นักรบผู้ทรงพุทธภูมิ!! เผยนิสัยทางธรรม น้ำพระทัย "พระเจ้าตากสินฯ" ทรงแจกข้าวไพร่ฟ้า หลังกรุงฯแตก.. บำรุงชาติศาสนา เพื่อเส้นทางสู่พระโพธิญาณ!!

ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

 

            จากกรณีที่ผศ.ดร. ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้ค้นคว้าเอกสารทางประวัติศาสตร์ และได้พบข้อมูลสำคัญของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ว่า เมื่อครั้งหลังเสียกรุงศรีอยุธยา เมื่อพ.ศ. ๒๓๑๐ ซึ่งเป็นยุคที่บ้านเมืองอยู่ในภาวะจลาจลจากสงคราม ไม่มีผู้ทำไร่ทำนา ทำให้เกิดภาวะข้าวยากหมากแพง ราษฎรอดอยากเนื่องจากมีค่าครองชีพสูง จึงทำให้พระเจ้าตากสินมหาราชทรงต้องหาทางฟื้นฟูและเพิ่มพูนประชากร โดยมีการแจกจ่ายข้าวสารและเสื้อผ้าให้กับราษฎรใช้เลี้ยงตนเอง 

 

นักรบผู้ทรงพุทธภูมิ!! เผยนิสัยทางธรรม น้ำพระทัย "พระเจ้าตากสินฯ" ทรงแจกข้าวไพร่ฟ้า หลังกรุงฯแตก.. บำรุงชาติศาสนา เพื่อเส้นทางสู่พระโพธิญาณ!!

 

 

 

           จากกรณีนี้เอง หากมองในมุมการปฏิบัติของสมเด็จพระเจ้าตาก ตามพระราชประวัติที่เราพอรับรู้รับทราบ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงเรียนหนังสือไทย หนังสือขอมและพระไตรปิฎกกับพระอาจารย์ทองดีตั้งแต่อายุ ๕ ขวบ เมื่ออายุ ๒๑ ครบบวช ก็ทรงผนวชอยู่ในสำนักพระอาจารย์ทองดี ๓ พรรษา จึงลาสิกขาออกมารับราชการ ทั้งนี้อนุมานว่าน่าจะทรงรู้พระธรรมวินัยและพระไตรปิฎกอยู่ในระดับดีแต่ก็ไม่มีตรงไหนที่โยงใยไปถึงสาเหตุหรือไปถึงสาเหตุหรือที่มาในความปรารถนาเช่นนั้น

 

นักรบผู้ทรงพุทธภูมิ!! เผยนิสัยทางธรรม น้ำพระทัย "พระเจ้าตากสินฯ" ทรงแจกข้าวไพร่ฟ้า หลังกรุงฯแตก.. บำรุงชาติศาสนา เพื่อเส้นทางสู่พระโพธิญาณ!!

 

            แต่ในสมัยของพระองค์นั้นความปรารถนาเช่นนี้อาจมิใช่เรื่องแปลกใหม่ และที่น่าสังเกตก็คือไม่จำเป็นว่าเฉพาะพระมหากษัตริย์เท่านั้นที่จะปรารถนาเช่นนี้ได้

"ความปรารถนาพุทธภูมินี้มิได้เป็นคติความเชื่อของพระมหากษัตริย์เท่านั้น ชาวบ้านทั่วไปก็มีความเชื่อดังกล่าวเช่นกัน ซึ่งสามารถสืบสาวย้อนหลังไปได้นับพันปี ในศิลาจารึกสมัยพุทธศตวรรษที่๑๓-๑๔ ที่จังหวัดนครราชสีมามีข้อความตอนหนึ่งว่า ขอให้สิ่งมีชีวิตทั้งหลาย จงเป็นพุทธองค์ และลุถึงพุทธภูมิ มาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ความเชื่อดังกล่าวก็ยังแพร่หลายในหมู่ประชาชน ถึงขั้นที่ยอมสละชีวิตเผาตัวตายที่วัดอรุณ” จวบจนสมัยรัชกาลที่ ๔ ความเชื่อดังกล่าวก็ยังอิทธิพลอยู่มาก จนระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงออกประกาศสั่งห้ามกระทำการดังกล่าว.."

 

นักรบผู้ทรงพุทธภูมิ!! เผยนิสัยทางธรรม น้ำพระทัย "พระเจ้าตากสินฯ" ทรงแจกข้าวไพร่ฟ้า หลังกรุงฯแตก.. บำรุงชาติศาสนา เพื่อเส้นทางสู่พระโพธิญาณ!!

 

 

            ภิกษุณีธัมนันทา(ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์) ได้ตั้งข้อสังเกตไว้อีกมุมมองว่า ความปรารถนาในพุทธภูมิของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีนี้ดูจะ แปลก ไปจากคติของพุทธเถรวาทในปัจจุบัน ที่มุ่งปรารถนา “พระนิพพาน” หรือ อรหันต์ภูมิ (รัชกาลที่๑ และรัชกาลที่๒ ก็ทรงแสดงพระประสงค์เช่นนี้) มากกว่าที่จะมุ่งบำเพ็ญ ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าองค์ต่อไป แต่สำหรับคติพุทธเรื่องนี้เป็นเรื่องปกติสำหรับผู้ปฏิบัติธรรมทุกคนในฝ่ายมหายาน คือ “ปรารถนาในพุทธภูมิ” ด้วยกันทั้งสิ้น

            อันจะสอดคล้องกับข้อความในพระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ(เจิม) ที่ระบุว่าการตัดสินพระทัยเป็นพระมหากษัตริย์หลังทรงกู้แผ่นดินคืนมาได้จากพม่านั้น เป็นไปโดยมีเหตุผลทางธรรมเข้ามาเกี่ยวข้องมิใช่เหตุผลทางการเมืองล้วน ๆ คือ ทรงคิดว่าเป็นกษัตริย์ช่วยเหลือเหล่าอาณาประชาราษฎร์นั้นเป็นการบำเพ็ญบารมีตามวิถีแห่งพระโพธิสัตว์ โดยไม่ทรงเลือกเดินในวิถีแห่งพระอรหันต์ในตอนนั้น

 

 

นักรบผู้ทรงพุทธภูมิ!! เผยนิสัยทางธรรม น้ำพระทัย "พระเจ้าตากสินฯ" ทรงแจกข้าวไพร่ฟ้า หลังกรุงฯแตก.. บำรุงชาติศาสนา เพื่อเส้นทางสู่พระโพธิญาณ!!

 

 

           แต่ไม่ว่าคติ “บารมี๑๐ทัศ” ของฝ่ายเถรวาทก็ดี หรือ “ปารมิตา๖” ของฝ่ายมหายานก็ดี คติเหล่านี้สะท้อนว่า ผู้ปรารถนาพุทธภูมิต้อง ตั้งจิตมั่นในพุทธภูมิ
ในการตั้งจิตจะต้องมี ปณิธาน๔ คือ มุ่งมั่นเพื่อบรรลุการรู้แจ้ง มุ่งมั่นแสวงหาความรู้ทั่วไป มุ่งมั่นสอนเวไนยสัตว์ และช่วยสรรพสัตว์ให้ถึงซึ่งการรู้แจ้ง
มีศีลของพระโพธิสัตว์ ๕๘ ข้อ ต้องสร้างสมบารมี๖ (ทาน ศีล ขันติ วิริยะ ญาณ ปัญญา) หรือ “บารมี๑๐ (ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐาน เมตตา อุเบกขา) ซึ่งแน่นนอว่าพงศาวดารย่อมต้องมีบันทึกถึงการบำเพ็ญพระบารมีของพระเจ้าตากฯ ตั้งแต่ครั้งที่ยังทรงครองราชย์ใหม่ๆ

          "...ครั้งนั้นหมู่คนอาสัตย์ซึ่งคุมพรรคพวกตั้งอยู่กระทำโจรกรรม ณ.หัวเมืองเอก โท ตรี จัตวา มิได้เชื่อพระบรมธิคุณและตั้งตัวเป็นใหญ่นั้นก็บันดาลให้สยบสยองพองเศียรเกล้า ชวนกันนำเครื่องราชบรรณาการต่างๆเข้ามาถวายเป็นอันมาก ทรงพระกรุณา...พระราชทานโอวาทานุศาสตร์ สั่งสอนให้เสียพยศอันร้ายให้ตั้งอยู่ในยุติธรรม ขณะนั้นลูกค้าวาณิชได้ทำมาค้าขายเป็นสุขบริบูรณ์ด้วยอาหาร ได้บำเพ็ญทศบุญกิริยาวัตถุกุศลต่างๆฝ่ายสมณะก็รับจัตุปัจจัยทานเป็นสุขบริโภคให้บำเพ็ญสมณธรรมตามสมณกิจ

          "จำเดิมแต่นั้นมาพระพุทธศาสนาก็ค่อยๆวัฒนาการ รุ่งเรืองเฟื่องฟูขึ้นเหมือนแต่ก่อน และสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวก็เจริญพระราชกฤดาธิคุณไพบูลย์ภิยโยภาพยิ่งขึ้นไป ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินก็ค่อยมีความผาสุกสนุกสบายบริบูรณ์ คงคืนขึ้นเหมือนเมื่อครั้งแผ่นดินกรุงเก่ายังปกติดีอยู่นั้น..."

(พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับ พันจันทนุมาศ (เจิม))

 

 

 

            จากข้อความในพงศาวดารที่ยกมาข้างต้นก็พอสะท้อนเรื่องนี้ได้บ้างประมาณหนึ่ง เส้นทางโพธิญาณของสมเด็จพระเจ้าตากมหาราชนั้น และกิจการในพระศาสนาของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ไม่ว่าจะเป็นทรงให้รวบรวม จารคัมภีร์บาลี ทั้งพระไตรปิฎก อรรถกถา ฯลฯ หรือทรงโปรดให้สร้าง "สมุดภาพไตรภูมิ" สนับสนุนพระภิกษุสงฆ์ทั้งในด้านปริยัติและปฏิบัติ สร้างกุฏิ สร้างวัด หรือกระทั่งชำระภิกษุสงฆ์ที่ทำผิดพระธรรมวินัย ก็เหมือนมีบันทึกว่าดำเนินไปไม่ต่างจากที่พระมหากษัตริย์พระองค์อื่นๆได้ทรงกระทำ

 

          ในเรื่องนี้มองได้ว่าเป็นคติเทวราชาที่รับมาจากศาสนาพราหมณ์ (ที่กล่าวว่าพระมหากษัตริย์คือองค์อวตารที่ลงมาทำหน้าที่พิทักษ์ปกป้องราษฎร) กับคติที่มองว่าพระมหากษัตริย์เป็นพระโพธิสัตว์ (ที่ถือเอาการสร้างความผาสุกให้แก่อาณาประชาราษฎร์เป็นการบำเพ็ญเพียรสร้างสมบารมี) ได้ผสมผสานสืบเนื่องกันมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ดังจะเห็นได้จากการถวายพระนามของพระมหากษัตริย์ดุจเป็นพระพุทธเจ้า ซึ่งอนุมานว่าในด้านหนึ่งความปรารถนาในพระโพธิญาณของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีแม้จะมีมาก่อนที่จะทรงเป็นกษัตริย์ แต่เมื่อได้ปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์แล้วความปรารถนาดังกล่าวก็แยกไม่ออกจากคติ "พระพุทธเจ้าอวตาร" ที่มีมาแต่ก่อนเก่า

 

 

นักรบผู้ทรงพุทธภูมิ!! เผยนิสัยทางธรรม น้ำพระทัย "พระเจ้าตากสินฯ" ทรงแจกข้าวไพร่ฟ้า หลังกรุงฯแตก.. บำรุงชาติศาสนา เพื่อเส้นทางสู่พระโพธิญาณ!!

 

 

          แต่สิ่งที่ควรตั้งข้อสังเกตไว้ด้วยก็คือพระเจ้าตากฯทรง "บำเพ็ญ" บารมี ในขณะเดียวกันนั้นแผ่นดินกรุงธนบุรีก็ไม่อยู่ในภาวะสงบสุขอย่างสมบูรณ์เพราะต้องติดพันการศึกน้อย-ใหญ่เกือบตลอดรัชกาล รวมแล้วเป็นมีสงครามเกิดขึ้น ๑๕ ครั้ง กล่าวโดยเฉลี่ยคือประมาณปีละครั้ง และพระองค์ก็เห็นเรื่องศึกสงครามเป็นเรื่องจริงจัง  ถึงกับมีบันทึกเอาไว้ว่าเมื่อคราวศึกบางแก้ว ที่ราชบุรีในปี ๒๓๑๗ พระองค์ทรงทราบข่าวพระอาการประชวรหนักของสมเด็จพระราชมารดาถึงกับตรัสว่า "พระโรคเห็นหนักจะมิได้ไปทันเห็นพระองค์ ด้วยการแผ่นดินครั้งนี้ใหญ่หลวงนัก ครั้นจะไปบัดนี้ ไม่เห็นผู้ใดที่ไว้ใจให้อยู่ต้านต่อข้าศึกได้" สุดท้ายก็หักพระทัยไม่เสด็จกลับ สมเด็จพระมารดาของพระองค์ก็สวรรคตในคราวที่พระองค์ติดศึกอยู่นั่นเอง

 

          ในคราวนั้นเมื่อทัพกรุงธนบุรีล้อมพม่าไว้หมด ไม่มีทางที่พม่าจะตีหักหนีออกมาได้ ถ้าจะระดมยิงเข้าไปในค่ายพม่าหมายสังหารพม่าให้ตายให้หมดก็สามารถทำได้แต่ก็ไม่ทรงโปรดให้ทำ จนสุดท้ายพม่าก็ยอมแพ้มาสวามิภักดิ์เอง กรณีนี้คือตัวอย่างที่มักถูกยกมากล่าวถึงความเป็นนักรบที่ "ทรงภูมิธรรมชั้นสูง" ของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี แต่จริงๆแล้วก็ไม่มีกรณีใดที่จะพอจะมิให้ตั้งข้อสงสัยว่า "ใช่หรือไม่ใช่การยอพระเกียรติ?" หรือในทางกลับกันคือทรงมุ่งหมายในพุทธภูมิจริงๆ

 

          เว้นไปจากการทรงพระกรรมฐานอย่างจริงจัง ซึ่งจริงๆเรื่องนี้ก็สอดคล้องกับเหตุการณ์เมื่อคราวติดศึกที่บางแก้วจนมิได้กลับมาเฝ้าพระพันปีหลวงตอนสวรรคต เพราะหลักฐานว่าพระเจ้าตากฯทรงพระกรรมฐานปรากฏขึ้นครั้งแรกเมื่อคราวที่จัดงานพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลพระอัฐิสมเด็จพระพันปีหลวง ทรง "บำเพ็ญ "ญาณ" บารมี" ถวายเป็นพระราชกุศลให้กับพระมารดา และหลักจากนั้นก็ทรงปฏิบัติเรื่อยมา อย่างจริงจัง

          การบำเพ็ญ "ฌาน" บารมี หรือ ทรงพระกรรมฐานของพระเจ้าตากฯจึงเป็นประจักษ์พยานอันสำคัญยิ่ง ประจักษ์พยานที่ชัดเจนถึงความมุ่งมั่นในพระโพธิญาณ และประจักษ์พยานแห่งความแปลกแยกอันสั่นคลอนพระราชอำนาจไปด้วยพร้อมๆกัน

 

 

 

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : ผศ.ดร. ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต