ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

ที่ห้องประชุมโรงแรมโกลเด้นซิตี้ อ.เมือง จ.ระยอง นายแพทย์สุเทพ เพชรมาก ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข แพทย์หญิงหรรษา รักษาคม ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 นายแพทย์ชัยวัฒน์ จัตตุพร นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดระยอง  ในงานการประชุมเชิงปฏิบัติ การพัฒนาเครือข่ายศูนย์ปฏิบัติการยุติปัญหาวัณโรคเขตสุขภาพที่ 6 World TB Day “ คุณคือ ผู้นำ แห่งการยุติวัณโรค เพื่อเมืองไทยปลอดวัณโรค ”  

อนามัยโลกชี้ !!  ไทยติดอันดับวัณโรครุนแรงตั้งธงยุติปัญหาวัณโรค หลังประเทศไทยติดหนึ่งใน14ประเทศวัณโรคดื้อ ยารุนแรง

 นายแพทย์สุเทพ เพชรมาก ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า สถานการณ์วัณโรคของประเทศไทยยังคงเป็นปัญหาสาธารณสุข ที่สำคัญ ซึ่งองค์การอนามัยโลกจัดให้ประเทศไทยเป็นหนึ่งใน 14 ประเทศ ที่มีปัญหาวัณโรครุนแรงระดับโลก ทั้งวัณโรคทั่วไป วัณโรคและเอดส์ และวัณโรคดื้อยาหลายขนาน โดยคาดประมาณจำนวนผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ มีอัตราสูง 120,000 รายต่อปี มีผู้ป่วยเสียชีวิต 12,000 ราย รวมถึง ปัญหาวัณโรคดื้อยาหลายขนาน ที่พบประมาณปีละ 2,200 ราย และที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งคือ กลุ่มผู้ป่วยที่ยังไม่เข้าถึงบริการรักษาซึ่งมีมากกว่า 50,000 ราย เนื่องจากกลุ่มนี้สามารถแพร่กระจายเชื้อไปยังผู้อื่นได้สำหรับแผนยุทธศาสตร์วัณโรคระดับชาติ กระทรวงสาธารณสุขได้ตั้งศูนย์ปฏิบัติการยุติวัณโรค ขึ้น เพื่อขับเคลื่อนและดำเนินการของทุกภาคส่วนโดยเน้น 3 มาตรการหลักที่สำคัญคือ( 1) เร่งรัดการค้นหาวินิจฉัย ( 2) การเข้าถึงการบริการตรวจวินิจฉัยสำหรับกลุ่มเสี่ยงวัณโรค เช่น ผู้สัมผัส ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ต้องขัง แรงงานข้ามชาติ ( 3) ดูแลรักษาผู้ป่วยวันโรค   เข้าสู่เป้าหมายยุติวัณโรคได้ เพื่อเมืองไทยปลอดวัณโรค

อนามัยโลกชี้ !!  ไทยติดอันดับวัณโรครุนแรงตั้งธงยุติปัญหาวัณโรค หลังประเทศไทยติดหนึ่งใน14ประเทศวัณโรคดื้อ ยารุนแรง

ทางด้านแพทย์หญิงหรรษา รักษาคม ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกัน ควบคุมโรคที่ 6 กล่าวว่า วัณโรคแบ่งเป็น 2 ระยะได้แก่ 1, ระยะแฝง เมื่อผู้ป่วยได้รับเชื้อแล้วจะไม่มีอาการใดๆ แสดงให้เห็น เนื่องจากเชื้อไม่ได้รับการกระตุ้น ทว่าเชื้อแบคทีเรีย ก็ยังคงอยู่ในร่างกาย และสามารถก่อให้เกิดอาการ จนเข้าสู่ระยะแสดงอาการได้ ทั้งนี้หากผู้ป่วยมีการตรวจพบเชื้อในระยะแฝง แพทย์อาจให้เข้ารับการรักษาและควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อ รวมถึงลดความเสี่ยงที่อาจเข้าสู่ระยะการแสดงอาการ 2, ระยะแสดงอาการ เป็นระยะที่เชื้อได้รับการกระตุ้นจนเกิดอาการต่างๆ อาการที่ประชาชนสามารถสังเกตได้ด้วยตนเอง หรือสังเกตคนในครอบครัวได้ คือ มีอาการไอ ไม่มีเสมหะติดต่อกันนาน2 สัปดาห์ มีไข้ น้ำหนักลด เหงื่อออก ตอนกลางคืน ซึ่งเมื่อเกิดอาการข้างต้นต้องรีบพบแพทย์ทันที โดยเฉพาะ 7 กลุ่มเสี่ยงได้แก่ 1 ผู้สัมผัสร่วมบ้าน 2 ผู้ต้องขัง 3 บุคลากรสาธารณสุข 4 ผู้ติดเชื้อเอชไอวี 5 ผู้สูงอายุ 6 ผู้ป่วยเบาหวาน 7 แรงงานข้ามชาติ  หากท่านมีอาการสงสัยหรืออยู่ในกลุ่มเสี่ยงสามารถรับบริการคัดกรองได้ที่สถานพยาบาลใกล้บ้านโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย หากตรวจพบวัณโรคแพทย์จะทำการรักษาโดยการรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง 6-12 เดือนก็จะหายเป็นปกติรวมถึงป้องกันการแพร่กระจายเชื้อวัณโรคสู่ผู้อื่นด้วย ดังประเด็นที่ว่า วัณโรค “ รู้เร็ว รักษาหาย ไม่แพร่กระจาย ”โดยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ สายด่วน กรมควบคุมโรค 1422

อนามัยโลกชี้ !!  ไทยติดอันดับวัณโรครุนแรงตั้งธงยุติปัญหาวัณโรค หลังประเทศไทยติดหนึ่งใน14ประเทศวัณโรคดื้อ ยารุนแรง

ภาพ/ข่าว อัจฉรา วิเศษศรี ผู้สื่อข่าวภูมิภาคสำนักข่าวทีนิวส์ จ.ระยอง