นิติราษฎร์ไม่ต้องห่วงนองเลือด เทียบชัดๆ ความแตกต่าง “พล.อ.ประยุทธ์” กับ “พล.อ.สุจินดา” และข้อมูลที่ต้องรู้..ก่อนวิพากษ์การเมือง!!

ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

หลักจากที่นักวิชาการอย่างนายปิยบุตร  แสงกนกกุล ได้ออกมาเปิดตัวว่าจะกระโดดเข้าสู้สนามการเมืองร่วมกับนายนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ในการก่อตั้งพรรคอนาคตใหม่ 

แน่นอนวันนี้ชื่อของปิยบุตรก็กลายเป็นชื่อที่ฮิตติดปากของคนรุ่นใหม่ขึ้นมา จากพื้นฐานของปิยบุตรที่มาจากนักวิชาการ สายนิติราษฎร์ ตอนนี้ด็อกเตอร์ วรเจตน์ ภาคีรัตน์ แกนนำตัวหลักของนิติราษฎร์ก็ได้ออกมากล่าวชื่นชมปิยะบุตร โดยระบุว่า..

ส่วนตัวเสียดายความรู้ความสามารถของ นายปิยบุตร แต่ก็เข้าใจและได้ให้กำลังใจ เพราะอยากที่จะเข้าไปทำงานทางการเมือง เพราะอยากเห็นความเปลี่ยนแปลง ซึ่งต้องรอดูว่าจะสามารถเปลี่ยนได้มากน้อยแค่ไหน แต่ด้วยกติกาตามรัฐธรรมนูญ ปี 2560 ไม่สามารถทำอะไรได้ง่าย และเชื่อว่า ในไม่ช้าประชาชนจะเห็นรัฐธรรมนูญฉบับนี้มีปัญหาจริง

 

แต่ประเด็นสำคัญที่ด็อกเตอร์ วรเจตน์ได้กล่าวถึงด้วยก็คือเรื่องกรณีมีพรรคการเมืองใหม่พยายามชู พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ หน้าคสช. เป็นนายกรัฐมนตรีคนนอกหลังการเลือกตั้งว่า ประเทศไทยเคยเกิดเหตุการณ์เช่นนี้มาแล้วเมื่อเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ปี 2535 สมัย พล.อ.สุจินดา คาประยูร อดีตนายกรัฐมนตรี มาแล้ว ซึ่งควรที่จะนำบทเรียนเหล่ามาปรับใช้ และส่วนตัว ไม่ขอแสดงความคิดเห็นในเรื่องนี้ เพราะเรื่องของอนาคต และไม่ทราบว่าจะมีพรรคไหนเสนอชื่อ พล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกรัฐมนตรีหรือไม่

 

พิจารณากันโดยละเอียดว่า หากพล.อ.ประยุทธ์กระโดดเข้าสู่การเมืองแล้ว จะโดนต่อต้านแบบพล.อ.สุจินดา คาประยูร เหมือนกับครั้งปีพ.ศ.2535หรือไม่เพราะโดยข้อเท็จจริง การยึดอำนาจของกองทัพในปี 34 จากการปกครองพล.อ. ชาติชาย ชุณหะวัณ เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2534 แม้จะมีข้ออ้างเรื่องการทุจริต คอรัปชั่นและเรื่องสถาบันพระมหากษัตริย์ แต่โดยข้อเท็จจริงแล้ว เป็นเพียงข้ออ้างของกองทัพเท่านั้น สังคมและคนไทยส่วนใหญ่ไม่ได้รู้สึกตามไปด้วย หรือรู้สึกไม่พอใจรัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ซึ่งมีกระแสข่าว การทุจริตคอรัปชั่นอย่างมากมาย แต่ก็ไม่ได้เป็นเหตุ ที่จะสนับสนุนให้เกิดการยึดอำนาจขึ้น แต่เมื่อเกิดการยึดอำนาจแล้วก็เลยตามเลย จนกระทั้ง ได้มีการเสนอชื่อนายพล.อ.สุจินดา  ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีเป็นเรื่องที่ชัดเจนว่า ขัดกับคำพูดของพล.อ.สุจินดาที่เคยประกาศไว้ 

อีกทั้งพรรคการเมืองที่ร่วมในการเสนอชื่อพล.อ.สุจินดา  เป็นนายกรัฐมนตรีนั้น เป็นพรรคการเมืองที่มีภาพลักษณ์ที่เกี่ยวเนื่องกับรัฐบาลกับพล.อ.ชาติชาย มาก่อน คือประชาชนตั้งข้อสงสัยในเรื่องการทุจริต คอรัปชั่นมาโดยตลอด ดังนั้นภาพจึงกลายออกมาเหมือนกับพล.อ.สุจินดา คราประยูร ไปร่วมมือกับนักการเมืองเก่าๆเหล่านั้น สืบทอดอำนาจเพื่อโหยหายประโยชน์กันต่อไป 

 

แต่สำหรับคสช.และการยึดอำนาจของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชานั้น มีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงเพราะ สังคมไทยอยู่ในความแตกแยกต่อเนื่องมายาวนาน 10 กว่าปี ประชาชนแบ่งแยกกันออกเป็นฝักเป็นฝ่าย เป็นสี เมื่อเกิดเหตุแห่งความไม่พอใจก็ทำการชุมนุมประท้วง ลงสู่ท้องถนน ประชาชนส่วนใหญ่เกิดความรู้สึกเบื่อหน่ายต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น 

ประการต่อมา ปรากฏหลักฐานขึ้นชัดเจนอย่างมากมาย ว่ามีกลุ่มการเมืองบางกลุ่มที่ไม่พอใจสถาบันพระมหากษัตริย์ ได้ถือโอกาสนี้โจมตี ล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ และเป็นที่รับรู้ถึงสังคมวงกว้างผ่านโซเชียลมีเดีย เมื่อเกิดการยึดอำนาจโดย คสช. นำโดยพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ซึ่งมีภาพลักษณ์ว่าเป็นผู้ที่จงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ จึงได้รับการสนับสนุนจากประชาชนอย่างล้นหลาม และอย่างต่อเนื่องมาจนตลอดระยะเวลานับตั้งแต่ยึดอำนาจมาถึงตอนนี้ เป็นเวลากว่า4ปีที่ผ่าน และยิ่งมาดูโพลล่าสุดของนิด้าโพลสุดท้ายของนิด้าโพล ก็ยิ่งชัดเจนว่าประชาชน เลือกที่ยังให้การสนับสนุนพล.อ.ประยุทธ์ ในทุกภาคส่วน ทุกพื้นที่ ทุกกลุ่มอาชีพ กันเลยทีเดียว

 

จากการที่ นิด้าโพล ได้ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 15-16 มี.ค.61 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพทั่วประเทศ ปรากฏว่าทุกกลุ่มเมื่อถามว่าบุคคลที่ประชาชนที่อยากให้เป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป ตามกฎหมายการเลือกตั้งปัจจุบัน 10 อันดับแรกเป็นใคร พบว่า เป็น “พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา” สูงถึงร้อยละ 38.64 ส่วนชื่อที่มีติดตามมา ก็เป็นชื่อของ “นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” และ “คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์” ซึ่งแน่นอนว่าทั้ง2ชื่อ ก็มาตามพรรคการเมืองใหญ่ 2 พรรค ที่มีพื้นที่และเป็นที่รู้จักของประชนอยู่ใน ขณะนี้ ก็คือ “พรรคเพื่อไทย” และ “พรรคประชาธิปัตย์”

 

ทั้งในพื้นที่ที่เป็นฐานเสียงเดิม ของพรรคการเมือง ไม่ว่าจะเป็นภาคอีสานของพรรคเพื่อไทย และภาคใต้ของพรรคประชาธิปัตย์ ต่างก็ยกให้พล.อ.ประยุทธ์ เป็น นายกรัฐมนตรีต่อหลังเลือกตั้ง

 

แสดงว่าประชาชนยังคาดหวังว่าจะให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรีต่อไปหลังการเลือกตั้ง ก็อยู่ที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จะวางบทบาทตัวเองอย่างไร การที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีต่อไป  

 

และนี้เป็นข้อมูลอีกด้านหนึ่งที่ ด็อกเตอร์  วรเจตน์ นักวิชาการ ควรใช้การพิจารณา  และใช้ในพิจารณาหาข้อเท็จจริงมาประกอบการวิพากวิจารณ์ทางการเมือง