ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2561 ที่ผ่านมา ณ อาคารเอนกประสงค์ องค์การบริหารส่วนตำบลโคกคอน อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย ดร.คำดี จันทะเกษ ผู้อำนวยการโรงเรียนร่วมมิตรวิทยา , นายบุญกร บุตรศรี นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโคกคอน, นายวิไล นามมัน กำนันตำบลโคกคอน, นายศิริชัย ชาติหนองทอน ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกคอน, ด.ต.ปิยวัฒน์ กำเนิดเกิด หัวหน้าศูนย์บริการประชาชนตำบลโคกคอน พร้อมด้วยผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้านในเขตพื้นที่ตำบลโคกคอน และพื้นที่ใกล้เคียงได้ร่วมกันประชุมเพื่อตกผลึกความคิดเพื่อส่งเสริมและผลักดันให้พิพิธภัณฑ์โคกคอนเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายมากกว่าที่เป็นอยู่ กระทั่งเกิดการบริหารจัดการที่ดี เพื่อให้พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงมรดกวัฒนธรรม ของตำบลโคกคอน ของอำเภอท่าบ่อ ของจังหวัดหนองคาย และของภาคอีสานต่อไป

บรรพวิถี ชีวีชาวตำบลโคกคอน...หลายภาคส่วนใน ต.โคกคอน อ.ท่าบ่อ ระดมสมองผุดไอเดีย การบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงมรดกวัฒนธรรม พิพิธภัณฑ์

บรรพวิถี ชีวีชาวตำบลโคกคอน...หลายภาคส่วนใน ต.โคกคอน อ.ท่าบ่อ ระดมสมองผุดไอเดีย การบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงมรดกวัฒนธรรม พิพิธภัณฑ์

บรรพวิถี ชีวีชาวตำบลโคกคอน...หลายภาคส่วนใน ต.โคกคอน อ.ท่าบ่อ ระดมสมองผุดไอเดีย การบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงมรดกวัฒนธรรม พิพิธภัณฑ์

บรรพวิถี ชีวีชาวตำบลโคกคอน...หลายภาคส่วนใน ต.โคกคอน อ.ท่าบ่อ ระดมสมองผุดไอเดีย การบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงมรดกวัฒนธรรม พิพิธภัณฑ์

บรรพวิถี ชีวีชาวตำบลโคกคอน...หลายภาคส่วนใน ต.โคกคอน อ.ท่าบ่อ ระดมสมองผุดไอเดีย การบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงมรดกวัฒนธรรม พิพิธภัณฑ์

บรรพวิถี ชีวีชาวตำบลโคกคอน...หลายภาคส่วนใน ต.โคกคอน อ.ท่าบ่อ ระดมสมองผุดไอเดีย การบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงมรดกวัฒนธรรม พิพิธภัณฑ์

บรรพวิถี ชีวีชาวตำบลโคกคอน...หลายภาคส่วนใน ต.โคกคอน อ.ท่าบ่อ ระดมสมองผุดไอเดีย การบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงมรดกวัฒนธรรม พิพิธภัณฑ์

บรรพวิถี ชีวีชาวตำบลโคกคอน...หลายภาคส่วนใน ต.โคกคอน อ.ท่าบ่อ ระดมสมองผุดไอเดีย การบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงมรดกวัฒนธรรม พิพิธภัณฑ์

ดร.คำดี จันทะเกษ ผู้อำนวยการโรงเรียนร่วมมิตรวิทยา กล่าวว่า “ชุมชนโคกคอน” ได้ก่อตั้งขึ้นมาเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2100 ต่อมาประมาณปี พ.ศ. 2400 ได้มีราษฎรประมาณ 30 ครอบครัว อพยพหลบหนีสงครามฮ่อ (จีนใหญ่) มาจากบ้านท่าช้าง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ซึ่งสมัยนั้นแม่น้ำโขงไม่กว้างมากนัก สามารถเดินทางข้ามได้สะดวก ขณะอพยพมาก็นำสัมภาระ ทรัพย์สินเงินทองติดตัวมาด้วย เมื่ออพยพมาถึงหมู่บ้านโคกคอนในปัจจุบันได้พบวัดร้าง (สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นหมู่บ้านของชาวเขมร สมัยทวาราวดี) ซึ่งหมู่บ้านแห่งนี้ปกคลุมไปด้วยป่าหนาทึบ มีหนองน้ำ ลำห้วยรอบๆ หมู่บ้าน มีความเหมาะสมที่จะใช้เป็นที่หลบซ่อนจากพวกจีนฮ่อและตั้งถิ่นฐาน แต่ขณะที่ปรับปรุงบ้านเรือนอยู่นั้น กลุ่มทหารจีนฮ่อได้ติดตามมาเข่นฆ่า ผู้คนต่างพากันหาดกลัวและหนีไปไหนไม่รอด จึงตัดสินใจทิ้งทรัพย์สินซึ่งมีทั้งครกหินเคลือบทองคำลงในหนองน้ำท้ายชุมชน ปัจจุบันเรียก “หนองสระพัง” เมื่อเหตุการณ์สงบ กลุ่มผู้อพยพได้กลับมาตั้งชุมชนชื่อหมู่บ้านว่า “ครกคอนคำ” ตั้งตามชื่อลักษณะการหาบการคอน ต่อมาได้เรียกชื่อหมู่บ้านเพี้ยนไปเป็น “บ้านโคกคอนคำ” โดยขึ้นกับอำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี (มณฑลอุดร) จนถึง พ.ศ. 2470 นายบงหรือหลวงพาเพและนางจันมี (ภรรยา) ซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้านสมัยนั้น เห็นการเดินทางไม่สะดวก จึงได้ขอโอนมาขึ้นกับอำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย โดยแลกเปลี่ยนกับบ้านกลางใหญ่ (ในขณะนั้นขึ้นกับอำเภอท่าบ่อ) ต่อมากำนันอ่อนตา อินทรปัญญา ได้ปรึกษาหารือและเปลี่ยนชื่อเป็น “บ้านโคกคอน” โดยตัดคำว่า “คำ” ออก

ช่วงปี พ.ศ. 2535 - 2537 ชาวโคกคอนได้ปลูกสร้างบ้านเรือนและขุดบ่อน้ำตื้นในพื้นที่บ้านโคกคอนหมู่ที่ 4 พบหลุมฝังศพและกระดูกมนุษย์โบราณ เครื่องมือเครื่องใช้จำนวนมาก ดังที่กล่าวมาข้างต้น จนข่าวแพร่ออกไปทำให้นักล่าสมบัติเข้ามาขุด รวมทั้งคนในชุมชนเองก็ขุดหาสมบัติในพื้นดินและนำไปขาย กระทั่งปี พ.ศ. 2539 นายเจด็จ มุสิกวงศ์ นายอำเภอท่าบ่อ (อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย) ได้ออกมาตรวจสอบและสั่งห้ามขุดค้นสิ่งของในบริเวณดังกล่าว

จากนั้นสำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ กรมศิลปากร ได้รับรู้ข้อมูล และมาดำเนินการขุดค้นแหล่งโบราณคดีในชุมชนโคกคอน ระหว่างวันที่ 15 กุมภาพันธ์ - 1 เมษายน พ.ศ. 2544 จำนวน 3 หลุม พบวัตถุโบราณหลายชนิดมีลักษณะเช่นเดียวกับที่ชาวบ้านขุด และได้ทำการขนย้ายไปเก็บรักษาที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติที่ 7 จังหวัดขอนแก่น และให้ปิดหลุมขุดไว้จนถึงในปัจจุบัน

ดร.คำดี กล่าวต่อไปว่า ตำบลโคกคอนเอง ถือว่าเป็นตำบลเก่าแก่ทางประวัติศาสตร์ ซึ่งสำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติที่ 7 ขอนแก่นได้ดำเนินการขุดค้นทางโบราณโคกคอน ระหว่างวันที่ 10 กุมภาพันธ์ - 31 มีนาคม พ.ศ. 2544 และได้จัดลำดับวัฒนธรรมและกำหนดอายุแหล่งโบราณคดีบ้านโคกคอนไว้ว่า มีการอาศัยของมนุษย์ในอดีต 2 สมัย คือ สมัยก่อนประวัติศาสตร์ (มีพัฒนาการตั้งแต่ยุคหินใหม่จนถึงโลหะมีอายุระหว่างสมัยก่อนประวัติศาสตร์) ซึ่งมีหลักฐานการฝังศพ และโบราณวัตถุที่พบในชั้นดินที่พบร่วมกับศพ, สมัยที่ 2 คือ สมัยประวัติศาสตร์ พบหลักฐานโบราณวัตถุของวัฒนธรรมลานล้านและวัฒนธรรมทวารวดี หลักฐานเครื่องมือเหล็ก เครื่องมือหินขัด เครื่องมือหินกะเทาะ ลูกปัดหินสี ลูกปัดแก้ว ภาชนะดินเผาหลายแบบ “สอดคล้องกับงานวิจัยของศรีศักดิ์ วัลลิโภดม, วารสารเมืองโบราณ ปี 2545 ฉบับที่ 28” และปี พ.ศ. 2536 ชาวบ้านขุดพบหม้อดินเผาลายสีแบบบ้านเชียง (อุดรธานี) หม้อดินเผาแบบไม่มีสีแต่มีลวดลายเป็นลายเล็บขูด ลายเชือกทาบ อีกทั้งยังพบเครื่องประดับหินแก้วทั้งลูกปัด กำไล ขวานหินขัด ลูกธนูหิน และยังพบโครงกระดูกโบราณเป็นจำนวนมาก พิสูจน์อายุได้ว่าสมัยก่อนประวัติศาสตร์อายุราว 3,000 - 2,000 ปีมาแล้ว

บรรพวิถี ชีวีชาวตำบลโคกคอน...หลายภาคส่วนใน ต.โคกคอน อ.ท่าบ่อ ระดมสมองผุดไอเดีย การบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงมรดกวัฒนธรรม พิพิธภัณฑ์

บรรพวิถี ชีวีชาวตำบลโคกคอน...หลายภาคส่วนใน ต.โคกคอน อ.ท่าบ่อ ระดมสมองผุดไอเดีย การบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงมรดกวัฒนธรรม พิพิธภัณฑ์

บรรพวิถี ชีวีชาวตำบลโคกคอน...หลายภาคส่วนใน ต.โคกคอน อ.ท่าบ่อ ระดมสมองผุดไอเดีย การบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงมรดกวัฒนธรรม พิพิธภัณฑ์

บรรพวิถี ชีวีชาวตำบลโคกคอน...หลายภาคส่วนใน ต.โคกคอน อ.ท่าบ่อ ระดมสมองผุดไอเดีย การบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงมรดกวัฒนธรรม พิพิธภัณฑ์

บรรพวิถี ชีวีชาวตำบลโคกคอน...หลายภาคส่วนใน ต.โคกคอน อ.ท่าบ่อ ระดมสมองผุดไอเดีย การบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงมรดกวัฒนธรรม พิพิธภัณฑ์

บรรพวิถี ชีวีชาวตำบลโคกคอน...หลายภาคส่วนใน ต.โคกคอน อ.ท่าบ่อ ระดมสมองผุดไอเดีย การบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงมรดกวัฒนธรรม พิพิธภัณฑ์

บรรพวิถี ชีวีชาวตำบลโคกคอน...หลายภาคส่วนใน ต.โคกคอน อ.ท่าบ่อ ระดมสมองผุดไอเดีย การบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงมรดกวัฒนธรรม พิพิธภัณฑ์

ด้านนายบุญกร บุตรศรี นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโคกคอน กล่าวเพิ่มเติมว่า เมื่อปี 2557 ได้รับทุนวิจัยจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เรื่อง “การจัดการเรียนรู้วัฒนธรรมท้องถิ่นของเยาวชนแบบมีส่วนร่วมชุมชนโคกคอน ตำบลโคกคอน อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย” ผลการวิจัยพบว่า ชุมชนโคกคอนมีศักยภาพด้านวัฒนธรรมที่สำคัญ ได้แก่ ความเป็นชุมชนโบราณยุคก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งอายุราว 3,000 - 2,000 ปี ยุคเดียวกับบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี, เป็นโบราณสถานและโบราณวัตถุ พบโบราณวัตถุมากมาย เช่น หลุมฝังศพที่มีกระดูกมนุษย์โบราณ หม้อดินชนิดที่ไม่มีสีแต่มีลายเล็บขูด และลายเชือกทาบ เครื่องประดับหินแก้วทั้งลูกปัด กำไล เครื่องมือเหล็ก เครื่องมือหินขัด เครื่องมือหินกะเทาะ เศษสำริด จำนวนมาก ซึ่งก็สอดคล้องกับรายงานประวัติศาสตร์ของ ดร.คำดี ที่ได้กล่าวมาข้างต้น

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 เป็นต้นมา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชนเอง ก็ได้เห็นความสำคัญ จึงสร้างพิพิธภัณฑ์บ้านโคกคอนขึ้น และขณะนี้ได้ดำเนินการขอยืมวัตถุโบราณ จำนวน 70 รายการ ที่นำไปไปจากชุมชน ซึ่งเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติที่ 7 จังหวัดขอนแก่น กลับมาแสดงให้คนในชุมชนและประชาชนทั่วไปได้ศึกษาเรียนรู้ ส่งเสริมพัฒนา สนับสนุนให้เป็นที่รู้จักแก่นักท่องเที่ยวและประชาชนทั่วไป พร้อมทั้งมีการจัดการแสดงแสง สี เสียง อารยธรรมโคกคอน ในปี พ.ศ. 2557 ที่ผ่านมา ทำให้ผู้คนมาเที่ยวชมพิพิธภัณฑ์บ้านโคกคอน ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2557 – ปัจจุบัน (30 กันยายน พ.ศ. 2560) จำนวน 265 คน, 400 คน, 460 คน และ 210 คน แต่ก็ยังถือว่าน้อยมาก

ดังนั้น จึงได้มีการระดมความคิดในครั้งนี้ขึ้น ว่าจะมีวิธีการดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เข้ามาเยี่ยมชม ศึกษาเรียนรู้ พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ของชนชาติอย่างไร, งบประมาณมาจากแหล่งไหนบ้าง, ศักยภาพของหมู่บ้านเป็นอย่างไร, ใครเป็นแม่งานหลักในการรับผิดชอบในการบริหารจัดการ, การคมนาคมสะดวกหรือไม่, การจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะต้องตอบคำถามได้ว่าจะพัฒนาพิพิธภัณฑ์อย่างไรให้เป็นพิพิธภัณฑ์ที่ยั่งยืนของ จ.หนองคาย และภาคอีสาน และระดับประเทศตามลำดับต่อไป ทั้งนี้แหล่งประวัติศาสตร์แห่งนี้ได้ถูกค้นพบเมื่อ ปี พ.ศ.2535 หรือ เมื่อ 26 ปีที่ ผ่านมา.

บรรพวิถี ชีวีชาวตำบลโคกคอน...หลายภาคส่วนใน ต.โคกคอน อ.ท่าบ่อ ระดมสมองผุดไอเดีย การบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงมรดกวัฒนธรรม พิพิธภัณฑ์

บรรพวิถี ชีวีชาวตำบลโคกคอน...หลายภาคส่วนใน ต.โคกคอน อ.ท่าบ่อ ระดมสมองผุดไอเดีย การบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงมรดกวัฒนธรรม พิพิธภัณฑ์

บรรพวิถี ชีวีชาวตำบลโคกคอน...หลายภาคส่วนใน ต.โคกคอน อ.ท่าบ่อ ระดมสมองผุดไอเดีย การบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงมรดกวัฒนธรรม พิพิธภัณฑ์

บรรพวิถี ชีวีชาวตำบลโคกคอน...หลายภาคส่วนใน ต.โคกคอน อ.ท่าบ่อ ระดมสมองผุดไอเดีย การบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงมรดกวัฒนธรรม พิพิธภัณฑ์

บรรพวิถี ชีวีชาวตำบลโคกคอน...หลายภาคส่วนใน ต.โคกคอน อ.ท่าบ่อ ระดมสมองผุดไอเดีย การบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงมรดกวัฒนธรรม พิพิธภัณฑ์

บรรพวิถี ชีวีชาวตำบลโคกคอน...หลายภาคส่วนใน ต.โคกคอน อ.ท่าบ่อ ระดมสมองผุดไอเดีย การบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงมรดกวัฒนธรรม พิพิธภัณฑ์

บรรพวิถี ชีวีชาวตำบลโคกคอน...หลายภาคส่วนใน ต.โคกคอน อ.ท่าบ่อ ระดมสมองผุดไอเดีย การบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงมรดกวัฒนธรรม พิพิธภัณฑ์

บรรพวิถี ชีวีชาวตำบลโคกคอน...หลายภาคส่วนใน ต.โคกคอน อ.ท่าบ่อ ระดมสมองผุดไอเดีย การบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงมรดกวัฒนธรรม พิพิธภัณฑ์

ภัทรวินทร์ ลีปาน ผู้สื่อข่าวภูมิภาคสำนักข่าวทีนิวส์ จังหวัดหนองคาย