่วมรัฐบาลอื่นๆเลย ทำให้องค์ประชุมไม่ครบ เลือกนายสมัคร เป็นนายกฯไม่ได้
       
       เวลา 10.15 น. นายสมัคร เดินลงมาขึ้นรถคนเดียวด้วยอาการเศร้าสร้อย ไม่ยอมให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชน เย็นวันนั้น นายธีรพล นพรัมภา เลขาธิการนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น นำข้อความจากนายสมัครมาบอกกับนักข่าวว่า “ท่านฝากบอก แมสเสจ สั้นๆว่า ได้ทำหน้าที่รักษาประชาธิปไตยอย่างถึงที่สุดแล้ว หลังจากนี้ไป เป็นภาระของพรรคพลังประชาชนที่จะดำเนินการต่อไป”

ต่อมาก็ผลักดันให้น้องเขยตนเอง อย่างนาย สมชาย ขึ้นนั่งตำแหน่ง นายกรัฐแทนนายสมัคร แล้วแบบนี้ กับเรื่องที่เกิดขึ้นเรียกได้ว่าถูกต้องตามทำนองหลักการประชาธิปไตยได้อย่างไร ในเมื่อการชี้ชัดอยู่ใน อำนาจเด็ดขาดจากนายทักษิณ??

ไม่เพียงเท่านั้น ต่อมา ในการเลือกตั้ง54 ซึ่งขณะนั้นพรรคพลังประชาชน ถูกยุบพรรค ผู้ที่อยู่ในตำแหน่งหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรคในขณะกระทำความผิดก็ต้องถูก “ทำโทษทางการเมือง” ด้วยการตัดสิทธิทางการเมืองเป็นระยะเวลา 5 ปีตามบทบัญญัติที่รัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2550 ได้บัญญัติไว้ในมาตรา 68 และมาตรา 237  จึงทำให้เกิดพรรคเพื่อไทยขึ้นในปัจุบัน ก่อตั้ง 20 กันยายน พ.ศ. 2550 โดยมีนายบัณจงศักดิ์ วงศ์รัตนวรรณ, ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช  นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ เป็นหัวหน้าพรรคตามลำดับ 

 

ต่อมาก็ผลักดันให้น้องเขยตนเอง อย่างนาย สมชาย ขึ้นนั่งตำแหน่ง นายกรัฐแทนนายสมัคร แล้วแบบนี้ กับเรื่องที่เกิดขึ้นเรียกได้ว่าถูกต้องตามทำนองหลักการประชาธิปไตยได้อย่างไร ในเมื่อการชี้ชัดอยู่ใน อำนาจเด็ดขาดจากนายทักษิณ??

ไม่เพียงเท่านั้น ต่อมา ในการเลือกตั้ง54 ซึ่งขณะนั้นพรรคพลังประชาชน ถูกยุบพรรค ผู้ที่อยู่ในตำแหน่งหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรคในขณะกระทำความผิดก็ต้องถูก “ทำโทษทางการเมือง” ด้วยการตัดสิทธิทางการเมืองเป็นระยะเวลา 5 ปีตามบทบัญญัติที่รัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2550 ได้บัญญัติไว้ในมาตรา 68 และมาตรา 237  จึงทำให้เกิดพรรคเพื่อไทยขึ้นในปัจุบัน ก่อตั้ง 20 กันยายน พ.ศ. 2550 โดยมีนายบัณจงศักดิ์ วงศ์รัตนวรรณ, ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช  นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ เป็นหัวหน้าพรรคตามลำดับ 

ต่อมาก่อนจะเกิดการเลือกตั้ง 54 ขึ้น ทุกฝ่ายต่างจับตามองใครกัน..ที่จะทำหน้าที่ เป็นผู้นำทัพในครั้ง ในขณะนั้น สปอตไลท์ดวงใหญ่ได้จับจ้องไปที่ นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ อดีตส.ส.สัดส่วน ของพรรคเพื่อไทย ที่มาเป็นเบอร์1 ซึ่งใครหลายคนต่างพากันคิดว่า นายมิ่งขวัญ จะเป็นผู้นำทัพพรรคเพื่อไทยชนะเลือกตั้งจน แต่ท้ายที่สุดเมื่อถึงเวลาเข้าจริงๆ นายกทักษิณ กับตัดสินใจเขี่ยนายมิ่งขวัญทิ้ง แล้วเลือก น.ส.ยิ่งลักษณ์ น้องสาว ขึ้นเป็น "หัว" ด้วยการส่งเธอลงพื้นที่ เหนือ-ใต้-อีสาน-ออก-ตก ทั่วประเทศ  ตอกย้ำด้วยการที่นายทักษิณก็ได้เปิดหน้า-ส่งสัญญาณ ให้การสนับสนุนนายยิ่งลักษณ์จนทำให้ชนะเลือกตั้ง เป็นนายก สมใจนายทักษิณ และชื่อของนายมิ่งขวัญได้หายไปจากแวดวงการเมือง

ทั้งๆที่นายทักษิณรู้ดีอยู่แก่ใจว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ เป็นนักธุรกิจ ไม่เคยทำงานการเมือง  แต่เป็นเพียงเพราะ คำสั่งของนายทักษิณ ผู้มีอำนาจเบ็ดเสร็จและเด็ดขาด ชี้เป็นชี้ตายเท่านั้น!!??
 แล้วแบบนี้ต้องถามนายณัฐวุฒิว่า สิ่งนี่หรือที่เรียกว่า “ประชาธิปไตย” ? ซึ่งก็เห็นอยู่ว่านายณัฐวุฒิ ยอมรับ และได้ขึ้นตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  หลังจากที่ได้นำมวลชนคนเสื้อแดงมาต่อสู้ชุมนุมในเหตุการณ์พฤษภาปี53 ซึ่งตอนนี้หลายคนก็ยังติดคุกจากคำลวง “เผาบ้านเผาเมือง”

มาถึงวันนี้นายณัฐวุฒิกลับออกมาวิพากษ์วิจารณ์อ้างหลักประชาธิปไตย …ทะแม่งๆชอบกล?
สรุปต้องดูกันต่อไปว่านายณัฐวุฒิจะมีบทบาทอย่างไร..ทางการเมือง นปช.จะจัดตั้งพรรคเองเลยหรือไม่นั้น ต้องติดตามกันต่อไป