ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

วันที่ 22  เมษายน  2561    ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดนครราชสีมา ได้รายงานว่า  เกษตรกรที่บ้านโคกหินช้าง ตำบลสาหร่าย อำเภอชุมพวง จังหวัดนครราชสีมา ได้หันมาปลูกมันสำปะหลัง ใช้วิธีระบบน้ำหยดเพื่อแก้ปัญหาภัยแล้ง โดยสูบน้ำจากบ่อบาดาลที่มีอยู่ปล่อยไปตามท่อที่วางระบบเข้าไปตามร่องของไร่มัน ซึ่งได้เจาะรูเล็กๆเอาไว้ตามท่อหรือสายยางที่วางระบบเอาไว้เพื่อให้เป็นระบบน้ำหยดเพิ่มความชุ่มชื่นให้กับ ต้นมันสำปะหลังตลอดทั้งวัน

เกษตรกรโคราช ทำการเกษตรแบบครบวงจร ด้วยการปลูกมันสำปะหลังระบบน้ำหยด เพื่อแก้ปัญหาภัยแล้งในพื้นที่ (มีคลิป)

เกษตรกรโคราช ทำการเกษตรแบบครบวงจร ด้วยการปลูกมันสำปะหลังระบบน้ำหยด เพื่อแก้ปัญหาภัยแล้งในพื้นที่ (มีคลิป)

โดยจะเปิดน้ำเข้าแปลงเพียงสัปดาห์ละ 1 ครั้งเท่านั้นพื้นดินก็จะมีความชุ่มชื้นต้นมันสำปะหลังมีความอุดมสมบูรณ์เจริญเติบโตได้เต็มที่ ส่วนระหว่างที่รอการเก็บผลผลิตซึ่งต้องใช้ระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 8-12 เดือน ช่วงนี้จึงปลูกพืชอายุสั้น แซมในพื้นที่ไร่มัน เป็นต้นว่า ข้าวโพด,ถั่วลิสง,ถั่วฝักยาวและพืชผักสวนครัวชนิดอื่นเพื่อเป็นการใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและยังได้เก็บผลผลิตส่งจำหน่ายเป็นรายได้เสริมในช่วงหน้าแล้งนี้ได้เป็นอย่างดี โดย นาย สมศักดิ์ แพงอนันต์

เกษตรกรโคราช ทำการเกษตรแบบครบวงจร ด้วยการปลูกมันสำปะหลังระบบน้ำหยด เพื่อแก้ปัญหาภัยแล้งในพื้นที่ (มีคลิป)

เกษตรกรโคราช ทำการเกษตรแบบครบวงจร ด้วยการปลูกมันสำปะหลังระบบน้ำหยด เพื่อแก้ปัญหาภัยแล้งในพื้นที่ (มีคลิป)

เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังระบบน้ำหยด ได้บอกว่า ตนเอง ลงทุนปลูกมันสำปะหลัง จำนวน 40 ไร่ โดยในพื้นที่ กำลังประสบกับปัญหาภัยแล้ง จึงจำเป็นต้องใช้วิธีปลูกมันสำปะหลังระบบน้ำหยด เพื่อเป็นการประหยัดน้ำ และ สามารถปลูกมันสำปะหลังได้ตลอดทั้งปี และ ให้ผลผลิตดีโดยไม่ต้องรอคอยน้ำฝน

เกษตรกรโคราช ทำการเกษตรแบบครบวงจร ด้วยการปลูกมันสำปะหลังระบบน้ำหยด เพื่อแก้ปัญหาภัยแล้งในพื้นที่ (มีคลิป)

เกษตรกรโคราช ทำการเกษตรแบบครบวงจร ด้วยการปลูกมันสำปะหลังระบบน้ำหยด เพื่อแก้ปัญหาภัยแล้งในพื้นที่ (มีคลิป)

ภาพ/ข่าว ชานนท์ พิมพ์สิม ผู้สื่อข่าวภูมิภาค สำนักข่าวทีนิวส์ จังหวัดนครราชสีมา