มันสมองเด็กไทย ! นวัตกรรมเพิ่มน้ำในดิน โดยต้นแบบจาก "สับปะรดสี" เพื่อหาทางแก้ปัญหาการ "ขาดแคลนน้ำ" ของเกษตร สุดท้าย..ได้ผลใช้ได้จริง!??

ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

ที่ โรงเรียนสุราษฎร์พิทยาได้มีพิธีส่งมอบห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์และห้องจัดแสดงนิทรรศการผลงานนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์ โดยจากการระดมทุนจากภาคเอกชนของคณะกรรมการส่งเสริมความร่วมมือภาคสังคม มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี และภาคเอกชนใน จ.สุราษฎร์ธานี เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ในระดับภูมิภาค ที่มีการรวบรวมผลงานนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับรางวัลในระดับประเทศและระดับโลก

 

 

มันสมองเด็กไทย ! นวัตกรรมเพิ่มน้ำในดิน โดยต้นแบบจาก "สับปะรดสี" เพื่อหาทางแก้ปัญหาการ "ขาดแคลนน้ำ" ของเกษตร สุดท้าย..ได้ผลใช้ได้จริง!??

ซึ่งในงานนี้ได้มีการโชว์ผลงานของนักเรียนมากมายหนึ่งในนั้นที่น่าสนใจคือนวัตกรรมเพิ่มน้ำในดินโดยเลียนแบบจากต้นสับปะรดสี เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำ ของเกษตร ซึ่งเป็นผลงานของน.ส.สุรีย์พร ตรีเพชรประภา น.ส.ธิดารัตน์ เพียร และน.ส.กาญจนา คมกล้า ปัจจุบันศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6  คว้ารางวัลชนะเลิศจากการเข้าประกวด Stockholm Junior Water Prize ที่เมืองสต็อกโฮม ประเทศสวีเดน เมื่อปี 2559

 

มันสมองเด็กไทย ! นวัตกรรมเพิ่มน้ำในดิน โดยต้นแบบจาก "สับปะรดสี" เพื่อหาทางแก้ปัญหาการ "ขาดแคลนน้ำ" ของเกษตร สุดท้าย..ได้ผลใช้ได้จริง!??

สำหรับผลงานวิจัยชิ้นนี้เป็นการต้นสับปะรดสีพันธุ์ เอคมี อะคูลีโทเซพาลา (Aechmea aculeatosepala) พบว่าช่วงภัยแล้งต้นสับปะรดสีไม่เหยี่ยวเฉาเหมือนไม้อื่นๆ จากการศึกษาพบว่าลักษณะใบของต้นสับประรดสี มีแผ่นใบเป็นรูปตัวยูเหมือนรางน้ำ ขอบใบบิดช่วยให้น้ำไหลลงไปรวมกันที่รางรับน้ำ จากนั้นก็ไหลลงสู่โคนหรือพื้น จึงได้นำมาเป็นแบบอย่างในการประดิษฐ์แก้ปัญหาขาดแคลนน้ำ

 

 

มันสมองเด็กไทย ! นวัตกรรมเพิ่มน้ำในดิน โดยต้นแบบจาก "สับปะรดสี" เพื่อหาทางแก้ปัญหาการ "ขาดแคลนน้ำ" ของเกษตร สุดท้าย..ได้ผลใช้ได้จริง!??

สำหรับผลงานชิ้นนี้ได้เลือกใช้แผ่นอลูมิเนียมมาทำเลียนแบบใบสัปรดสี ช่วงเวลากลางคืนทำให้แผ่นอลูมิเนียมเย็นจัด เมื่อไอน้ำในอากาศมากระทบจึงกลั่นตัวเป็นหยดน้ำได้ง่ายกว่าวัสดุอย่างอื่น จึงเป็นสิงประดิษฐ์ที่เหมาะสมกับเกษตรกรที่จะใช้แก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำ แก้ปัญหาการเกษตร

 

 

มันสมองเด็กไทย ! นวัตกรรมเพิ่มน้ำในดิน โดยต้นแบบจาก "สับปะรดสี" เพื่อหาทางแก้ปัญหาการ "ขาดแคลนน้ำ" ของเกษตร สุดท้าย..ได้ผลใช้ได้จริง!??

เจนจิรา ศรีวิรักษ์ ผู้สื่อข่าวที่นิว จ.สุราษฎร์ธานี