ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

วันนี้( 5 พ.ค.61) ผู้สื่อข่าวประจำ จ.สุรินทร์รายงานว่า ที่บ้านค้อ หมู่ที่ 12 ต.สนม อ.สนม จ.สุรินทร์ ได้จัดกลุ่มสัมมาชีพชุมชน บ้านค้อหมู่ที่12 ขึ้น ซึ่งบ้านค้อเป็นหมู่บ้านเล็กๆมีครัวเรือนอยู่ 31 ครัวเรือน แต่ละครัวเรือนเป็นสมาชิกกลุ่ม 1 คน และสมาชิกจะหมุนเวียนมาทำกล้วยฉาบ โดยมีนายสมคิด พยัฆษา ผู้ใหญ่บ้านค้อเป็นประธานกลุ่ม รวมตัวสร้างอาชีพเสริมรายได้ให้กับครอบครัว ในนามกลุ่มสัมมาชีพชุมชนบ้านค้อ นำวัตถุดิบ คือกล้วยที่มีในชุมชน นำมาแปรรูปเป็นกล้วยฉาบใส่ซองบรรจุภัณฑ์อย่างดี ซองละ 100 กรัม ในราคาถูกแสนถูก 10 บาท เท่านั้นเอง

ทั้งกรอบอร่อย มีทั้งรสเค็ม รสหวาน ปลอดสารพิษเจือปน เป็นโอท็อป ตลาดประชารัฐ ของฝากหมู่บ้าน ซึ่งกลุ่มจะมีรายได้ตกเดือนละ 40,000-50,000 บาท ทั้งนี้สมาชิกมีรายได้เพิ่มขึ้นจากอาชีพทำไร่ทำนา เฉลี่ยต่อครอบครัวเดือนละประมาณ 1,500-2,000 บาท นอกจากนี้ผู้ปลูกกล้วยก็จะมีรายได้เพิ่มขึ้น จากการส่งกล้วยให้กับกลุ่มอีกด้วย


หมู่บ้านนี้จะไม่มีจน!? รวมกลุ่มแปรรูป "กล้วยฉาบ" พลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส หาสร้างรายได้เสริมแก่ชุมชน อาจจะไม่รวยแต่ก็อยู่ได้อย่างพอเพียง

 

 

หมู่บ้านนี้จะไม่มีจน!? รวมกลุ่มแปรรูป "กล้วยฉาบ" พลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส หาสร้างรายได้เสริมแก่ชุมชน อาจจะไม่รวยแต่ก็อยู่ได้อย่างพอเพียง

หมู่บ้านนี้จะไม่มีจน!? รวมกลุ่มแปรรูป "กล้วยฉาบ" พลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส หาสร้างรายได้เสริมแก่ชุมชน อาจจะไม่รวยแต่ก็อยู่ได้อย่างพอเพียง

หมู่บ้านนี้จะไม่มีจน!? รวมกลุ่มแปรรูป "กล้วยฉาบ" พลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส หาสร้างรายได้เสริมแก่ชุมชน อาจจะไม่รวยแต่ก็อยู่ได้อย่างพอเพียง

นายสมคิด พยัฆษา ผู้ใหญ่บ้านค้อ ประธานกลุ่ม กล่าวว่า ส่วนใหญ่ในชุมชนจะประกอบอาชีพการเกษตร ทำนา แต่ด้วยภาวะเศรษฐกิจราคาพืชทางการเกษตรเริ่มตกต่ำทำให้แต่ละครัวเรือนรายได้ไม่เพียงพอ และว่างจากการทำไร่นา ทางชุมชนได้มีแนวคิดหารายได้เพิ่มโดยชักชวนกลุ่มแม่บ้าน รวมกลุ่มกันในนามสัมมาชีพชุมชนบ้านค้อ แปรรูปกล้วยฉาบ รายได้แบ่งกันในสมาชิกแต่ไม่มากนัก เนื่องจากวัตถุดิบ คือกล้วย ต้องซื้อมาจากที่อื่นด้วย เนื่องจากผลผลิตจากชุมชนบ้างครั้งไม่เพียงพอ บ้างครั้งมีหน่วยงานหรือร้านค้าสั่งมาเยอะ ซึ่งสมาชิกในชุมชนปลูกกล้วยในพื้นที่ของตัวเองอยู่แล้ว แต่ถ้าวันไหนมีออเดอร์สั่งมาเยอะจำเป็นต้องไปซื้อกล้วยที่อื่นมาเสริม

 

โดยปัจจุบันรายได้จากการส่งกล้วยฉาบจำหน่าย ต่อเดือนอยู่ที่ 40,000-50,000 บาท และนำรายได้ส่วนนั้นแบ่งสมาชิกที่ปัจจุบันมีอยู่ 31 คน/ครัวเรือน แต่ละคนจะมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ที่ 1,500-2,000 บาท

หมู่บ้านนี้จะไม่มีจน!? รวมกลุ่มแปรรูป "กล้วยฉาบ" พลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส หาสร้างรายได้เสริมแก่ชุมชน อาจจะไม่รวยแต่ก็อยู่ได้อย่างพอเพียง

หมู่บ้านนี้จะไม่มีจน!? รวมกลุ่มแปรรูป "กล้วยฉาบ" พลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส หาสร้างรายได้เสริมแก่ชุมชน อาจจะไม่รวยแต่ก็อยู่ได้อย่างพอเพียง

หมู่บ้านนี้จะไม่มีจน!? รวมกลุ่มแปรรูป "กล้วยฉาบ" พลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส หาสร้างรายได้เสริมแก่ชุมชน อาจจะไม่รวยแต่ก็อยู่ได้อย่างพอเพียง

 

ทั้งนี้ปัจจุบันกล้วยฉาบได้มีขายตามท้องตลาดและเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง แต่การทำกล้วยฉาบให้อร่อยนั้น ต้องมีวิธีที่พิถีพิถัน ใส่ใจในการทำทุกขั้นตอน ตั้งแต่การคัดเลือกกล้วยที่ใช้ทำ โดยทางกลุ่มได้นำกล้วยหอม กล้วยน้ำหว้า กล้วยส้ม กล้วยหักมุก เป็นต้น มาเป็นวัตถุดิบซึ่งกล้วยแต่ละชนิดจะมีรสชาติที่แตกต่างกันออกไป เนื้อของกล้วยต้องไม่เละเมื่อนำลงไปทอด

สำหรับขั้นตอนการทำนั้น เริ่มจากการ ปอกเปลือกกล้วยให้เหลือแต่เนื้อกล้วย นำไปแช่น้ำเกลือประมาณ 2 นาที เพื่อไม่ให้เนื้อกล้วยดำ จากนั้น นำกล้วยมาฝานบางๆ และทอดทันทีจะทำให้กล้วยกรอบและไม่บิดงอ และควรใช้ไฟร้อนจัด เมื่อผิวกล้วยสุกเหลืองแล้วเราก็ตักออกให้สะเด็ดน้ำมันแล้วแพ็คใส่ถึงทันที่อย่าให้ถูกลมนานเกินไปจะไม่กรอบ

 

เคล็ดลับความกรอบหอมมันอร่อย ของกล้วยฉาบกลุ่มสัมมาชีพชุมชนบ้านค้อ อยู่ที่การนำกล้วยมาทอดแต่ละชนิด มาคัดแยกทำรสชาติให้แตกต่างกัน ใช้น้ำมันที่ร้อนจัดพอเหมาะ ไม่ให้ถูกลมนานจนเกินไป ฝานกล้วยไม่บางและหนาจนเกินไป ส่วนรสหวาน จะเคี่ยวน้ำตาลสันส่วนผสมที่เท่ากัน และไม่ให้หวานจนเกินไป ไม่คนแรงเพราะจะทำให้กล้วยฉาบหัก คัดชิ้นที่สวยงามบรรจุ

หากท่านใดสนใจต้องการนำไปจำหน่าย ติดต่อได้ที่ 080-165363 นายสมคิด พยัฆษา ผู้ใหญ่บ้านค้อ หมู่ที่ 12 ต.สนม อ.สนม จ.สุรินทร์

หมู่บ้านนี้จะไม่มีจน!? รวมกลุ่มแปรรูป "กล้วยฉาบ" พลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส หาสร้างรายได้เสริมแก่ชุมชน อาจจะไม่รวยแต่ก็อยู่ได้อย่างพอเพียง

หมู่บ้านนี้จะไม่มีจน!? รวมกลุ่มแปรรูป "กล้วยฉาบ" พลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส หาสร้างรายได้เสริมแก่ชุมชน อาจจะไม่รวยแต่ก็อยู่ได้อย่างพอเพียง

หมู่บ้านนี้จะไม่มีจน!? รวมกลุ่มแปรรูป "กล้วยฉาบ" พลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส หาสร้างรายได้เสริมแก่ชุมชน อาจจะไม่รวยแต่ก็อยู่ได้อย่างพอเพียง

หมู่บ้านนี้จะไม่มีจน!? รวมกลุ่มแปรรูป "กล้วยฉาบ" พลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส หาสร้างรายได้เสริมแก่ชุมชน อาจจะไม่รวยแต่ก็อยู่ได้อย่างพอเพียง

ภาพ/ข่าว สมศักดิ์ ตระกูลสุข ผู้สื่อข่าวสุรินทร์นิวส์

เรียบเรียง ธนินท์ทัศน์ ภูแก้ว ผู้สื่อข่าวภูมิภาคสำนักข่าวทีนิวส์ จ.สุรินทร์