อย่าดมถ้าขมคอ!!! กฎหมายชี้ชัด ภรรยา"จิมิ"เหม็น สามารถถูกสามีฟ้องหย่าได้หรือไม่ ที่นี่มีคำตอบ!!!

อย่าดมถ้าขมคอ!!! กฎหมายชี้ชัด ภรรยา"จิมิ"เหม็น สามารถถูกสามีฟ้องหย่าได้หรือไม่ ที่นี่มีคำตอบ!!!

เรื่องที่ถือว่ากำลังเป็นกระแสในโลกโซเชียลตอนนี้เลยก็ว่าได้ เพจเฟซบุ๊ก "ทบทวนความรู้กฎหมาย" มีคำตอบมาให้ว่า การที่ภรรยามีกลิ่นอวยวะเพศเหม็นนั้น สามีสามารถฟ้องหย่าได้หรือไม่!!? 

อย่าดมถ้าขมคอ!!! กฎหมายชี้ชัด ภรรยา"จิมิ"เหม็น สามารถถูกสามีฟ้องหย่าได้หรือไม่ ที่นี่มีคำตอบ!!!

โดยหลักเเล้ว การจะฟ้องหย่าได้จะต้องปรากฎเหตุหย่าตามประมวลกฎหมายเเพ่งเเละพาณิชย์มาตรา 1516(1)-(10) เช่น เป็นชู้หรือมีชู้ หรือทำร้ายทรมานร่างกายหรือจิตใจอีกฝ่ายหนึ่ง หรือทิ้งร้างอีกฝ่ายหนึ่งเกินหนึ่งปี ฯลฯ เป็นต้น เหตุอื่นๆนอกเหนือจากที่กฎหมายบัญญัติไว้ในมาตรานี้ จะนำมายกขึ้นอ้างเป็นเหตุฟ้องหย่าไม่ได้

ดังนั้น การที่สามีฟ้องหย่าภริยาโดยอ้างว่าภริยามีอวัยวะเพศเหม็น จึงไม่เข้าเหตุหย่าประการหนึ่งประการใดตาม ป.พ.พ.มาตรา 1516(1)-(10) สามีจะยกข้ออ้างดังกล่าว มาเป็นเหตุฟ้องหย่าภริยาไม่ได้

ทั้งนี้ ศาลฎีกาได้ให้เหตุผลไว้ตอนหนึ่งว่า "อวัยวะเพศมีไว้สืบพันธุ์ ไม่ได้มีไว้ดม" (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 488/2557)

คดีนี้ เเอดมินเดาว่าทนายโจทก์ยกตัวบทตาม ป.พ.พ.มาตรา 1516(9),(10) 
ความว่า
"มาตรา 1516 เหตุฟ้องหย่ามีดังต่อไปนี้
(9) สามีหรือภริยาเป็นโรคติดต่ออย่างร้ายแรงอันอาจเป็นภัยแก่อีกฝ่ายหนึ่งและโรคมีลักษณะเรื้อรัง ไม่มีทางที่จะหายได้ อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(10) สามีหรือภริยามีสภาพแห่งกายทำให้สามีหรือภริยานั้นไม่อาจร่วมประเวณีได้ตลอดกาล อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้"

เเต่ศาลฎีกามองว่า ไม่เข้าอนุมาตราดังกล่าว จึงยกฟ้องโจทก์ทนเหม็นไป ..

ใครมีฎีกาตัวเต็ม .. ฝากคอมเม้นใต้โพสท์นี้ทีนะ เเอดอยากอ่าน!

@SABAS

อ้างอิง
https://www.facebook.com/1902039863358297/videos/1917474665148150/

---------------------------------------------------------------------------

ประมวลกฎหมายเเพ่งเเละพาณิชย์

มาตรา 1516 เหตุฟ้องหย่ามีดังต่อไปนี้
(1) สามีหรือภริยาอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องผู้อื่นฉันภริยาหรือสามี เป็นชู้หรือมีชู้ หรือร่วมประเวณีกับผู้อื่นเป็นอาจิณ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(2) สามีหรือภริยาประพฤติชั่ว ไม่ว่าความประพฤติชั่วนั้นจะเป็นความ ผิดอาญาหรือไม่ ถ้าเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่ง
(ก) ได้รับความอับอายขายหน้าอย่างร้ายแรง
(ข) ได้รับความดูถูกเกลียดชังเพราะเหตุที่คงเป็นสามีหรือภริยาของฝ่าย ที่ประพฤติชั่วอยู่ต่อไป หรือ
(ค) ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินควร ในเมื่อเอาสภาพฐานะ และความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบ
อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(3) สามีหรือภริยาทำร้าย หรือทรมานร่างกายหรือจิตใจ หรือหมิ่น ประมาทหรือเหยียดหยามอีกฝ่ายหนึ่งหรือบุพการีของอีกฝ่ายหนึ่ง ทั้งนี้ ถ้าเป็นการร้ายแรง อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(4) สามีหรือภริยาจงใจละทิ้งร้างอีกฝ่ายหนึ่งไปเกินหนึ่งปี อีกฝ่ายหนึ่ง นั้นฟ้องหย่าได้
(4/1) สามีหรือภริยาต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก และได้ถูกจำคุก เกินหนึ่งปีในความผิดที่อีกฝ่ายหนึ่งมิได้มีส่วนก่อให้เกิดการกระทำความผิด หรือยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดนั้นด้วย และการเป็นสามี ภริยากันต่อไปจะเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่งได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกิน ควร อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(4/2) สามีและภริยาสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกัน ฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมาเกินสามปี หรือแยกกันอยู่ตามคำสั่งของ ศาลเป็นเวลาเกินสามปี ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(5) สามีหรือภริยาถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญ หรือไปจากภูมิลำเนา หรือถิ่นที่อยู่เป็นเวลาเกินสามปี โดยไม่มีใครทราบแน่ว่าเป็นตายร้ายดีอย่าง ไร อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(6) สามีหรือภริยาไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่งตาม สมควร หรือทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีหรือภริยากันอย่างร้ายแรง ทั้งนี้ ถ้าการกระทำนั้นถึงขนาดที่อีกฝ่ายหนึ่งเดือดร้อนเกินควรในเมื่อเอา สภาพ ฐานะและความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบ อีกฝ่าย หนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(7) สามีหรือภริยาวิกลจริตตลอดมาเกินสามปี และความวิกลจริตนั้นมี ลักษณะยากจะหายได้ กับทั้งความวิกลจริตถึงขนาดที่จะทนอยู่ร่วมกัน ฉันสามีภริยาต่อไปไม่ได้ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(8) สามีหรือภริยาผิดทัณฑ์บนที่ทำให้ไว้เป็นหนังสือในเรื่องความ ประพฤติอีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(9) สามีหรือภริยาเป็นโรคติดต่ออย่างร้ายแรงอันอาจเป็นภัยแก่อีกฝ่าย หนึ่งและโรคมีลักษณะเรื้อรัง ไม่มีทางที่จะหายได้ อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(10) สามีหรือภริยามีสภาพแห่งกายทำให้สามีหรือภริยานั้น ไม่อาจร่วม ประเวณีได้ตลอดกาล อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

อย่าดมถ้าขมคอ!!! กฎหมายชี้ชัด ภรรยา"จิมิ"เหม็น สามารถถูกสามีฟ้องหย่าได้หรือไม่ ที่นี่มีคำตอบ!!!

Cr.ทบทวนความรู้กฎหมาย