ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

วันที่ 19 มี.ค. 2561 นายวรงค์   สราญฤทธิชัย ผู้จัดการทั่วไป พร้อมด้วย นายสุรชาติ หมุนสมัย ผจก.ฝ่ายวิทยาศาสตร์ บ.อัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน )  หรือ เหมืองแร่ทองคำชาตรี ได้ร่วมกันเปิดเผยและชี้แจงจากกรณีที่มีนักวิชาการ-NGOบางกลุ่ม ออกไปให้ข่าวกับสื่อมวลชน โดยมีข้อความในลักษณะที่ว่าบ่อเก็บกากแร่ที่ 1 ของเหมืองทองอัครามีการรั่วไหลและมีสารไซยาไนด์รั่วซึมเป็นน้ำผุดไปโผล่บริเวณแปลงนาของชาวบ้านที่อยู่ห่างเหมืองทองอัคราไปประมาณ 3-4 กม. ซึ่งเรื่องดังกล่าว ไม่เป็นความจริง อีกทั้งเป็นการสร้างภาพเพื่อดิสเครดิตการทำเหมืองแร่ทองคำของบริษัท อัคราฯ จึงได้นำเอกสารของกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ที่  อก 0506/154 ลงวันที่ 12 ม.ค. 2561 ที่ลงนามโดย นายพิษณุ  ทับเที่ยง รองอธิบดีรักษาการแทนอธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ที่ทำหนังสือถึง นายกฤษณะ ก้อนแก้ว นายก อบต.เขาเจ็ดลูก เรื่องผลวิเคราะห์คุณภาพน้ำจากการเกิดน้ำผุดบริเวณนาข้าว โดยได้ส่งผลวิเคราะห์ตัวอย่างน้ำบริเวณแปลงนาข้าวด้านทิศตะวันตกของบ่อ TSF2 มาให้และมีเนื้อหาพอสรุปได้ว่าจากการที่ สนง.อุตสาหกรรมพิจิตร , เพชรบูรณ์ , สนง.สิ่งแวดล้อมภาค 4 นครสวรรค์, นักวิชาการจาก ม.นเรศวรพิษณุโลก ดำเนินการเก็บตัวอย่างน้ำบริเวณนาข้าวจำนวน 6 จุด ไปทำการวิเคราะห์ได้ผลพอสรุปได้ว่าไม่พบว่ามีสารไซยาไนด์ หรือ สารพิษอื่นที่มีผลเฉียบพลันปนเปื้อน แต่ที่พบว่ามีน้ำเน่าเกิดจากการย่อยสลายของสารอินทรีย์เช่น ตอซังข้าว ใบยูคาลิปตัส พร้อมทั้งแยะวิธีแก้ว่า อาจใช้น้ำดีไล่น้ำเสียก็จะทำให้น้ำในลำเหมืองที่เป็นจุดปัญหาเจือจางลงได้ ซึ่งเรื่องดังกล่าว นายกฤษณะ  ก้อนแก้ว นายกอบต.เขาเจ็ดลูก ก็ได้ทำหนังสือที่  พจ 71001/ ว 62 ลงวันที่ 22 มกราคม 2561 แจ้งผลการวิเคราะห์น้ำจากการเกิดน้ำผุดส่งไปยังผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 3 , หมู่7- 8- 9  ให้ประชาสัมพันธ์ถึงประชาชน ว่า น้ำผุดดังกล่าวไม่มีสารไซยาไนด์ตามข้อความข้างต้น ซึ่งชาวบ้านที่เป็นเจ้าของแปลงนาในจุดที่เป็นปมปัญหาต่างก็เข้าใจแถมยังเข้าใจเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ว่า มีเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นตั้งแต่ก่อนจะมีเหมืองทองเกิดขึ้นด้วยซ้ำ จึงมิใช่เรื่องแปลก แต่ที่แปลกก็คือมีใครจากไหนก็ไม่รู้ออกมาเดือดร้อนแทนชาวบ้านตัวจริง

ในส่วนของ นายสุรชาติ หมุนสมัย ผจก.ฝ่ายวิทยาศาสตร์ บ.อัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน )  ให้สัมภาษณ์ยอมรับเรื่องจริง ว่า เหมืองทองอัครา ถูก ม.44 สั่งปิดดำเนินกิจการ มาตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม 2559 ทั้งๆที่ไม่มีหลักการทางวิทยาศาสตร์ข้อใดระบุว่าเหมืองทองอัคราทำผิดหรือประกอบการไม่ถูกต้องตามระเบียบในเรื่องใด ทุกอย่างถูกต้องได้รับมาตรฐานระดับโลกแทบทั้งสิ้น  แต่สงสัยว่าทำไมช่วงนี้มีนักวิชาการและ NGOบางกลุ่มออกมาใส่ไฟ ว่า บ่อเก็บกากแร่ที่ 1 ที่เลิกใช้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 ทุกวันนี้มีสภาพเหมือนพื้นดินทรายทั่วไปบนเนื้อที่กว่า 100 ไร่  ซึ่งก่อนจะเลิกใช้ก็มีการตรวจน้ำใต้ดินที่อยู่ใต้บ่อกากแร่ก็ไม่พบว่ามีสารไซยาไนด์ แต่ก็ยังมีบุคคลที่อ้างตัวเป็น NGOบางคน ก็นำเรื่องเก่ามาเล่าใหม่ซ้ำไปซ้ำมาจนเคยถูกเหมืองทองอัคราฟ้องศาลยุติธรรมจังหวัดพิจิตร หมิ่นประมาท ตาม พรบ.คอมพิวเตอร์ ซึ่งก่อนจะตัดสินว่าใครถูกใครผิด ศาลก็ได้สืบพยานฝ่ายโจทก์และจำเลย จนมีหลักฐานชัดเจนและพิพากษา พอจับใจความได้ ว่าเหมืองทองอัคราไม่ได้เป็นผู้ก่อให้เกิดสารพิษหรืออันตรายกับชุมชนอย่างที่ผู้ที่อ้างตัวเป็นNGOกล่าวอ้าง จนเป็นที่มาของคำพิพากษา NGO ท่านนั้น ทั้งจำทั้งปรับฐานโพสต์ข้อความเท็จเจตนาทำลายชื่อเสียงเหมืองแร่ทองคำอัครา

เหมืองอัคราชี้ปมวุ่น เหตุนักวิชาการNGO(บางคน)จ้องรุมทึ้งเงินกองทุนประกันความเสี่ยง 90 ล้าน อ้างทำวิจัยไว้ให้ชาวบ้านพัฒนาคุณภาพชีวิตดีกว่า

เหมืองอัคราชี้ปมวุ่น เหตุนักวิชาการNGO(บางคน)จ้องรุมทึ้งเงินกองทุนประกันความเสี่ยง 90 ล้าน อ้างทำวิจัยไว้ให้ชาวบ้านพัฒนาคุณภาพชีวิตดีกว่า

เหมืองอัคราชี้ปมวุ่น เหตุนักวิชาการNGO(บางคน)จ้องรุมทึ้งเงินกองทุนประกันความเสี่ยง 90 ล้าน อ้างทำวิจัยไว้ให้ชาวบ้านพัฒนาคุณภาพชีวิตดีกว่า

นายสุรชาติ  ผจก.ฝ่ายวิทยาศาสตร์ บ.อัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน )  ยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ประเด็นความวุ่นวายที่เป็นเรื่องจริงที่สังคมควรรู้ถึงแม้เหมืองทองอัคราฯ ช่วงนี้จะถูกปิดกิจการ พนักงานนับพันคนต้องตกงาน แต่ด้วยภาระและความรับผิดชอบตั้งแต่ช่วงดำเนินกิจการก่อนหน้านี้ก็ได้ส่งเงินเข้ากองทุนประกันความเสี่ยงทุกปีๆละ 10 ล้านบาท  ซึ่งเงินดังกล่าวกองหรือเก็บรวมอยู่ที่กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ที่ประชาชนคนรอบเหมืองสามารถใช้เวทีประชาคมและเขียนโครงการไปขอเงินกองทุนดังกล่าว มาเพื่อใช้จ่ายในการพัฒนาท้องถิ่นในด้านสาธารณูปโภคหรือสวัสดิการชุมชนได้ ซึ่งล่าสุดขณะนี้มีเงินกองทุนดังกล่าวอยู่เกือบ 90 ล้านบาท เปรียบเสมือนเค้กก้อนใหญ่ให้หลายคนจ้องรุมทึ้งจึงน่าเชื่อได้ว่าเงินก้อนดังกล่าวนี้น่าจะมีส่วนของต้นเหตุของความวุ่นวาย ที่มีนักวิชาการทั้งหลายอยากมีเอี่ยวในเงินกองทุนนี้พอสมควร ซึ่งก็เป็นความพยายามนำเสนอโครงการวิจัยต่างๆนานๆ ที่จะนำเงินก่อนนี้ไปใช้ ทั้งๆที่เงินก้อนนี้วัตถุประสงค์ที่แท้จริงแล้วน่าจะเป็นเงินที่เหมืองทองอัคราฯปิดกิจการไปแล้วเงินก็น่าจะเป็นของชาวบ้านที่อยู่ในชุมชนรอบเหมืองทองอัคราฯ จะได้นำไปพัฒนาชีวิตของพวกเค้าไม่ว่าจะด้วยเรื่องอะไรก็ตาม แต่เงินก้อนนี้กลับกำลังจะถูกนำไปใช้ในงานวิจัยที่ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันอ้างทำวิจัยไม่รู้กี่ฉบับ ไม่รู้ว่ากี่สถาบัน  เขียนโครงการมาเอาเงินไปเป็นจำนวนหลายสิบล้านบาทแล้ว แต่ก็ยังไม่เคยเห็นข้อสรุปหรือผลงานการวิจัยทีออกมาในแต่ละส่วนก็ไม่ได้มีข้อพิสูจน์อะไรที่ชัดเจน ดังนั้นจึงอยากขอร้องว่าควรเป็นเงินก้อนนี้ไว้ให้ชาวบ้านและชุมชนที่อยู่รอบเหมืองทองอัคราฯ ดูจะดีกว่าทำงานวิจัยแต่ชาวบ้านไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย นายสุรชาติ กล่าวในที่สุด

เหมืองอัคราชี้ปมวุ่น เหตุนักวิชาการNGO(บางคน)จ้องรุมทึ้งเงินกองทุนประกันความเสี่ยง 90 ล้าน อ้างทำวิจัยไว้ให้ชาวบ้านพัฒนาคุณภาพชีวิตดีกว่า

เหมืองอัคราชี้ปมวุ่น เหตุนักวิชาการNGO(บางคน)จ้องรุมทึ้งเงินกองทุนประกันความเสี่ยง 90 ล้าน อ้างทำวิจัยไว้ให้ชาวบ้านพัฒนาคุณภาพชีวิตดีกว่า

สิทธิพจน์  ผู้สื่อข่าวภูมิภาค  สำนักข่าวทีนิวส์ จ.พิจิตร