ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

วันนี้(19 มี.ค.61)ผู้สื่อข่าวประจำ จ.สุรินทร์ รายงานว่า ที่ชุมชนบ้านโคกเจริญ หมู่ที่ 4 ตำบลยะวึก อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์ ถือว่าเป็นหมู่บ้าน ที่มีรายได้ดีเป็นพิเศษ ที่สุดในเขตพื้นที่อำเภอชุมพลบุรีก็ว่าได้  เพราะว่าหมู่บ้านโคกเจริญแห่งนี้ ได้ทำอาชีพ “ทอผ้าซิ่นตีนแดง” “ผ้ามัดหมี่ตีนแด”ง หรือ ชื่อเรียกตามภาษาท้องถิ่นที่ว่า “ซิ่นหัวแดงตีนแดง” หรือ “ซิ่นตีนแดง” หรือ “ซิ่นหมี่รวด” ถือได้ว่า เป็นผ้าไหมเอกลักษณ์ท้องถิ่นของชาวอำเภอพุทไธสง และอำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งได้พากันอพยพ  ย้ายรกราก บางส่วนมากอยู่ที่ ชุมชนบ้านโคกเจริญ แห่งนี้ แม่บ้านแต่ละคนจะมีรายได้ จากการ “ทอผ้าซิ่นตีนแดง”เฉลี่ยเดือนละ 5,000 -6,000 บาทเลยทีเดียว

สายใยแห่งวิถี!! เสน่ห์ผ้าอีสานใต้ กลุ่มสตรีบ้านโคกเจริญ จับมือผสานใจกว่า 30 ครัวเรือนทอผ้าพื้นเมือง “ผ้าซิ่นตีนแดง”สร้างรายได้หลังฤดูการทำนา

สายใยแห่งวิถี!! เสน่ห์ผ้าอีสานใต้ กลุ่มสตรีบ้านโคกเจริญ จับมือผสานใจกว่า 30 ครัวเรือนทอผ้าพื้นเมือง “ผ้าซิ่นตีนแดง”สร้างรายได้หลังฤดูการทำนา

สายใยแห่งวิถี!! เสน่ห์ผ้าอีสานใต้ กลุ่มสตรีบ้านโคกเจริญ จับมือผสานใจกว่า 30 ครัวเรือนทอผ้าพื้นเมือง “ผ้าซิ่นตีนแดง”สร้างรายได้หลังฤดูการทำนา

 

 

โดยลักษณะผ้าไหมจะเป็นมัดหมี่ลายพื้นเมืองทอด้วยไหมทั้งผืน มีหัวซิ่นและตีนซิ่นของผ้าจะเป็นสีแดงสด สมัยโบราณทอด้วยฟืมเล็กแล้วนำมาต่อหัวและตีนซิ่น ปัจจุบันมีการทอต่อเนื่องเป็นผืนเดียวกันไม่ใช้การต่อระหว่างตัวซิ่น หัวซิ่นและตีนซิ่น ผ้ามัดหมี่ตีนแดง ในสมัยโบราณนิยมทอผ้ามัดหมี่ตีนแดงให้เด็กและวัยรุ่นสวมใส่เพราะมีสีสดใส โดยลายหมี่ส่วนใหญ่เป็นลายดั้งเดิม คือ ลายนาค ลายแข่วเลื่อย(ลายฟันเลื่อย) ลายขอต่างๆ และต่อมาได้พัฒนาและปรับปรุงการทอเพื่อให้ผู้ใหญ่ได้สวมใส่ในงานบุญประเพณีสำคัญได้ นิยมใช้สวมใส่เฉพาะในงานพิธีกรรมทางศาสนา งานบุญประเพณีและพิธีการที่สำคัญเท่านั้น


สายใยแห่งวิถี!! เสน่ห์ผ้าอีสานใต้ กลุ่มสตรีบ้านโคกเจริญ จับมือผสานใจกว่า 30 ครัวเรือนทอผ้าพื้นเมือง “ผ้าซิ่นตีนแดง”สร้างรายได้หลังฤดูการทำนา

สายใยแห่งวิถี!! เสน่ห์ผ้าอีสานใต้ กลุ่มสตรีบ้านโคกเจริญ จับมือผสานใจกว่า 30 ครัวเรือนทอผ้าพื้นเมือง “ผ้าซิ่นตีนแดง”สร้างรายได้หลังฤดูการทำนา

สายใยแห่งวิถี!! เสน่ห์ผ้าอีสานใต้ กลุ่มสตรีบ้านโคกเจริญ จับมือผสานใจกว่า 30 ครัวเรือนทอผ้าพื้นเมือง “ผ้าซิ่นตีนแดง”สร้างรายได้หลังฤดูการทำนา

นางบุญมี นามสิวัน อายุ 43 ปี ชาวบ้านโคกเจริญ กล่าวว่า ตนพวกชาวบ้านทั้ง 30 หลังคาเรือน หลังเก็บเกี่ยวข้าวหอมมะลิ ก็ไม่มีอาชีพจะทำอะไร ก็เลยรวมเป็นกลุ่มแม่บ้าน มาทอซิ่นผ้า  ซึ่งทางพัฒนาเกษตรชุมชน ได้เข้ามาส่งเสริม เพื่อให้ชาวบ้านได้มีรายได้ และอาศัยเวลาว่าง หลังจากการเลี้ยง โค –กระบือ และ ทำกับข้าวตอนเย็น พอได้ค่าใช้จ่ายในครอบครัว ซึ่งตนก็ภูมิใจที่ทางอำเภอชุมพลบุรีได้เข้ามาช่วย ให้บ้านโคกเจริญแห่งนี้ มีรายได้จากการทอผ้าซิ่นตีนแดง

 

นอกจากนี้ ตนและชาวบ้านกลุ่มสตรี ก็ยังมีอาชีพทำไร่ ทำนา เลี้ยงวัว เลี้ยงควาย ปลูกพืชผัก สวนครัว เป็นรายได้เสริมหลังฤดูการทำนา อีกอย่าง “ผ้าซิ่นตีนแดง” ซึ่งเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่ทรงคุณค่า สืบทอดกันมาหลายร้อยปี ของบรรพบุรุษบ้านโคกเจริญ ตนจึงอยากอนุรักษ์และหาคนรุ่นใหม่มาสืบทอดต่อไป

สายใยแห่งวิถี!! เสน่ห์ผ้าอีสานใต้ กลุ่มสตรีบ้านโคกเจริญ จับมือผสานใจกว่า 30 ครัวเรือนทอผ้าพื้นเมือง “ผ้าซิ่นตีนแดง”สร้างรายได้หลังฤดูการทำนา

สายใยแห่งวิถี!! เสน่ห์ผ้าอีสานใต้ กลุ่มสตรีบ้านโคกเจริญ จับมือผสานใจกว่า 30 ครัวเรือนทอผ้าพื้นเมือง “ผ้าซิ่นตีนแดง”สร้างรายได้หลังฤดูการทำนา

สายใยแห่งวิถี!! เสน่ห์ผ้าอีสานใต้ กลุ่มสตรีบ้านโคกเจริญ จับมือผสานใจกว่า 30 ครัวเรือนทอผ้าพื้นเมือง “ผ้าซิ่นตีนแดง”สร้างรายได้หลังฤดูการทำนา

สายใยแห่งวิถี!! เสน่ห์ผ้าอีสานใต้ กลุ่มสตรีบ้านโคกเจริญ จับมือผสานใจกว่า 30 ครัวเรือนทอผ้าพื้นเมือง “ผ้าซิ่นตีนแดง”สร้างรายได้หลังฤดูการทำนา

 

ภาพ/ข่าว สำลี กิเลน ทีมข่าวสุรินทร์นิวส์

เรียบเรียง ธนินท์ทัศน์ ภูแก้ว ผู้สื่อข่าวภูมิภาคสำนักข่าวทีนิวส์ จ.สุรินทร์