ติดตามข่าวเพิ่มเติม Facebook : Deeps News

เมื่อวันที่ 27 เม.ย. 61  กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) เปิดเวที “เครือข่ายภาคีเพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแบบมีส่วนร่วม” ครั้งที่ 3 พัฒนาศักยภาพเครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทะเลตามแนวทางไทยยั่งยืน ผนึกกำลังภาคประชาชน หน่วยงานรัฐ ท้องถิ่น ภาคเอกชน และชุมชนในจังหวัดชายฝั่งทั่วประเทศ ร่วมเป็นกลไกปกป้องและบริหารทรัพยากรทางทะเลอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นรูปธรรมณ โรงแรมเรือรัษฎา ต.ทับเที่ยง อ.เมือง จ.ตรัง
 

ด้าน พล.อ.สรุศักดิ์ กาญจนรัตน์ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวระหว่างเป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนาเครือข่ายฯว่า ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งไม่เพียงแต่จะมีความสำคัญต่อระบบนิเวศเท่านั้น แต่ยังมีความสำคัญทั้งในฐานะเป็นแหล่งสร้างอาหาร แหล่งท่องเที่ยว ที่สามารถสร้างรายได้ให้แก่ประเทศได้อย่างมหาศาล อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาประเทศไทยยังมีการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอย่างไม่ถูกต้อง ทำให้ทรัพยากรถูกทำลายอย่างต่อเนื่อง ซึ่งลำพังเพียงกำลังเจ้าหน้าที่ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) ที่มีอยู่อย่างจำกัด คงไม่เพียงต่อการดูแลรักษาทรัพยากรได้อย่างทั่วถึง จึงต้องมีการส่งเสริมให้เกิดเครือข่ายภาคีทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง โดยดึงภาคส่วนต่างๆ ประกอบด้วย ชุมชน ท้องถิ่น ภาคประชาชน องค์กรภาครัฐ และภาคเอกชน ให้เข้ามามีส่วนร่วมบริหารจัดการและดูแลทรัพยากรในท้องถิ่น ซึ่งตรงกับนโยบายของรัฐบาล ที่ต้องการให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรของประเทศ

 

ทช.ผนึก "เครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทะเล" สร้างกลไกปกป้องทรัพยากรชายฝั่ง พัฒนาศักยภาพตามแนวทางไทยอย่างยั่งยืน!!!

 

โดยที่ผ่านมา หลังมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ.2558 ทช.ได้ออกกฎหมายลำดับรอง 4 ฉบับ คือ ระเบียบกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งว่าด้วยหลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียนชุมชนชายฝั่ง พ.ศ.2560 ระเบียบกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งว่าด้วยอาสาสมัครพิทักษ์ทะเล พ.ศ.2560 ระเบียบกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งว่าด้วยเครื่องหมายเชิดชูเกียรติยศยิ่ง“รักษ์ทะเลยิ่งชีพ” พ.ศ.2560 และระเบียบกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ว่าด้วยการส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของชุมชนชายฝั่งและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2560 เพื่อกลไกส่งเสริมให้เกิดเครือข่ายภาคีการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งระดับประเทศ

 

ทช.ผนึก "เครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทะเล" สร้างกลไกปกป้องทรัพยากรชายฝั่ง พัฒนาศักยภาพตามแนวทางไทยอย่างยั่งยืน!!!

 

นอกจากนี้ยังได้จัดการประชุมสัมมนา “เครือข่ายภาคีเพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาศักยภาพเครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทะเลตามแนวทางไทยยั่งยืน” เพื่อเป็นเวทีการสื่อสารเกี่ยวกับนโยบาย ระเบียบ กฎหมาย และข้อมูลสภาพระบบนิเวศ แหล่งทรัพยากร การจัดการทรัพยากรในท้องถิ่น การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และประสบการณ์ เพื่อพัฒนาแนวคิดร่วมกันในการจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง อันจะส่งผลให้เกิดประสิทธิภาพและความเข้มแข็งของภาคีเครือข่ายต่อไป

ด้าน นายจตุพร บุรุษพัฒน์ อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (อทช.) กล่าวว่า ทช.วางแผนจัดประชุมสัมมนาเครือข่ายภาคีเพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแบบมีส่วนร่วมฯ ทั้งสิ้น 3 ครั้ง โดยครั้งแรกที่  จ.ระยอง เมื่อวันที่ 20-21 มกราคม ที่ผ่านมา และครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 29-30 มีนาคม 2561 ที่ โรงแรมบรรจงบุรี อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี และครั้งที่ 3 ที่ จ.ตรัง โดย พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้เกียรติเป็นประธานเปิดการประชุม และกล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่อง “ความสำคัญของอาสาสมัครภาคประชาชนต่อการพัฒนาดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย” พร้อมทั้งมอบบัตรประจำตัวอาสาสมัครพิทักษ์ทะเล “Marine Rangers” ให้กับอาสาสมัครในพื้นที่ โดยมีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิแห่งชาติ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิระดับจังหวัด ผู้แทนเครือข่ายภาคีทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกว่า 500 คน ร่วมการประชุม

 

ทช.ผนึก "เครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทะเล" สร้างกลไกปกป้องทรัพยากรชายฝั่ง พัฒนาศักยภาพตามแนวทางไทยอย่างยั่งยืน!!!

 

นอกจากนี้ ภายในงานยังมีกิจกรรมสำคัญอื่นๆ อาทิ การบรรยายพิเศษหัวข้อ การจัดการธนาคารปูม้าโดยชุมชนมีส่วนร่วม เพื่อตอบสนองนโยบายไทยนิยมยั่งยืน, นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับกฎหมายลำดับรองทั้ง 4 ฉบับ เพื่อเป็นกลไกรองรับการพัฒนาเครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทะเล และเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวทางการฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งบริเวณหน้าบ้าน ภายใต้แนวคิด “ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งบ้านฉันๆฟื้นฟู ฉันหากินจากทรัพยากรหน้าบ้านฉัน ไม่รบกวนทรัพยากรหน้าบ้านใคร Save Marine For My Life” โดยเครือข่ายภาคีทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ได้แก่ ระนอง  พังงา ภูเก็ต กระบี่  ตรัง  สตูล ​“การจัดประชุมครั้งนี้ นับเป็นอีกก้าวที่สำคัญของการส่งเสริมผลักดันให้เกิดกลไกที่มีประสิทธิภาพในการดำเนินการร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรพัฒนาเอกชน ประชาชน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ในการทำงานเป็นเครือข่ายภาคีเชิงรุกในระดับต่างๆ เพื่อนำไปสู่การบริหารจัดการและดูแลรักษาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งของประเทศให้เกิดความยั่งยืนต่อไป” นายจตุพร กล่าวปิดท้าย

 

ทช.ผนึก "เครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทะเล" สร้างกลไกปกป้องทรัพยากรชายฝั่ง พัฒนาศักยภาพตามแนวทางไทยอย่างยั่งยืน!!!

 

ทช.ผนึก "เครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทะเล" สร้างกลไกปกป้องทรัพยากรชายฝั่ง พัฒนาศักยภาพตามแนวทางไทยอย่างยั่งยืน!!!