ต้องจำใจยอม ! ชาวไร่เสิงสางยอมปล่อย "ไร่อ้อย" ให้เป็นบุพเฟ่ช้างป่า หลังช้างบุกมาขโมยกินทุกคืน..!??

ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

เสิงสาง – วันที่ 1 เม.ย.61 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในช่วงฤดูแล้งของปีนี้ ในพื้นที่ตำบลบ้านราษฎร์ อ.เสิงสาง จ.นครราชสีมา ซึ่งมีพื้นที่ทำการเกษตรของชาวบ้านติดกับแนวเขตอุทยานแห่งชาติทับลาน ยังคงเกิดมีปัญหาช้างป่าออกมาหากินนอกเขตป่า และเข้าไปกัดกินเหยียบย่ำผลผลิตของชาวบ้านได้รับความเสียหายอย่างต่อเนื่อง ทั้งๆที่ชาวบ้านเองก็ได้คิดหาวิธีนำอุปกรณ์สิ่งของต่างมาใช้ป้องกันไม่ให้ช้างป่าเข้าไปทำลายผลผลิตทางการเกษตร ทั้งการนำแผ่นซีดี กระพรวน มาทำให้เกิดเสียง นำล้อยางรถยนต์มาจุดไฟเผา รวมถึงการรวมกลุ่มกันของอาสาสมัครอนุรักษ์ช้างป่า เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติทับลาน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยการนำของนายจักรินทร์ เสมหิรัญ นายอำเภอเสิงสาง และชาวบ้านในพื้นที่ ออกตรวจตรวจและผลักดันช้างกันแทบทุกคืน แต่ก็ยังคงถูกช้างป่าลอบออกมาทำลายผลผลิตอยู่เป็นประจำ ต้องจำใจยอม ! ชาวไร่เสิงสางยอมปล่อย "ไร่อ้อย" ให้เป็นบุพเฟ่ช้างป่า หลังช้างบุกมาขโมยกินทุกคืน..!?? ต้องจำใจยอม ! ชาวไร่เสิงสางยอมปล่อย "ไร่อ้อย" ให้เป็นบุพเฟ่ช้างป่า หลังช้างบุกมาขโมยกินทุกคืน..!??

 

 

 

ล่าสุดนายสีโห อุทกโยธะ ประธานชมรมอนุรักษ์ช้างป่าอำเภอเสิงสาง เปิดเผยว่า มีชาวบ้านคนหนึ่งที่อยู่ในพื้นที่บ้านซับเจริญ ต.บ้านบ้านราษฎร์ ต้องตัดสินใจทิ้งไร่อ้อยที่กำลังให้ผลผลิตบนเนื้อที่ถึง 12 ไร่ ให้ช้างป่าได้เข้าไปกินได้ตามสบาย เนื่องจากไม่มีเวลามาคอยเฝ้าไล่ช้างที่ลอบเข้าไปกินอ้อยแทบทุกคืน และไม่น่าจะคุ้มทุนกับค่าเก็บเกี่ยว เพราะขณะนี้อ้อยก็ถูกช้างป่าบุกเข้าไปกัดกินเสียหายไปแล้วกว่าครึ่ง

ต้องจำใจยอม ! ชาวไร่เสิงสางยอมปล่อย "ไร่อ้อย" ให้เป็นบุพเฟ่ช้างป่า หลังช้างบุกมาขโมยกินทุกคืน..!??

นายสีโหฯ กล่าวอีกว่า ปัญหาช้างป่าที่ออกมาหากินนอกพื้นที่ป่าอุทยานแห่งชาติทับลานนั้นมีหลายสาเหตุ อาทิ พื้นที่การเกษตรของชาวบ้านอยู่ติดกับแนวเขตอุทยานแห่งชาติทับลาน มีการเพาะปลูกพืชหลากหลาย ส่วนหนึ่งก็เป็นพืชที่ช้างชื่นชอบ ไม่ว่าจะเป็น อ้อย ข้าวโพด มันสำปะหลัง ปาล์ม เป็นต้น ประกอบกับช้างมีการขยายประชากรเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงอาจทำให้แหล่งอาหารของช้างในป่าขาดแคลน ช้างจึงออกมาหากินผลผลิตของชาวบ้านตามแนวชายป่า  ซึ่งเป็นปัญหาเรื้อรังมานานหลายสิบปีแล้ว

 

แต่อย่างไรก็ดี ถึงแม้ว่าช้างจะสร้างความเสียหายให้กับชาวบ้านในพื้นที่ แต่ชาวบ้านแถบนี้มีความรักผูกพันกับช้างมานาน เข้าใจถึงพฤติกรรมของช้าง รวมถึงความสำคัญของช้างที่เป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมืองของประเทศไทยมาช้านาน จึงไม่มีการทำร้ายช้างให้ได้รับอันตราย บ้างครั้งก็ต้องเสียสละผลผลิตของตนเองเพื่อให้ผลผลิตโดยรวมอยู่รอด ขณะเดียวกันขณะนี้ทุกภาคส่วนต่างก็พยายามช่วยกันหาวิธีทางแก้ไขปัญหา ไม่ว่าจะเป็นการจัดต้องกองทุนอนุรักษ์ช้างป่า เพื่อหารายได้มาสร้างแหล่งอาหารช้าง จัดหาวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้ผลักดันช้างกลับสู่ป่า รณรงค์ให้ชาวบ้านหันมาเพาะปลูกพืชที่ไม่ดึงดูดให้ช้างเข้ามากิน เพื่อลดปัญหาให้ได้มากที่สุด ส่วนมาตรการอื่นๆที่จะใช้แก้ไขปัญหาระยะยาวก็อยากฝากไปยังหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องให้ช่วยคิดหาวิธีและดำเนินการอย่างเร่งด่วน เพราะหากปล่อยไว้เช่นนี้อาจจะเกิดเป็นปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างจนทำไปสู่การสูญเสียได้ในอนาคต

ภาพ / ข่าว / ปุญญพัฒน์ ลัดครบุรี ผู้สื่อข่าวภูมิภาค สำนักข่าวทีนิวส์ จ.นครราชสีมา